แม้ทีม “ช่องทางทำกิน”
เคยนำเสนองานฝีมืองานประดิษฐ์ด้าน “การทำเทียน” ไปแล้วหลายครั้ง
รวมถึงเสาร์ที่ผ่านมา
ทว่างานด้านนี้ก็ยังมีคนช่างคิดที่รู้จักประดิษฐ์ดัดแปลงทำออกมาขายอีกหลาก
หลายแบบอยู่เรื่อย ๆ ตอบโจทย์ตลาดสินค้านี้ว่ายังไม่ถึงทางตัน
ซึ่งหนึ่งในจุดสำคัญคือ การมองหาจุดขาย-สร้างรายละเอียด ยิ่งผสานการออกแบบ
และผลิตชิ้นงานด้วยความประณีต นอกจากจะขายได้ในตลาดของใช้แล้ว
ก็ยังสามารถทำเงินจากตลาดของตกแต่งได้ด้วย อย่างเช่นงานดีไซน์
“เทียนหอมดีไซน์” ของ “แตง-อังคณา นวรัตน์ ณ อยุธยา”
ที่จะนำเสนอในวันนี้...
แตง-อังคณา เล่าว่า ปัจจุบันทำงานเป็นเลขานุการในบริษัทจัดประชุมและสัมมนาแห่งหนึ่ง แต่ด้วยความที่ชอบงานฝีมือ โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับเทียน จึงสนใจหาความรู้ด้านนี้เพิ่มเติม ตอนหลังมีพี่ในที่ทำงานนำหนังสือเกี่ยวกับเทียนหอมมาให้ดู ด้วยความที่ชอบเป็นทุนเดิมจึงพยายามศึกษาและทดลองทำมาเรื่อย ๆ ข้อดีของงานเทียนคือ ถ้าทำผิดก็สามารถที่จะทำใหม่ได้ ต่อมาเมื่อเริ่มเก่งขึ้นจึงทดลองนำไปฝากคนรู้จัก โดยใส่ไอเดียและรูปแบบที่มาจากแรงบันดาลใจเกี่ยวกับดอกไม้ จนต่อมาก็พัฒนาจนกลายมาเป็นอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ในปัจจุบัน โดยใช้ชื่อเล่นเป็นชื่อสินค้า และแม้จะไม่มีหน้าร้าน แต่ก็ไม่มีปัญหา เพราะอาศัยช่องทางจำหน่ายผ่านเว็บไซต์ http://designbytang.lnwshop.com กับ www.facebook.com/desingbytang ซึ่งช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่ายภายในร้านลงได้มาก และดีกับผู้ที่เพิ่งเริ่มต้นทำธุรกิจ
แตง-อังคณา เล่าว่า ปัจจุบันทำงานเป็นเลขานุการในบริษัทจัดประชุมและสัมมนาแห่งหนึ่ง แต่ด้วยความที่ชอบงานฝีมือ โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับเทียน จึงสนใจหาความรู้ด้านนี้เพิ่มเติม ตอนหลังมีพี่ในที่ทำงานนำหนังสือเกี่ยวกับเทียนหอมมาให้ดู ด้วยความที่ชอบเป็นทุนเดิมจึงพยายามศึกษาและทดลองทำมาเรื่อย ๆ ข้อดีของงานเทียนคือ ถ้าทำผิดก็สามารถที่จะทำใหม่ได้ ต่อมาเมื่อเริ่มเก่งขึ้นจึงทดลองนำไปฝากคนรู้จัก โดยใส่ไอเดียและรูปแบบที่มาจากแรงบันดาลใจเกี่ยวกับดอกไม้ จนต่อมาก็พัฒนาจนกลายมาเป็นอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ในปัจจุบัน โดยใช้ชื่อเล่นเป็นชื่อสินค้า และแม้จะไม่มีหน้าร้าน แต่ก็ไม่มีปัญหา เพราะอาศัยช่องทางจำหน่ายผ่านเว็บไซต์ http://designbytang.lnwshop.com กับ www.facebook.com/desingbytang ซึ่งช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่ายภายในร้านลงได้มาก และดีกับผู้ที่เพิ่งเริ่มต้นทำธุรกิจ
“ด้วยความที่ชอบเทียนหอมเป็นการส่วนตัว และก็เป็นคนชอบดอกไม้ที่สุด เมื่อมาทำเทียนจึงมีความคิดที่จะทำให้เป็นเทียนหอมในรูปแบบเหมือนช่อดอกไม้ ซึ่งสามารถเก็บไว้ได้นาน และใช้เป็นของประดับตกแต่งได้อีกด้วย โดยมีการผสมกลิ่นน้ำมันหอมระเหยลงไปเพื่อความสดชื่น” แตง-อังคณา เล่าถึงที่มาของชิ้นงานที่ทำ
แม้ปัจจุบันตลาดเทียนหอมมีการแข่งขันสูง แต่ก็เป็นเรื่องปกติ อย่างไรก็ดี การจะผลิตสินค้าขึ้นมาต้องแน่ใจว่ารักที่จะทำในสิ่งนั้น ซึ่งหากทำจากความชอบและมีความชำนาญ โดยเสริมจินตนาการกับรูปแบบลงไป ก็น่าจะช่วยสร้างการยอมรับและสร้างข้อแตกต่างให้สินค้าของเราได้ ทั้งนี้ ปัจจุบันสินค้าที่แตงทำอยู่มีการผลิตแบบออกมาใหม่เรื่อย ๆ แต่จะ มีจุดเด่นอยู่ที่ “ความไม่เหมือนกัน” ของงานเทียนแต่ละชิ้น เนื่องจากงานที่ทำออกมาทั้งหมดเป็นการปั้นมือทุกขั้นตอนโดยไม่ได้ใช้แม่ พิมพ์ โดยจะมีการใส่รหัสสินค้าไว้ในแต่ละแบบ เพื่อให้ลูกค้าทราบถึงความแตกต่าง
ทุนเบื้องต้นอาชีพนี้ ถ้าเริ่มทำเล็ก ๆ ก็อยู่ที่ไม่เกิน 5,000 บาท ส่วนใหญ่เป็นค่าวัสดุที่ใช้ในการทำเทียน ส่วนทุนวัสดุในการทำชิ้นงานแต่ละชิ้น อยู่ที่ประมาณ60% จากราคาขาย ที่มีตั้งแต่ 20-380 บาท ขึ้นอยู่กับขนาดและรายละเอียด
วัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ ประกอบด้วย พาราฟินแวกซ์, โพลีเอทีลีนแวกซ์ หรือพีอีแวกซ์ (ทำให้เทียนแข็งและจุดติดได้นานขึ้น), สเตรียริคแอซิด (ช่วยทำให้ผิวเทียนมันลื่น), ไมโครแวกซ์ (ช่วยให้เนื้อเทียนเหนียวปั้นเป็นรูปร่างได้ง่าย), ขี้ผึ้งแท้, ไส้เทียน, น้ำมันหอมระเหย, สีผสมเทียน, หม้อหุงข้าวไฟฟ้า (สำหรับละลายเทียน), กะละมัง (หรือกระบอก/ถ้วยสเตนเลส ใช้แบ่งน้ำเทียนเพื่อผสมสี), ทัพพีกลม (สำหรับตักน้ำเทียน), ช้อน (สำหรับคนผสมสีลงในเทียน), กรรไกร และคีมปากแบน (ใช้บีบฐานเทียนให้ยึดติดกับไส้เทียน) โดยทั้งหมดหาซื้อได้ตามร้านงานฝีมือทั่วไป
ขั้นตอนการทำ เริ่มจากละลายส่วนผสมทั้งหมดลงไปในหม้อที่ใช้ต้มเทียนจนละลายเป็นน้ำเทียนสี ใส เมื่อน้ำเทียนเย็นตัวจะได้เนื้อเทียนเป็นสีขาว หากต้องการผสมสีอื่น ๆ ให้ตักแบ่งน้ำเทียนจากหม้อแล้วค่อยเติมสีที่ต้องการลงไป คนให้เข้ากันจนไม่เห็นเม็ดสี นำไส้เทียนที่เตรียมไว้จุ่มลงไปในน้ำเทียนให้ทั่ว ทิ้งไว้สักพักไส้เทียนจะแข็งตัว
จากนั้นร้อยไส้เทียนเข้าไปในฐานรองเทียน ดึงไส้เทียนขึ้นจนสุดปลายเทียน ใช้คีมปากแบนบีบปุ่มที่ตัวฐานรองไส้เทียนเพื่อยึดไส้เทียนให้แน่น แล้วนำไส้เทียนที่ยึดติดกับฐานรองเทียนเรียบร้อยแล้วไปติดไว้ตรงกลางของถ้วย โดยให้หยดน้ำเทียนลงไปก่อนเพื่อให้ฐานรองยึดติดกับถ้วย เมื่อเทียนแห้งและแข็งตัวเรียบร้อยแล้ว ก็เป็นอันเสร็จขั้นตอน
“น้ำเทียนที่หยอดลงไปในภาชนะไม่ควรเย็นเกินไป เพราะทำให้เกิดฟองอากาศ หากต้องการตกแต่งเพิ่มความสวยงามให้หาแผ่นกระจกมาวางแล้วเทน้ำเทียนสีที่ ต้องการลงไปบนแผ่นกระจก เมื่อเทียนเริ่มเย็นตัวให้หาแบบกดเทียน เช่น หัวใจ ดาว ดอกไม้ ฯลฯ มากด แล้วนำไปตกแต่งเทียนตามต้องการ” แตง-อังคณา แนะนำ
ใครสนใจจะติดต่อ แตง-อังคณา ติดต่อได้ที่ โทร.08-1868-4066 หรือตามเว็บไซต์และเฟซบุ๊กข้างต้น ซึ่งงานดีไซน์ “เทียนหอมดีไซน์” นี้ ก็เป็นอีกหนึ่ง “ช่องทางทำกิน” ที่เป็นบทพิสูจน์ว่างานเทียนนี้ยังไม่ตัน หากรู้จักสร้างจุดต่าง
นี่ก็เป็นอีกหนึ่งงานไอเดียส่งท้ายปีที่น่าสนใจ.
ศิริโรจน์ ศิริแพทย์ เรื่อง-ภาพ
Credit by..http://www.dailynews.co.th/article/384/173672
ขายของได้ทุกที่ บนรถขายขายของเคลื่อนที่ ได้ทั้งของกินและเครื่องดื่ม
ตัวอย่างอาชีพค้าขายที่ไม่ง้อทำเล(รูป)ตอน 1-12
download ...http://bit.ly/2kYAKOt
ตัวอย่างอาชีพค้าขายที่ไม่ง้อทำเล(รูป)ตอน 1-12
download ...http://bit.ly/2kYAKOt
Adv