หลายธุรกิจ-หลายผู้ประกอบการ เริ่มหันมาเลือกใช้ “อินเทอร์เน็ต”
เป็นช่องทางทำเงินกันเพิ่มขึ้น ส่วนหนึ่งเกิดจากเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้น
การใช้งานอินเทอร์เน็ตไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะกับโน้ตบุ๊ก
เท่านั้น
หากแต่ยุคนี้ผู้ใช้งานในกลุ่มสมาร์ทโฟนกับแท็บเล็ตก็มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อ
เนื่อง บรรดาผู้ประกอบการจึงสนใจช่องทางจำหน่ายสินค้าผ่านอินเทอร์เน็ต และ
“โซเชียลเน็ตเวิร์ก” เครือข่ายสังคมออนไลน์ กันมากขึ้นเรื่อย
ๆจนกล่าวได้ว่า “ร้านออนไลน์” ได้กลายเป็น
“เทรนด์ค้าขายสินค้า-เทรนด์การให้บริการ” สำหรับธุรกิจยุคใหม่
ที่คนทำอาชีพไม่ควรจะมองข้าม...
ในรอบปี 2555 ที่ผ่านมา ทีม “ช่องทางทำกิน” ก็นำเสนอกรณีศึกษาผู้ผลิตหลายรายที่หันมาสนใจและใส่ใจการขายผ่านช่องทางนี้ ทั้งแบบเปิดร้านออนไลน์บนเว็บไซต์ เปิดขายเฉพาะใน
เฟซบุ๊ก-โซเชียลเน็ตเวิร์ก หรือใช้ทั้ง 2 ช่องทางไปพร้อม ๆ กัน จนสร้างชื่อสินค้าให้เป็นที่รู้จักได้อย่างน่าสนใจ ดังเช่นที่จะนำมาประมวลเป็นตัวอย่างกันในวันนี้...
“ตัวหนีบไม้การ์ตูน” ของ พงศ์พิชา ชาตเสรีย์ รายนี้ใช้ทั้งเว็บไซต์กับเฟซบุ๊กเพื่อจำหน่ายสินค้า โชว์ผลงาน และติดต่อสื่อสารกับลูกค้า ในชื่อ www.coolclamp.ibuy.co.th และ www.facebook.com/Cool-Clamp, “งานผ้าสักหลาด” ของ อรทัย ดานาดแก้ว เด็กสาวที่ผลิตชิ้นงานกระจุกกระจิกขายได้ตั้งแต่ยังเรียนไม่จบ เธอมีเว็บไซต์ส่วนตัวชื่อ http://lovelybunny.welove shopping.com เป็นช่องทางขายเสริมเพิ่มจากการตระเวนขาย, “กระดุม-ต่างหูผ้าทำมือ” ของหนุ่มใหญ่ การัณยภาส ทวีสุข รายนี้หันมาทุ่มเทผลิตชิ้นงานจากผ้าลวดลายสดใส ขายผ่านร้านค้าออนไลน์เป็นหลัก คือที่ www.facebook.com/nokllamer และ www.yeshandmade.lnwshop.com ซึ่งช่วยลดค่าใช้จ่ายเรื่องร้านได้มาก
นอกจากจะใช้การจำหน่ายสินค้าผ่าน “ร้านออนไลน์เป็นหน้าร้าน” เป็นอาชีพหลักแล้ว กับรูปแบบร้านออนไลน์นี้ก็ยังมีผู้ผลิตหลายรายอาศัยเป็นช่องทางในการทำเป็น อาชีพเสริม-เพิ่มรายได้ ซึ่งก็ทำได้โดย “ไม่ต้องใช้ทุนสูง”
ยกตัวอย่าง “ที่คล้องประตู” ดีไซน์เก๋ ๆ ของ จารุวรรณ อินจันทร์-ศักดิ์นรินทร์ เรืองโรจน์วรไชย นักออกแบบกราฟิก รายนี้ใช้เวลาว่างจากงานประจำผลิตสินค้าขายผ่านเว็บไซต์ http://jikong.bigshopping.com, “ที่หุ้มแก้วน้ำ” ของ ภัทรพล เรืองศรี-รัชนก พุมมา สองหนุ่มสาวพนักงานออฟฟิศ ทำงานประจำทั้งคู่ แต่ก็ทำเงินเสริมได้อีกจากการเลือกใช้การจำหน่ายสินค้าผ่านเว็บไซต์ www.mindmoody.com, “ตุ๊กตาหมีอัดเสียง” ของ หทัยชนก สมมิตร กรณีศึกษารายนี้ก็ใช้เฟซบุ๊กชื่อ www.facebook.com/IamAbear2012 เป็นช่องทางในการติดต่อกับลูกค้า
สินค้าประเภทเสื้อผ้า ก็นับว่าถูกโฉลกกับ “ร้านออนไลน์” ไม่น้อยเลย อย่างธุรกิจจำหน่าย “เสื้อผ้าบิ๊กไซซ์” ของ เจมส์-อภิณุ วิริยกอบกุล ในรูปแบบร้านค้าออนไลน์ ในอินเทอร์เน็ต ทางเว็บไซต์ www.fattyshop.com นี่ก็เป็นอีกกรณีที่น่าสนใจมาก ซึ่งเจ้าของธุรกิจนี้มองได้ขาด สามารถตอบสนองความต้องการของคนที่มีไซซ์บิ๊ก ๆ ได้อย่างลงตัว
“รับจัดงานทำบุญ” บริการประเภทนี้ก็สามารถจะใช้โซเชียลเน็ตเวิร์กเป็นช่องทางหาลูกค้า-สื่อสาร กับลูกค้าได้ อย่าง ชลธิชา พร้อมพิพัฒนา ที่เผยแพร่งานบริการประเภทนี้ผ่าน www.facebook.com/pages/Thumboon เป็นต้น
แม้แต่การขาย “อาหาร-ขนม” ก็มีหลายรายที่เปิดร้านออนไลน์เพื่อเพิ่มช่องทางขาย อาทิ “ขนมอิตาเลี่ยนสไตล์ญี่ปุ่น” ของ กมลรัตน์ ภาสวร ที่ใช้เฟซบุ๊ก www.facebook.com/cuppujung เสริมการขาย, “ขนมจีบไทยรูปตัวนก” ของ เนาวรัตน์ เจาวัฒนา ใช้ทั้งเฟซบุ๊ก www.facebook.com/12SiS-Catering และเว็บไซต์ www.twelvesis.com เป็นต้น
ทั้งนี้ ปัจจัยที่ทำให้การจำหน่ายสินค้าผ่าน “ร้านออนไลน์” ทั้งการใช้เว็บไซต์ และเฟซบุ๊ก เป็นที่นิยม น่าจะเกิดจาก “ต้นทุนต่ำ-ลงทุนไม่มาก” อีกทั้งหลายรายยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นธุรกิจ หรือทำเพื่อเป็นอาชีพเสริม มีกำลังการผลิตไม่มาก จึงอาจไม่พร้อมที่จะต้องลงทุนมาก ๆ ในการเปิดร้านขายถาวร จึงเลือกช่องทางจำหน่ายรูปแบบนี้ อย่างไรก็ตาม ที่ทำเป็นธุรกิจจริงจังแล้วแต่ก็ยังใช้ช่องทางนี้ก็มีไม่น้อย ซึ่งช่องทางนี้มีหัวใจสำคัญคือ ต้อง “ซื่อสัตย์-ตรงต่อเวลา” กับลูกค้า
ร้านออนไลน์ ไม่ใช่ว่าจะขาย-ซื้อกันได้ในตลาดสินค้าในประเทศเท่านั้น แต่ยังรวมถึงต่างประเทศด้วย และในอนาคตอันใกล้ เมื่อ “ตลาดเออีซี (AEC)” หรือประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เปิดขึ้นในปี 2558 การค้าขายสินค้ากับต่างประเทศ กับประเทศเพื่อนบ้าน เทรนด์ค้าขายด้วย “ร้านออนไลน์” ก็น่าจะสำคัญมากขึ้น ซึ่งหากผู้ประกอบการปรับตัวปรับรูปแบบร้านออนไลน์ เช่น มีภาษาอังกฤษ หรือ จัดทำเป็น 2 ภาษา ก็จะยิ่งช่วยเพิ่มโอกาสการขายมากยิ่งขึ้น
“จะถูกขยายหรือสร้างมูลค่าได้แค่ไหน ขึ้นกับกระแส และการสร้างสรรค์ หมายความว่า ขึ้นอยู่กับว่าใครจะนำไปใช้งานได้ดี หรือส่งผลได้มากน้อยแค่ไหนต่อกิจกรรมหรือวัตถุประสงค์ที่ต้องการ” นี่เป็นการระบุของ ดร.พจน์ ใจชาญสุขกิจ เจ้าของเว็บไซต์ www.drphot.com นักสื่อสารเชิงกลยุทธ์ชื่อดัง ที่เคยสะท้อนผ่าน “เดลินิวส์” ไว้ กับเรื่องเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าและรวดเร็วขึ้น โซเชียลเน็ตเวิร์กมีอิทธิพลกับผู้คนมากขึ้น ซึ่งก็ทำให้ “ตลาดเติบโตมากขึ้น” ด้วย
....เหล่านี้ก็เป็นบางส่วน เป็นตัวอย่างของธุรกิจยุคใหม่ ที่ “อยู่ในกระแส-อยู่ในเทรนด์” การทำธุรกิจด้วยช่องทาง “ร้านออนไลน์” พร้อมด้วยมุมมองผู้สันทัดกรณีที่น่าคิด ที่ทีม “ช่องทางทำกิน” ประมวลมาให้ลองพิจารณากัน
ช่องทางแบบนี้...นับวันจะยิ่งน่าสนใจนะ!!!.
Credit by..http://www.dailynews.co.th/article/384/176378
ในรอบปี 2555 ที่ผ่านมา ทีม “ช่องทางทำกิน” ก็นำเสนอกรณีศึกษาผู้ผลิตหลายรายที่หันมาสนใจและใส่ใจการขายผ่านช่องทางนี้ ทั้งแบบเปิดร้านออนไลน์บนเว็บไซต์ เปิดขายเฉพาะใน
เฟซบุ๊ก-โซเชียลเน็ตเวิร์ก หรือใช้ทั้ง 2 ช่องทางไปพร้อม ๆ กัน จนสร้างชื่อสินค้าให้เป็นที่รู้จักได้อย่างน่าสนใจ ดังเช่นที่จะนำมาประมวลเป็นตัวอย่างกันในวันนี้...
“ตัวหนีบไม้การ์ตูน” ของ พงศ์พิชา ชาตเสรีย์ รายนี้ใช้ทั้งเว็บไซต์กับเฟซบุ๊กเพื่อจำหน่ายสินค้า โชว์ผลงาน และติดต่อสื่อสารกับลูกค้า ในชื่อ www.coolclamp.ibuy.co.th และ www.facebook.com/Cool-Clamp, “งานผ้าสักหลาด” ของ อรทัย ดานาดแก้ว เด็กสาวที่ผลิตชิ้นงานกระจุกกระจิกขายได้ตั้งแต่ยังเรียนไม่จบ เธอมีเว็บไซต์ส่วนตัวชื่อ http://lovelybunny.welove shopping.com เป็นช่องทางขายเสริมเพิ่มจากการตระเวนขาย, “กระดุม-ต่างหูผ้าทำมือ” ของหนุ่มใหญ่ การัณยภาส ทวีสุข รายนี้หันมาทุ่มเทผลิตชิ้นงานจากผ้าลวดลายสดใส ขายผ่านร้านค้าออนไลน์เป็นหลัก คือที่ www.facebook.com/nokllamer และ www.yeshandmade.lnwshop.com ซึ่งช่วยลดค่าใช้จ่ายเรื่องร้านได้มาก
นอกจากจะใช้การจำหน่ายสินค้าผ่าน “ร้านออนไลน์เป็นหน้าร้าน” เป็นอาชีพหลักแล้ว กับรูปแบบร้านออนไลน์นี้ก็ยังมีผู้ผลิตหลายรายอาศัยเป็นช่องทางในการทำเป็น อาชีพเสริม-เพิ่มรายได้ ซึ่งก็ทำได้โดย “ไม่ต้องใช้ทุนสูง”
ยกตัวอย่าง “ที่คล้องประตู” ดีไซน์เก๋ ๆ ของ จารุวรรณ อินจันทร์-ศักดิ์นรินทร์ เรืองโรจน์วรไชย นักออกแบบกราฟิก รายนี้ใช้เวลาว่างจากงานประจำผลิตสินค้าขายผ่านเว็บไซต์ http://jikong.bigshopping.com, “ที่หุ้มแก้วน้ำ” ของ ภัทรพล เรืองศรี-รัชนก พุมมา สองหนุ่มสาวพนักงานออฟฟิศ ทำงานประจำทั้งคู่ แต่ก็ทำเงินเสริมได้อีกจากการเลือกใช้การจำหน่ายสินค้าผ่านเว็บไซต์ www.mindmoody.com, “ตุ๊กตาหมีอัดเสียง” ของ หทัยชนก สมมิตร กรณีศึกษารายนี้ก็ใช้เฟซบุ๊กชื่อ www.facebook.com/IamAbear2012 เป็นช่องทางในการติดต่อกับลูกค้า
สินค้าประเภทเสื้อผ้า ก็นับว่าถูกโฉลกกับ “ร้านออนไลน์” ไม่น้อยเลย อย่างธุรกิจจำหน่าย “เสื้อผ้าบิ๊กไซซ์” ของ เจมส์-อภิณุ วิริยกอบกุล ในรูปแบบร้านค้าออนไลน์ ในอินเทอร์เน็ต ทางเว็บไซต์ www.fattyshop.com นี่ก็เป็นอีกกรณีที่น่าสนใจมาก ซึ่งเจ้าของธุรกิจนี้มองได้ขาด สามารถตอบสนองความต้องการของคนที่มีไซซ์บิ๊ก ๆ ได้อย่างลงตัว
“รับจัดงานทำบุญ” บริการประเภทนี้ก็สามารถจะใช้โซเชียลเน็ตเวิร์กเป็นช่องทางหาลูกค้า-สื่อสาร กับลูกค้าได้ อย่าง ชลธิชา พร้อมพิพัฒนา ที่เผยแพร่งานบริการประเภทนี้ผ่าน www.facebook.com/pages/Thumboon เป็นต้น
แม้แต่การขาย “อาหาร-ขนม” ก็มีหลายรายที่เปิดร้านออนไลน์เพื่อเพิ่มช่องทางขาย อาทิ “ขนมอิตาเลี่ยนสไตล์ญี่ปุ่น” ของ กมลรัตน์ ภาสวร ที่ใช้เฟซบุ๊ก www.facebook.com/cuppujung เสริมการขาย, “ขนมจีบไทยรูปตัวนก” ของ เนาวรัตน์ เจาวัฒนา ใช้ทั้งเฟซบุ๊ก www.facebook.com/12SiS-Catering และเว็บไซต์ www.twelvesis.com เป็นต้น
ทั้งนี้ ปัจจัยที่ทำให้การจำหน่ายสินค้าผ่าน “ร้านออนไลน์” ทั้งการใช้เว็บไซต์ และเฟซบุ๊ก เป็นที่นิยม น่าจะเกิดจาก “ต้นทุนต่ำ-ลงทุนไม่มาก” อีกทั้งหลายรายยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นธุรกิจ หรือทำเพื่อเป็นอาชีพเสริม มีกำลังการผลิตไม่มาก จึงอาจไม่พร้อมที่จะต้องลงทุนมาก ๆ ในการเปิดร้านขายถาวร จึงเลือกช่องทางจำหน่ายรูปแบบนี้ อย่างไรก็ตาม ที่ทำเป็นธุรกิจจริงจังแล้วแต่ก็ยังใช้ช่องทางนี้ก็มีไม่น้อย ซึ่งช่องทางนี้มีหัวใจสำคัญคือ ต้อง “ซื่อสัตย์-ตรงต่อเวลา” กับลูกค้า
ร้านออนไลน์ ไม่ใช่ว่าจะขาย-ซื้อกันได้ในตลาดสินค้าในประเทศเท่านั้น แต่ยังรวมถึงต่างประเทศด้วย และในอนาคตอันใกล้ เมื่อ “ตลาดเออีซี (AEC)” หรือประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เปิดขึ้นในปี 2558 การค้าขายสินค้ากับต่างประเทศ กับประเทศเพื่อนบ้าน เทรนด์ค้าขายด้วย “ร้านออนไลน์” ก็น่าจะสำคัญมากขึ้น ซึ่งหากผู้ประกอบการปรับตัวปรับรูปแบบร้านออนไลน์ เช่น มีภาษาอังกฤษ หรือ จัดทำเป็น 2 ภาษา ก็จะยิ่งช่วยเพิ่มโอกาสการขายมากยิ่งขึ้น
“จะถูกขยายหรือสร้างมูลค่าได้แค่ไหน ขึ้นกับกระแส และการสร้างสรรค์ หมายความว่า ขึ้นอยู่กับว่าใครจะนำไปใช้งานได้ดี หรือส่งผลได้มากน้อยแค่ไหนต่อกิจกรรมหรือวัตถุประสงค์ที่ต้องการ” นี่เป็นการระบุของ ดร.พจน์ ใจชาญสุขกิจ เจ้าของเว็บไซต์ www.drphot.com นักสื่อสารเชิงกลยุทธ์ชื่อดัง ที่เคยสะท้อนผ่าน “เดลินิวส์” ไว้ กับเรื่องเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าและรวดเร็วขึ้น โซเชียลเน็ตเวิร์กมีอิทธิพลกับผู้คนมากขึ้น ซึ่งก็ทำให้ “ตลาดเติบโตมากขึ้น” ด้วย
....เหล่านี้ก็เป็นบางส่วน เป็นตัวอย่างของธุรกิจยุคใหม่ ที่ “อยู่ในกระแส-อยู่ในเทรนด์” การทำธุรกิจด้วยช่องทาง “ร้านออนไลน์” พร้อมด้วยมุมมองผู้สันทัดกรณีที่น่าคิด ที่ทีม “ช่องทางทำกิน” ประมวลมาให้ลองพิจารณากัน
ช่องทางแบบนี้...นับวันจะยิ่งน่าสนใจนะ!!!.
Credit by..http://www.dailynews.co.th/article/384/176378
ขายของได้ทุกที่ บนรถขายขายของเคลื่อนที่ ได้ทั้งของกินและเครื่องดื่ม
ตัวอย่างอาชีพค้าขายที่ไม่ง้อทำเล(รูป)ตอน 1-12
download ...http://bit.ly/2kYAKOt
ตัวอย่างอาชีพค้าขายที่ไม่ง้อทำเล(รูป)ตอน 1-12
download ...http://bit.ly/2kYAKOt
Adv