เดิมทีมีอาชีพทำงานประจำ ต่อมาระหว่างกำลังจะเปลี่ยนงาน ทำให้มีเวลาเหลือ จึงคิดว่าน่าจะหางานอดิเรกทำในยามว่าง ด้วยความที่เป็นคนชอบงานผ้างานประดิษฐ์เป็นทุนเดิม
งานทำกระเป๋าด้วยวัสดุเช่นผ้านั้น ยังเป็นงานประดิษฐ์-งานฝีมือ ที่มีคนทำออกมาขายได้อยู่เรื่อย ๆ เหตุเพราะผ้าเป็นวัสดุที่หาได้ง่าย อีกทั้งสามารถพลิกแพลงดัดแปลงชิ้นงานออกมาได้หลากหลาย จึงไม่แปลกที่งานฝีมือประเภทนี้จะมีคนช่างคิดผลิตทำออกมาขายอยู่ตลอด อย่างเช่น ’กระเป๋าผ้าปากพับ“ ที่ทีม ’ช่องทางทำกิน“ จะนำเสนอในวันนี้…
“กาญจนา-อรรณพ ควรอนันต์” เป็นผู้ผลิตชิ้นงานกระเป๋าผ้า ที่ใช้ชื่อสินค้าว่า Pumpkin โดยกาญจนา เล่าว่า เดิมทีมีอาชีพทำงานประจำ ต่อมาระหว่างกำลังจะเปลี่ยนงาน ทำให้มีเวลาเหลือ จึงคิดว่าน่าจะหางานอดิเรกทำในยามว่าง ด้วยความที่เป็นคนชอบงานผ้างานประดิษฐ์เป็นทุนเดิม จึงลงทุนซื้อจักรเย็บผ้าไฟฟ้ามาหัดทำงานผ้า เริ่มจากงานเสื้อยืด ปลอกหมอน จนต่อมาพัฒนาออกมาเป็นรูปแบบของงาน “กระเป๋าผ้า” อย่างที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน โดยเริ่มจากชิ้นเล็ก ๆ
เธอเล่าอีกว่า แรก ๆ ทำกระเป๋าผ้าขึ้นมาเพื่อใช้เอง ต่อมาก็นำกระเป๋าผ้าที่ทำขึ้นไปมอบให้เพื่อนเป็นของฝาก ของขวัญ ของที่ระลึก ให้กับเพื่อนฝูงและคนรู้จักที่สนิท จนต่อมาเพื่อน ๆ และคนรู้จักมาขอให้ทำเพิ่ม เพื่อนำไปเป็นของขวัญของที่ระลึกให้คนรู้จักอื่น ๆ จึงเริ่มผลิตมากขึ้น ซึ่งเป็นจังหวะที่พี่ชาย (อรรณพ) เปิดแผงจำหน่ายเสื้อยืดทำมือ และปลอกหมอน อยู่ที่ตลาดมาร์เก็ตทูเดย์ ซอยวิภาวดี 64 ถนนวิภาวดีรังสิต ซึ่งเป็นแผงขายประจำทุกวันศุกร์อยู่แล้ว จึงทดลองนำสินค้าออกวางขาย ซึ่งได้รับการตอบรับดี จึงทำมาเรื่อยและพัฒนารูปแบบเพิ่มขึ้น จนปัจจุบันสินค้าที่ทำมีทั้งขนาดเล็ก และขนาดใหญ่ นอกจากนี้ก็มีร้านออนไลน์ผ่านเฟซบุ๊กชื่อ www.facebook.com/pages/A-little-pumpkin
สำหรับ “กระเป๋าปากพับ” จุดเด่นอยู่ที่ลูกเล่นของปากกระเป๋า ที่เมื่อพับปากลงมา จะทำให้ข้าวของที่ใส่อยู่ด้านในไม่หลุดร่วงออกมา และดูเป็นกระเป๋าถือหรือสะพายที่ไม่เป็นทางการนัก ออกแนวลำลองนิด ๆ โดยผ้าที่เน้นใช้ทำกระเป๋าก็คือ ผ้าแคนวาส เพราะมีสีให้เลือกหลากหลาย มีพื้นผิวน่าสนใจ รวมถึงมีความคงทนจากการใช้งานสูง
“ส่วนใหญ่ก่อนจะนำผ้ามาตัดเย็บเป็นกระเป๋า จะต้องนำชิ้นส่วนตัวอย่างผ้าไปทดลองซักเพื่อตรวจดูว่าผ้าชิ้นนั้นสีตกหรือ เปล่า เพราะหากสีตกจะสร้างความเสียหายให้กับเสื้อผ้าของลูกค้าได้ แม้จะต้องเพิ่มขั้นตอน แต่ต้องทำ เพื่อป้องกันความเสียหายให้กับลูกค้า” กาญจนาผู้ผลิตกระเป๋าผ้ากล่าว
ปัจจุบันกระเป๋าผ้าที่ผลิตขึ้นก็มีหลากหลาย เช่น กระเป๋าผ้าปากพับ, กระเป๋าใส่โทรศัพท์, กระเป๋าสำหรับใส่ของ, กระเป๋าถือ, กระเป๋าหิ้ว เป็นต้น โดยจะคิดแบบใหม่ออกมาเพิ่มเติมอยู่ตลอด แต่ละแบบก็จะผลิตจำนวนไม่มาก โดยนอกจากผ้าก็ยังมีวัสดุชนิดอื่น เช่น หนังเทียม เข้ามาประกอบบ้าง และเน้นที่แบบกระเป๋าเพื่อเสริมประโยชน์ใช้สอย ถือเป็นการเพิ่มเรื่องลูกเล่น โดยกลุ่มลูกค้าส่วนใหญ่เป็นวัยทำงานและแม่บ้าน เนื่องจากทำเลขายที่ตั้งเป็นตลาดนัดคือขายประจำทุกวันศุกร์ ซึ่งลูกค้าส่วนใหญ่จึงเป็นกลุ่มนี้ ทำให้ตั้งราคาขายไว้ไม่แพงมาก...
“กระเป๋าผ้ายังเป็นสินค้าที่ขายได้ เนื่องจากต้นทุนไม่สูงนัก กระเป๋าของที่ร้านที่ทำอยู่จะเน้นผ้าแคนวาสเป็นวัสดุหลัก เพราะแข็งแรง ทนทาน ส่วนรูปแบบกระเป๋าก็ผลิตแบบใหม่ ๆ ออกมาเรื่อย ๆ ซึ่งทำมือทุกชิ้น” กาญจนา กล่าว
ทุนเบื้องต้น ลงทุนประมาณ 30,000 บาท ส่วนใหญ่เป็นค่าอุปกรณ์สำคัญที่ต้องใช้ คือจักรเย็บผ้า และผ้าที่ต้องสต๊อกไว้ ทุนวัสดุ ประมาณ 40% จากราคา ซึ่งสินค้าจะขายที่ราคา 35-1,000 บาท ขึ้นกับขนาดและแบบกระเป๋า
วัสดุ-อุปกรณ์ หลัก ๆ มีอาทิ จักรเย็บผ้า, เข็มกับด้าย, กรรไกร, เข็มหมุด, กระดาษแข็ง (ใช้ทำแพตเทิร์น), ผ้าคอตตอน, ผ้าแคนวาส, หนังพียูหรือหนังเทียม, หนังแท้, สายหิ้ว (หูกระเป๋า) และวัสดุตกแต่งอื่น ๆ เช่น ซิป, กระดุม, ริบบิ้น, แม่เหล็กติดกระเป๋า เป็นต้น ซึ่งวัสดุเหล่านี้ซื้อได้ตามแหล่งงานผ้าทั่วไป เช่น สำเพ็ง, พาหุรัด, วงเวียนใหญ่
ขั้นตอนการทำ เริ่มจากการออกแบบกระเป๋า และเลือกวัสดุ เช่น เนื้อผ้า ลวดลาย สีสันก่อน จากนั้นเมื่อได้แบบที่ต้องการก็ให้ทำการลอกลายหรือทำแพตเทิร์นโดยวาดลงบน กระดาษแข็ง โดยแบบกระเป๋านั้นสามารถหาข้อมูลได้ในอินเทอร์เน็ต ซึ่งมีให้เลือกมากมาย
เมื่อลอกลายลงกระดาษแข็งแล้ว ก็ทำการพับผ้าสองชิ้น นำแบบกระเป๋าที่วาดไว้มาทาบ ใช้กรรไกรตัดตามแบบ จากนั้นทำการเย็บขึ้นทรงกระเป๋า โดยเย็บจากด้านใน และเหลือช่องไว้ประมาณ 1 นิ้ว สำหรับกลับด้านกระเป๋า ทำการตกแต่งด้วยวัสดุตกแต่ง เย็บประกอบสายกระเป๋าหรือหูหิ้วก็เป็นอันเสร็จขั้นตอนหลัก ๆ ในการทำกระเป๋าผ้า
“ขั้นตอนหลักเหมือนกับงานผ้าทั่วไป ที่แตกต่างคงเป็นแบบของกระเป๋ามากกว่า ตลาดตรงนี้ยังไม่ตัน เพราะต่อยอดแตกแขนงออกไปได้เรื่อย ๆ” กาญจนา กล่าว
สนใจงาน ’กระเป๋าผ้าปากพับ“ ของ กาญจนา-อรรณพ ควรอนันต์ ติดต่อได้ที่ โทร. 08-7088-1674 และ 08-1809-4588 ซึ่งนี่ก็ถือว่าเป็นอีกธุรกิจเล็ก ๆ อีกรูปแบบ ’ช่องทางทำกิน“ ที่น่าสนใจ โดยสำหรับคนที่คิดมองหาทางเลือกในการทำเป็นงานเสริมเพิ่มรายได้ ก็น่าพิจารณาไม่น้อยเลย.
ศิริโรจน์ ศิริแพทย์ : เรื่อง-ภาพ
........................................................
คู่มือลงทุน...กระเป๋าปากพับ
ทุนเบื้องต้น ประมาณ 30,000 บาท
ทุนวัสดุ ประมาณ 40% จากราคา
รายได้ ราคา 35-1,000 บาท
แรงงาน 1 คนขึ้นไป
ตลาด ตลาดนัด, ย่านชอปปิง
จุดน่าสนใจ ทำเป็นอาชีพเสริมก็ได้
credit by : http://www.dailynews.co.th/Content/Article/203165/‘กระเป๋าปากพับ’รับทรัพย์จาก+‘งานผ้า’
งานทำกระเป๋าด้วยวัสดุเช่นผ้านั้น ยังเป็นงานประดิษฐ์-งานฝีมือ ที่มีคนทำออกมาขายได้อยู่เรื่อย ๆ เหตุเพราะผ้าเป็นวัสดุที่หาได้ง่าย อีกทั้งสามารถพลิกแพลงดัดแปลงชิ้นงานออกมาได้หลากหลาย จึงไม่แปลกที่งานฝีมือประเภทนี้จะมีคนช่างคิดผลิตทำออกมาขายอยู่ตลอด อย่างเช่น ’กระเป๋าผ้าปากพับ“ ที่ทีม ’ช่องทางทำกิน“ จะนำเสนอในวันนี้…
“กาญจนา-อรรณพ ควรอนันต์” เป็นผู้ผลิตชิ้นงานกระเป๋าผ้า ที่ใช้ชื่อสินค้าว่า Pumpkin โดยกาญจนา เล่าว่า เดิมทีมีอาชีพทำงานประจำ ต่อมาระหว่างกำลังจะเปลี่ยนงาน ทำให้มีเวลาเหลือ จึงคิดว่าน่าจะหางานอดิเรกทำในยามว่าง ด้วยความที่เป็นคนชอบงานผ้างานประดิษฐ์เป็นทุนเดิม จึงลงทุนซื้อจักรเย็บผ้าไฟฟ้ามาหัดทำงานผ้า เริ่มจากงานเสื้อยืด ปลอกหมอน จนต่อมาพัฒนาออกมาเป็นรูปแบบของงาน “กระเป๋าผ้า” อย่างที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน โดยเริ่มจากชิ้นเล็ก ๆ
เธอเล่าอีกว่า แรก ๆ ทำกระเป๋าผ้าขึ้นมาเพื่อใช้เอง ต่อมาก็นำกระเป๋าผ้าที่ทำขึ้นไปมอบให้เพื่อนเป็นของฝาก ของขวัญ ของที่ระลึก ให้กับเพื่อนฝูงและคนรู้จักที่สนิท จนต่อมาเพื่อน ๆ และคนรู้จักมาขอให้ทำเพิ่ม เพื่อนำไปเป็นของขวัญของที่ระลึกให้คนรู้จักอื่น ๆ จึงเริ่มผลิตมากขึ้น ซึ่งเป็นจังหวะที่พี่ชาย (อรรณพ) เปิดแผงจำหน่ายเสื้อยืดทำมือ และปลอกหมอน อยู่ที่ตลาดมาร์เก็ตทูเดย์ ซอยวิภาวดี 64 ถนนวิภาวดีรังสิต ซึ่งเป็นแผงขายประจำทุกวันศุกร์อยู่แล้ว จึงทดลองนำสินค้าออกวางขาย ซึ่งได้รับการตอบรับดี จึงทำมาเรื่อยและพัฒนารูปแบบเพิ่มขึ้น จนปัจจุบันสินค้าที่ทำมีทั้งขนาดเล็ก และขนาดใหญ่ นอกจากนี้ก็มีร้านออนไลน์ผ่านเฟซบุ๊กชื่อ www.facebook.com/pages/A-little-pumpkin
สำหรับ “กระเป๋าปากพับ” จุดเด่นอยู่ที่ลูกเล่นของปากกระเป๋า ที่เมื่อพับปากลงมา จะทำให้ข้าวของที่ใส่อยู่ด้านในไม่หลุดร่วงออกมา และดูเป็นกระเป๋าถือหรือสะพายที่ไม่เป็นทางการนัก ออกแนวลำลองนิด ๆ โดยผ้าที่เน้นใช้ทำกระเป๋าก็คือ ผ้าแคนวาส เพราะมีสีให้เลือกหลากหลาย มีพื้นผิวน่าสนใจ รวมถึงมีความคงทนจากการใช้งานสูง
“ส่วนใหญ่ก่อนจะนำผ้ามาตัดเย็บเป็นกระเป๋า จะต้องนำชิ้นส่วนตัวอย่างผ้าไปทดลองซักเพื่อตรวจดูว่าผ้าชิ้นนั้นสีตกหรือ เปล่า เพราะหากสีตกจะสร้างความเสียหายให้กับเสื้อผ้าของลูกค้าได้ แม้จะต้องเพิ่มขั้นตอน แต่ต้องทำ เพื่อป้องกันความเสียหายให้กับลูกค้า” กาญจนาผู้ผลิตกระเป๋าผ้ากล่าว
ปัจจุบันกระเป๋าผ้าที่ผลิตขึ้นก็มีหลากหลาย เช่น กระเป๋าผ้าปากพับ, กระเป๋าใส่โทรศัพท์, กระเป๋าสำหรับใส่ของ, กระเป๋าถือ, กระเป๋าหิ้ว เป็นต้น โดยจะคิดแบบใหม่ออกมาเพิ่มเติมอยู่ตลอด แต่ละแบบก็จะผลิตจำนวนไม่มาก โดยนอกจากผ้าก็ยังมีวัสดุชนิดอื่น เช่น หนังเทียม เข้ามาประกอบบ้าง และเน้นที่แบบกระเป๋าเพื่อเสริมประโยชน์ใช้สอย ถือเป็นการเพิ่มเรื่องลูกเล่น โดยกลุ่มลูกค้าส่วนใหญ่เป็นวัยทำงานและแม่บ้าน เนื่องจากทำเลขายที่ตั้งเป็นตลาดนัดคือขายประจำทุกวันศุกร์ ซึ่งลูกค้าส่วนใหญ่จึงเป็นกลุ่มนี้ ทำให้ตั้งราคาขายไว้ไม่แพงมาก...
“กระเป๋าผ้ายังเป็นสินค้าที่ขายได้ เนื่องจากต้นทุนไม่สูงนัก กระเป๋าของที่ร้านที่ทำอยู่จะเน้นผ้าแคนวาสเป็นวัสดุหลัก เพราะแข็งแรง ทนทาน ส่วนรูปแบบกระเป๋าก็ผลิตแบบใหม่ ๆ ออกมาเรื่อย ๆ ซึ่งทำมือทุกชิ้น” กาญจนา กล่าว
ทุนเบื้องต้น ลงทุนประมาณ 30,000 บาท ส่วนใหญ่เป็นค่าอุปกรณ์สำคัญที่ต้องใช้ คือจักรเย็บผ้า และผ้าที่ต้องสต๊อกไว้ ทุนวัสดุ ประมาณ 40% จากราคา ซึ่งสินค้าจะขายที่ราคา 35-1,000 บาท ขึ้นกับขนาดและแบบกระเป๋า
วัสดุ-อุปกรณ์ หลัก ๆ มีอาทิ จักรเย็บผ้า, เข็มกับด้าย, กรรไกร, เข็มหมุด, กระดาษแข็ง (ใช้ทำแพตเทิร์น), ผ้าคอตตอน, ผ้าแคนวาส, หนังพียูหรือหนังเทียม, หนังแท้, สายหิ้ว (หูกระเป๋า) และวัสดุตกแต่งอื่น ๆ เช่น ซิป, กระดุม, ริบบิ้น, แม่เหล็กติดกระเป๋า เป็นต้น ซึ่งวัสดุเหล่านี้ซื้อได้ตามแหล่งงานผ้าทั่วไป เช่น สำเพ็ง, พาหุรัด, วงเวียนใหญ่
ขั้นตอนการทำ เริ่มจากการออกแบบกระเป๋า และเลือกวัสดุ เช่น เนื้อผ้า ลวดลาย สีสันก่อน จากนั้นเมื่อได้แบบที่ต้องการก็ให้ทำการลอกลายหรือทำแพตเทิร์นโดยวาดลงบน กระดาษแข็ง โดยแบบกระเป๋านั้นสามารถหาข้อมูลได้ในอินเทอร์เน็ต ซึ่งมีให้เลือกมากมาย
เมื่อลอกลายลงกระดาษแข็งแล้ว ก็ทำการพับผ้าสองชิ้น นำแบบกระเป๋าที่วาดไว้มาทาบ ใช้กรรไกรตัดตามแบบ จากนั้นทำการเย็บขึ้นทรงกระเป๋า โดยเย็บจากด้านใน และเหลือช่องไว้ประมาณ 1 นิ้ว สำหรับกลับด้านกระเป๋า ทำการตกแต่งด้วยวัสดุตกแต่ง เย็บประกอบสายกระเป๋าหรือหูหิ้วก็เป็นอันเสร็จขั้นตอนหลัก ๆ ในการทำกระเป๋าผ้า
“ขั้นตอนหลักเหมือนกับงานผ้าทั่วไป ที่แตกต่างคงเป็นแบบของกระเป๋ามากกว่า ตลาดตรงนี้ยังไม่ตัน เพราะต่อยอดแตกแขนงออกไปได้เรื่อย ๆ” กาญจนา กล่าว
สนใจงาน ’กระเป๋าผ้าปากพับ“ ของ กาญจนา-อรรณพ ควรอนันต์ ติดต่อได้ที่ โทร. 08-7088-1674 และ 08-1809-4588 ซึ่งนี่ก็ถือว่าเป็นอีกธุรกิจเล็ก ๆ อีกรูปแบบ ’ช่องทางทำกิน“ ที่น่าสนใจ โดยสำหรับคนที่คิดมองหาทางเลือกในการทำเป็นงานเสริมเพิ่มรายได้ ก็น่าพิจารณาไม่น้อยเลย.
ศิริโรจน์ ศิริแพทย์ : เรื่อง-ภาพ
........................................................
คู่มือลงทุน...กระเป๋าปากพับ
ทุนเบื้องต้น ประมาณ 30,000 บาท
ทุนวัสดุ ประมาณ 40% จากราคา
รายได้ ราคา 35-1,000 บาท
แรงงาน 1 คนขึ้นไป
ตลาด ตลาดนัด, ย่านชอปปิง
จุดน่าสนใจ ทำเป็นอาชีพเสริมก็ได้
credit by : http://www.dailynews.co.th/Content/Article/203165/‘กระเป๋าปากพับ’รับทรัพย์จาก+‘งานผ้า’
ขายของได้ทุกที่ บนรถขายขายของเคลื่อนที่ ได้ทั้งของกินและเครื่องดื่ม
ตัวอย่างอาชีพค้าขายที่ไม่ง้อทำเล(รูป)ตอน 1-12
download ...http://bit.ly/2kYAKOt
ตัวอย่างอาชีพค้าขายที่ไม่ง้อทำเล(รูป)ตอน 1-12
download ...http://bit.ly/2kYAKOt
Adv