งานเสื้อยืดถึงแม้ตลาดจะมีการแข่งขันกันสูง มีคู่แข่งอยู่ในตลาดรวม ๆ
กันก็ไม่น้อย ทว่าด้วยความที่กระแสความนิยมมีความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
และตลาดกว้างมาก เพราะสามารถใส่ได้ใช้งานได้ทุกเพศทุกวัย
งานเสื้อยืดจึงมีคนช่างคิดช่างทำประดิษฐ์ชิ้นงานแนวนี้ออกมาเพิ่มได้เรื่อย ๆ
ตลาดจึงไม่ตัน แต่จุดสำคัญคือสินค้าต้องมีจุดเด่น-จุดขาย
หรือเอกลักษณ์มากพอที่จะทำให้ลูกค้าสนใจ อย่างเช่น ’เสื้อยืดทำมือ“ ที่ทีม
’ช่องทางทำกิน“ มีข้อมูลมานำเสนอ...
“รันชยา วงศ์รัศมีธรรม” เจ้าของงาน “เสื้อยืดทำมือ” เล่าว่า เริ่มทำเสื้อยืดทำมือออกมาจำหน่ายได้ประมาณ 3 เดือน โดยอาศัยขายสินค้าผ่านร้านค้าออนไลน์ และขายผ่านทางเฟซบุ๊กเป็นหลัก คือ http://sewcactus.lnwshop.com และ www.facebook.com/sewcactus สำหรับจุดเริ่มต้นนั้น เธอบอกว่า ด้วยความที่ตนเองเป็นคนชอบงานเสื้อยืดและชอบใส่เสื้อยืด อีกทั้งมีความรู้กับทักษะทางศิลปะ อาทิ การเพนท์, การปัก, การเย็บ จึงนำเทคนิคต่าง ๆ เหล่านี้มาประยุกต์ปรับใช้เข้ากับชิ้นงาน โดยเริ่มจากการทำเพื่อสวมใส่เองก่อน ต่อมามีคนรู้จักเพื่อนฝูงเห็นเสื้อยืดที่ทำขึ้นจึงสอบถามและแจ้งความต้องการ ว่าอยากได้เสื้อยืดแบบนี้บ้าง จึงเกิดความคิดว่าน่าจะพัฒนาต่อยอดจนเป็นธุรกิจเล็ก ๆ ของตนเองขึ้นมาได้ โดยเริ่มผลิตและนำออกจำหน่ายผ่านทางเว็บไซต์และเฟซบุ๊ก
เธอบอกอีกว่า นอกจากการขายผ่านทางร้านออนไลน์แล้ว หากมีเวลาก็มักจะนำสินค้าไปวางขายตามตลาดนัดงานฝีมือทั่วไป เพื่อเปิดตลาด และถือเป็นการแนะนำผลงาน รวมถึงเพื่อสอบถามความคิดเห็นจากลูกค้าเพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาลายและแบบเสื้อได้อีกด้วย โดยเสื้อยืดทำมือที่ทำขึ้น ใช้ชื่อตราสินค้าว่า Sewcactus
ในปัจจุบันสินค้าที่ทำขึ้นนั้นมีการผลิตลวดลายออกมาเพิ่มเติมอยู่ตลอด ขณะนี้มีอยู่ประมาณ 30 แบบ มีทั้งที่เป็นงานเพนท์มือ และมีทั้งที่เป็นงานปักงานเย็บ รวมถึงที่ใช้เทคนิคทั้งสองผสมเข้าไว้ด้วยกันอีกด้วย สำหรับกลุ่มลูกค้านั้น โดยหลัก ๆ จะเป็นวัยรุ่นกับวัยทำงาน ซึ่งจะชอบเสื้อยืดที่มีลูกเล่น มีลวดลายไม่ซ้ำใคร
’ต้องยอมรับว่าตอนนี้เรายังผลิตได้จำนวนไม่มากเหมือนเสื้อผ้าโหลที่เน้นขายส่ง โดยสินค้าเราจะเน้นการขายปลีกเป็นหลัก เนื่องจากว่าเป็นงานทำมือ ใช้คนทำหมด ซึ่งแต่ละตัว แต่ละแบบ จะใช้เวลาทำพอสมควร ยิ่งมีลูกเล่นมาก ยิ่งใช้เวลามาก“ เจ้าของงานเสื้อยืดทำมือรายนี้กล่าว
ทุนเบื้องต้น ประมาณ 10,000 บาท
ทุนวัสดุ ประมาณ 50% จากราคา
รายได้ ราคาตัวละ 300-450 บาท
แรงงาน 1 คนขึ้นไป
ตลาด กลุ่มวัยรุ่น และวัยทำงาน
จุดน่าสนใจ ต่อยอดได้ตลอด ตลาดไม่ตัน
credit by : http://www.dailynews.co.th/Content.do?contentId=190189
“รันชยา วงศ์รัศมีธรรม” เจ้าของงาน “เสื้อยืดทำมือ” เล่าว่า เริ่มทำเสื้อยืดทำมือออกมาจำหน่ายได้ประมาณ 3 เดือน โดยอาศัยขายสินค้าผ่านร้านค้าออนไลน์ และขายผ่านทางเฟซบุ๊กเป็นหลัก คือ http://sewcactus.lnwshop.com และ www.facebook.com/sewcactus สำหรับจุดเริ่มต้นนั้น เธอบอกว่า ด้วยความที่ตนเองเป็นคนชอบงานเสื้อยืดและชอบใส่เสื้อยืด อีกทั้งมีความรู้กับทักษะทางศิลปะ อาทิ การเพนท์, การปัก, การเย็บ จึงนำเทคนิคต่าง ๆ เหล่านี้มาประยุกต์ปรับใช้เข้ากับชิ้นงาน โดยเริ่มจากการทำเพื่อสวมใส่เองก่อน ต่อมามีคนรู้จักเพื่อนฝูงเห็นเสื้อยืดที่ทำขึ้นจึงสอบถามและแจ้งความต้องการ ว่าอยากได้เสื้อยืดแบบนี้บ้าง จึงเกิดความคิดว่าน่าจะพัฒนาต่อยอดจนเป็นธุรกิจเล็ก ๆ ของตนเองขึ้นมาได้ โดยเริ่มผลิตและนำออกจำหน่ายผ่านทางเว็บไซต์และเฟซบุ๊ก
ในปัจจุบันสินค้าที่ทำขึ้นนั้นมีการผลิตลวดลายออกมาเพิ่มเติมอยู่ตลอด ขณะนี้มีอยู่ประมาณ 30 แบบ มีทั้งที่เป็นงานเพนท์มือ และมีทั้งที่เป็นงานปักงานเย็บ รวมถึงที่ใช้เทคนิคทั้งสองผสมเข้าไว้ด้วยกันอีกด้วย สำหรับกลุ่มลูกค้านั้น โดยหลัก ๆ จะเป็นวัยรุ่นกับวัยทำงาน ซึ่งจะชอบเสื้อยืดที่มีลูกเล่น มีลวดลายไม่ซ้ำใคร
’ต้องยอมรับว่าตอนนี้เรายังผลิตได้จำนวนไม่มากเหมือนเสื้อผ้าโหลที่เน้นขายส่ง โดยสินค้าเราจะเน้นการขายปลีกเป็นหลัก เนื่องจากว่าเป็นงานทำมือ ใช้คนทำหมด ซึ่งแต่ละตัว แต่ละแบบ จะใช้เวลาทำพอสมควร ยิ่งมีลูกเล่นมาก ยิ่งใช้เวลามาก“ เจ้าของงานเสื้อยืดทำมือรายนี้กล่าว
สำหรับการจำหน่ายสินค้าผ่านทางช่องทางออนไลน์นี้ รันชยากล่าวว่า
ข้อดีคือประหยัดค่าใช้จ่ายลงไปได้มาก เพราะไม่ต้องเปิดร้านถาวร
ทำให้ตัดเงินลงทุนในส่วนนี้ออกไปได้
แต่ก็จำเป็นต้องมีการสต๊อกเสื้อยืดที่จะใช้ทำ
กับสต๊อกผ้าลายที่จะนำมาใช้ประกอบพอสมควร
แต่ก็ยังมีค่าใช้จ่ายที่น้อยกว่าการเปิดร้านมีหน้าร้าน
อีกทั้งข้อดีของการจำหน่ายสินค้าผ่านทางช่องทางนี้คือ
ผู้ผลิตสามารถทำการทดลองตลาด สำรวจตลาด
และสามารถสื่อสารกับลูกค้าได้โดยตรงตลอดเวลาอีกด้วย
เพราะปัจจุบันเทคโนโลยีด้านนี้พัฒนาไปมาก จุดสำคัญคือ
ต้องสร้างความน่าเชื่อถือ และต้องอัพเดทสินค้าใหม่ ๆ เพิ่มตลอด
เพื่อไม่ให้ดูนิ่ง...
นอกจากลูกเล่นของเสื้อยืดแต่ละแบบที่คิดขึ้นจะเป็นจุดขายจุดโดนใจกลุ่ม
เป้าหมายแล้ว ในเรื่องเนื้อผ้าเองก็เป็นเรื่องสำคัญที่มองข้ามไม่ได้
เธอบอกว่า ด้วยความที่เป็นคนสวมใส่เสื้อยืดเป็นประจำ
จึงทำให้พอจะมีความรู้ว่าควรเลือกเนื้อผ้าแบบใดที่จะนำมาใช้ทำสินค้า
แม้จะเป็นต้นทุนที่สูงขึ้น แต่หากมองในแง่ของการสร้างความประทับใจ
สร้างเครดิตให้ลูกค้าเชื่อถือมั่นใจในสินค้า ก็เป็นเรื่องที่จำเป็น
จึงเลือกเนื้อผ้าที่ค่อนข้างทนทาน ไม่เสียรูปและไม่เสียทรงง่าย
“เรายึดหลักการผลิตสินค้าแบบใจเขาใจเรา
เราใส่แบบไหนเราก็อยากให้ลูกค้าได้คุณภาพแบบนั้น แพงหน่อยก็ยอม
จุดนี้เป็นจุดที่ทำให้ลูกค้าจดจำสินค้าของเราได้
และกลับมาซื้อสินค้าเราอีก” รันชยากล่าว
ทุนเบื้องต้นอาชีพนี้ ใช้ประมาณ 10,000 บาท ส่วนทุนวัสดุอยู่ที่ประมาณ
50% จากราคาขาย ซึ่งราคาขายนั้นเริ่มต้นที่ 300 บาท จนถึง 450 บาท
ขึ้นอยู่กับแบบ สำหรับวัสดุอุปกรณ์ในการทำ ประกอบด้วย เสื้อยืด,
ผ้าลวดลายต่าง ๆ, สีอะคริลิกเพนท์ลาย, เข็มหมุด, สะดึง, เข็ม-ด้าย,
คัตเตอร์, กรรไกร และวัสดุใช้ตกแต่งเสื้อยืด
ซึ่งสามารถหาซื้อได้ตามย่านจำหน่ายงานผ้าทั่วไป เช่น สำเพ็ง หรือประตูน้ำ
ขั้นตอนการทำ หลัก ๆ มีขั้นตอนไม่มาก ทั้งแบบเพนท์ลาย
และแบบงานเย็บงานปัก
โดยเริ่มต้นจากการออกแบบลวดลายหรือลูกเล่นที่ต้องการทำลงบนเสื้อยืด
หากเป็นงานปักก็อาจใช้วิธีการกำหนดจุดที่จะเย็บด้วยการร่างเส้นระบุตำแหน่ง
ลงไปบนเสื้อ หรือใช้การสร้างแบบหรือแพตเทิร์นด้วยการลอกลายลงบนกระดาษ
จากนั้นก็ทำการตัดเป็นชิ้นส่วนประกอบเตรียมไว้หลาย ๆ ชิ้น
แล้วจึงนำมาประกอบเข้ากับตัวเสื้ออีกที สำหรับแบบเสื้อที่เน้นการ
เพนท์ลวดลายด้วยสีอะคริลิกนั้น
หากมีทักษะในการวาดภาพและการใช้สีอยู่แล้ว
ก็อาจเพนท์วาดลวดลายลงบนเสื้อยืดได้เลย
แต่ถ้าหากยังไม่ชำนาญก็อาจอาศัยการทำแบบวาดลงบนแผ่นพลาสติกใสไปก่อนก็ได้
เมื่อออกแบบได้ลวดลายที่ต้องการแล้ว
ก็ทำการวาดหรือเพนท์ลายลงบนเสื้อในตำแหน่งที่ต้องการ
โดยเริ่มจากการลงเส้นเพื่อขึ้นรูป จากนั้นทำการลงสี
หากเป็นเสื้อที่เน้นการปักการเย็บลาย
ก็ให้นำชิ้นผ้าที่ทำเป็นส่วนประกอบมาทำการปักหรือเย็บเข้ากับตัวเสื้อ
ตกแต่งด้วยวัสดุตกแต่งตามต้องการ เป็นอันเสร็จขั้นตอนการทำ
“สำหรับงานเสื้อยืดทำมือนี้ แม้จะมีคู่แข่งมากในตลาด
แต่ด้วยความที่เป็นสินค้าที่มีกลุ่มลูกค้ากว้างและหลากหลาย
หากจับจุดขายได้โดนใจหรือตรงใจกลุ่มเป้าหมาย มีการตั้งราคาขายที่เหมาะสม
มีแบบให้เลือกที่หลากหลาย มีการปรับปรุงพัฒนาสินค้าอยู่ตลอดเวลา
เชื่อว่าตลาดตรงนี้ยังน่าสนใจ และมีโอกาสให้เริ่มต้นได้เสมอ” รันชยากล่าว
สนใจ ’เสื้อยืดทำมือ“ ต้องการติดต่อรันชยา โทร. 09-0958-4648,
08-1824-8430 ซึ่งนี่ก็ถือเป็นอีกหนึ่ง ’ช่องทางทำกิน“
จากงานฝีมือเกี่ยวกับเสื้อผ้าที่น่าสนใจ
ที่ยังมีคนผลิตงานต่อยอดออกมาได้เรื่อย ๆ...
ศิริโรจน์ ศิริแพทย์ : เรื่อง / วรพรรณ เลอสิทธิศักดิ์ : ภาพ
คู่มือลงทุน...เสื้อยืดทำมือทุนเบื้องต้น ประมาณ 10,000 บาท
ทุนวัสดุ ประมาณ 50% จากราคา
รายได้ ราคาตัวละ 300-450 บาท
แรงงาน 1 คนขึ้นไป
ตลาด กลุ่มวัยรุ่น และวัยทำงาน
จุดน่าสนใจ ต่อยอดได้ตลอด ตลาดไม่ตัน
credit by : http://www.dailynews.co.th/Content.do?contentId=190189
Read More...