ช่อไม้ประดับ ที่ขายกันทั่วไปนั้น สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าได้อีก เพียงพลิกแพลงเพิ่มลูกเล่นเข้าไปก็ทำให้ช่อไม้ประดับนั้นกลายเป็นของที่มี ราคาเพิ่มขึ้นมาทันที ยกตัวอย่างเช่น “ช่อไม้ประดับมีไฟ” ที่ทีม “ช่องทางทำกิน” มีข้อมูลมานำเสนอให้พิจารณากันเป็นกรณีศึกษาการทำกินในวันนี้...
ดารณี แต้สุจิ หรือ คุณบู่ อดีตพนักงานบริษัท เจ้าของร้านช่อไม้ประดับ Natural Arts ในตลาดนัดสวนจตุจักร บอกเล่าถึง “ช่อไม้ประดับมีไฟ” นี้ว่า เป็นผลงานต่อยอด จากที่ทำอาชีพประดิษฐ์ดอกไม้ประดับมากว่า 10 ปี โดยก่อนหน้านั้นทำงานบริษัทอยู่ราว 20 ปี เมื่อเศรษฐกิจฟองสบู่แตกจึงเลือกที่จะออกมาทำงานส่วนตัว ไม่เป็นลูกจ้างอีกต่อไป
“ช่วงที่ทำงานก็ชอบจัดดอกไม้เป็นงานอดิเรกอยู่แล้ว ก็เลยไปหัดทำดอกไม้จากเกล็ดปลา ดอกไม้จากใบยางพารา จากสถาบันวิจัยยาง ในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ต่อมาเมื่อได้ที่ในสวนจตุจักรจึงคิดว่าจะประกอบอาชีพด้านนี้ เพราะตลาดนี้มีต่างชาติเดินชอปปิงมาก ต่างชาติชอบผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ คิดว่าเดินทางนี้คงไม่ผิด”
สำหรับช่อไม้ประดับมีไฟ ดารณีเล่าว่า เป็นพัฒนาการตกแต่งช่อไม้ประดับ ซึ่งความคิดริเริ่มนี้มาจากข้อเสนอแนะจากลูกค้าที่มาซื้อของที่ร้าน และตนเองก็พัฒนาขึ้นมาเรื่อย ๆ จนได้เป็นรูปเป็นร่างในปัจจุบัน ดารณีได้อธิบายวิธีการทำช่อไม้ประดับมีไฟ โดยยกตัวอย่าง “ช่อคาร่าลิลลี่” ซึ่งวัสดุที่ใช้ก็มี ชุดไฟ 20 จุด (เส้นละ 5 จุดต่อชุดไฟ 1 ชุด มี 4 เส้น) และสายปลั๊ก ราคา 35 บาทต่อชุด, ลวดขนาดต่าง ๆ (พันด้วยกระดาษพันก้าน), กลีบดอกโสน 20 ชิ้น (รูปแบบดอกคาร่า กว้าง 10 ซม. สูง 11 ซม.), กลีบดอกโสนรูประฆังคว่ำ (สำหรับทำเกสร กว้าง 7 ซม. สูง 7.5 ซม.), ใบไม้จากกระดาษสา 8 ใบ, ลวดขนาดต่าง ๆ, ท่อหด, สก๊อตเทป, ด้ายขาว, กาว และน้ำเปล่า
ส่วนอุปกรณ์ที่ใช้ หลัก ๆ ก็มี กรรไกร, คัตเตอร์, ไฟแช็ก, ไม้ไอศกรีม, ชุดทดลองไฟ ฯลฯ วิธีทำ เริ่มที่ทำเกสรดอกด้วยการใช้กลีบดอกโสนที่ตัดเป็นรูประฆังคว่ำ ม้วนเป็นวงกลมมัดติดกับก้านลวดเบอร์ 24 (ยาว 12 นิ้ว) ซึ่งพันกระดาษพันก้านสีเขียว จากนั้นพับกลีบดอกโสนให้เป็นรูปดอกไม้ ให้มีช่องว่างด้านล่างเพื่อสอดเกสรและดวงไฟเข้าไปในตัวดอกไม้ได้ มัดก้านดอกไม้ด้วยด้ายขาวให้แน่น และพันด้วยกระดาษพันก้านสีเขียวเข้มอีกครั้งหนึ่ง เท่ากับได้ดอกโสน 1 ดอก
เมื่อทำครบ 4 ดอก ในไฟสาย 1 เส้นแล้ว ให้ติดใบไม้ ซึ่งเป็นใบไม้จากกระดาษสา 1 ใบ ซึ่งจะต้องจัดเป็นช่อให้สวยงาม โดยเรียงดอกไม้ให้ลดระดับความสูง-ต่ำ ให้ดูมีมิติของช่อดอกไม้ โดยใช้ลวดเบอร์ 18 เป็นตัวคอยพยุงให้เป็นช่อ
ทำแบบนี้ไปเรื่อย ๆ จนครบไฟสาย 5 เส้น มัดเป็นช่อดอกไม้รวมกัน จากนั้นใช้ก้านลวดเบอร์ 12 (ยาว 22 นิ้ว) เป็นก้านหลัก เพื่อรวมช่อย่อยทั้ง 5 ช่อเข้าด้วยกัน ซึ่งจะได้ดอกไม้ 20 ดอก และติดใบไม้เพิ่มอีก 4 ใบ เท่านี้ก็จะได้ช่อดอกไม้ใหญ่ 1 ช่อ ขั้นตอนต่อมาคือ ต่อวงจรไฟฟ้าภายในช่อดอกไม้ โดยวิธีการต่อคุณบู่บอกว่า ในไฟสาย 1 เส้น จะมีสายไฟ 2 เส้น คือสายยาวและสายสั้น โดยการต่อสายไฟนั้นให้เริ่มที่เอาลวดสายสั้นของสายไฟเส้นที่หนึ่งต่อเข้ากับ ลวดสายยาวของสายไฟเส้นที่สอง, ลวดสายสั้นของสายไฟเส้นที่สองต่อกับลวดสายยาวของสายไฟเส้นที่สาม, ลวดสายสั้นของสายไฟเส้นที่สามต่อกับลวดสายยาวของสายไฟเส้นที่สี่, ลวดสายสั้นของสายไฟเส้นที่สี่ต่อกับลวดสายยาวของสายไฟเส้นที่ห้า และลวดสายสั้นของสายไฟเส้นที่ห้าต่อกับลวดสายยาวของสายไฟเส้นที่หนึ่ง ซึ่งสายสุดท้ายจะต่อกับสายปลั๊ก
ขั้นตอนสุดท้าย ใช้ท่อหดเล็กสวมตรงรอยต่อระหว่างลวดไฟทุกเส้น เพื่อปกปิดไม่ให้เห็นลวดที่เชื่อมต่อกัน เท่านี้ก็เป็นอันเสร็จ ซึ่งก่อนจะขายนั้น ต้องทดลองไฟก่อนว่าไฟติดหรือเปล่าด้วย
ราคาขาย “ช่อไม้ประดับมีไฟ” นี้ อยู่ที่ช่อละ 300-450 บาท โดยมีต้นทุนอยู่ที่ประมาณ 180 บาท
ใครสนใจ “ช่อไม้ประดับมีไฟ” ของ ดารณี แต้สุจิ หรือคุณบู่ สามารถติดต่อได้โดยตรงที่ร้านในตลาดนัดสวนจตุจักร อยู่โครงการ 9 ซอย 13 เปิดทุกวันศุกร์-เสาร์-อาทิตย์ หรือสอบถามที่หมายเลขโทรศัพท์ 08-1274-1823 หรืออีเมลไปคุยกับเธอได้ที่ daraneetay@hotmail.com ซึ่งก็เป็นอีกกรณีศึกษา “ช่องทางทำกิน” ที่ “ต่อยอดเพิ่มรายได้”.
ดารณี แต้สุจิ หรือ คุณบู่ อดีตพนักงานบริษัท เจ้าของร้านช่อไม้ประดับ Natural Arts ในตลาดนัดสวนจตุจักร บอกเล่าถึง “ช่อไม้ประดับมีไฟ” นี้ว่า เป็นผลงานต่อยอด จากที่ทำอาชีพประดิษฐ์ดอกไม้ประดับมากว่า 10 ปี โดยก่อนหน้านั้นทำงานบริษัทอยู่ราว 20 ปี เมื่อเศรษฐกิจฟองสบู่แตกจึงเลือกที่จะออกมาทำงานส่วนตัว ไม่เป็นลูกจ้างอีกต่อไป
“ช่วงที่ทำงานก็ชอบจัดดอกไม้เป็นงานอดิเรกอยู่แล้ว ก็เลยไปหัดทำดอกไม้จากเกล็ดปลา ดอกไม้จากใบยางพารา จากสถาบันวิจัยยาง ในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ต่อมาเมื่อได้ที่ในสวนจตุจักรจึงคิดว่าจะประกอบอาชีพด้านนี้ เพราะตลาดนี้มีต่างชาติเดินชอปปิงมาก ต่างชาติชอบผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ คิดว่าเดินทางนี้คงไม่ผิด”
สำหรับช่อไม้ประดับมีไฟ ดารณีเล่าว่า เป็นพัฒนาการตกแต่งช่อไม้ประดับ ซึ่งความคิดริเริ่มนี้มาจากข้อเสนอแนะจากลูกค้าที่มาซื้อของที่ร้าน และตนเองก็พัฒนาขึ้นมาเรื่อย ๆ จนได้เป็นรูปเป็นร่างในปัจจุบัน ดารณีได้อธิบายวิธีการทำช่อไม้ประดับมีไฟ โดยยกตัวอย่าง “ช่อคาร่าลิลลี่” ซึ่งวัสดุที่ใช้ก็มี ชุดไฟ 20 จุด (เส้นละ 5 จุดต่อชุดไฟ 1 ชุด มี 4 เส้น) และสายปลั๊ก ราคา 35 บาทต่อชุด, ลวดขนาดต่าง ๆ (พันด้วยกระดาษพันก้าน), กลีบดอกโสน 20 ชิ้น (รูปแบบดอกคาร่า กว้าง 10 ซม. สูง 11 ซม.), กลีบดอกโสนรูประฆังคว่ำ (สำหรับทำเกสร กว้าง 7 ซม. สูง 7.5 ซม.), ใบไม้จากกระดาษสา 8 ใบ, ลวดขนาดต่าง ๆ, ท่อหด, สก๊อตเทป, ด้ายขาว, กาว และน้ำเปล่า
ส่วนอุปกรณ์ที่ใช้ หลัก ๆ ก็มี กรรไกร, คัตเตอร์, ไฟแช็ก, ไม้ไอศกรีม, ชุดทดลองไฟ ฯลฯ วิธีทำ เริ่มที่ทำเกสรดอกด้วยการใช้กลีบดอกโสนที่ตัดเป็นรูประฆังคว่ำ ม้วนเป็นวงกลมมัดติดกับก้านลวดเบอร์ 24 (ยาว 12 นิ้ว) ซึ่งพันกระดาษพันก้านสีเขียว จากนั้นพับกลีบดอกโสนให้เป็นรูปดอกไม้ ให้มีช่องว่างด้านล่างเพื่อสอดเกสรและดวงไฟเข้าไปในตัวดอกไม้ได้ มัดก้านดอกไม้ด้วยด้ายขาวให้แน่น และพันด้วยกระดาษพันก้านสีเขียวเข้มอีกครั้งหนึ่ง เท่ากับได้ดอกโสน 1 ดอก
เมื่อทำครบ 4 ดอก ในไฟสาย 1 เส้นแล้ว ให้ติดใบไม้ ซึ่งเป็นใบไม้จากกระดาษสา 1 ใบ ซึ่งจะต้องจัดเป็นช่อให้สวยงาม โดยเรียงดอกไม้ให้ลดระดับความสูง-ต่ำ ให้ดูมีมิติของช่อดอกไม้ โดยใช้ลวดเบอร์ 18 เป็นตัวคอยพยุงให้เป็นช่อ
ทำแบบนี้ไปเรื่อย ๆ จนครบไฟสาย 5 เส้น มัดเป็นช่อดอกไม้รวมกัน จากนั้นใช้ก้านลวดเบอร์ 12 (ยาว 22 นิ้ว) เป็นก้านหลัก เพื่อรวมช่อย่อยทั้ง 5 ช่อเข้าด้วยกัน ซึ่งจะได้ดอกไม้ 20 ดอก และติดใบไม้เพิ่มอีก 4 ใบ เท่านี้ก็จะได้ช่อดอกไม้ใหญ่ 1 ช่อ ขั้นตอนต่อมาคือ ต่อวงจรไฟฟ้าภายในช่อดอกไม้ โดยวิธีการต่อคุณบู่บอกว่า ในไฟสาย 1 เส้น จะมีสายไฟ 2 เส้น คือสายยาวและสายสั้น โดยการต่อสายไฟนั้นให้เริ่มที่เอาลวดสายสั้นของสายไฟเส้นที่หนึ่งต่อเข้ากับ ลวดสายยาวของสายไฟเส้นที่สอง, ลวดสายสั้นของสายไฟเส้นที่สองต่อกับลวดสายยาวของสายไฟเส้นที่สาม, ลวดสายสั้นของสายไฟเส้นที่สามต่อกับลวดสายยาวของสายไฟเส้นที่สี่, ลวดสายสั้นของสายไฟเส้นที่สี่ต่อกับลวดสายยาวของสายไฟเส้นที่ห้า และลวดสายสั้นของสายไฟเส้นที่ห้าต่อกับลวดสายยาวของสายไฟเส้นที่หนึ่ง ซึ่งสายสุดท้ายจะต่อกับสายปลั๊ก
ขั้นตอนสุดท้าย ใช้ท่อหดเล็กสวมตรงรอยต่อระหว่างลวดไฟทุกเส้น เพื่อปกปิดไม่ให้เห็นลวดที่เชื่อมต่อกัน เท่านี้ก็เป็นอันเสร็จ ซึ่งก่อนจะขายนั้น ต้องทดลองไฟก่อนว่าไฟติดหรือเปล่าด้วย
ราคาขาย “ช่อไม้ประดับมีไฟ” นี้ อยู่ที่ช่อละ 300-450 บาท โดยมีต้นทุนอยู่ที่ประมาณ 180 บาท
ใครสนใจ “ช่อไม้ประดับมีไฟ” ของ ดารณี แต้สุจิ หรือคุณบู่ สามารถติดต่อได้โดยตรงที่ร้านในตลาดนัดสวนจตุจักร อยู่โครงการ 9 ซอย 13 เปิดทุกวันศุกร์-เสาร์-อาทิตย์ หรือสอบถามที่หมายเลขโทรศัพท์ 08-1274-1823 หรืออีเมลไปคุยกับเธอได้ที่ daraneetay@hotmail.com ซึ่งก็เป็นอีกกรณีศึกษา “ช่องทางทำกิน” ที่ “ต่อยอดเพิ่มรายได้”.
ขอขอบคุณเจ้าของบทความ : สุภารัตน์ ยอดศิริวิชัยกุล
ขายของได้ทุกที่ บนรถขายขายของเคลื่อนที่ ได้ทั้งของกินและเครื่องดื่ม
ตัวอย่างอาชีพค้าขายที่ไม่ง้อทำเล(รูป)ตอน 1-12
download ...http://bit.ly/2kYAKOt
ตัวอย่างอาชีพค้าขายที่ไม่ง้อทำเล(รูป)ตอน 1-12
download ...http://bit.ly/2kYAKOt
Adv