ถ้าพูดถึงของขวัญที่ได้รับความนิยม หนึ่งในของที่คนส่วนใหญ่มักจะซื้อเพื่อเป็นของขวัญมอบให้กับคนที่รักในงานเทศกาลต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ปีใหม่ วาเลนไทน์ รับปริญญา วันเด็ก ฯลฯ ก็จะรวมถึง “ตุ๊กตา” ที่มิใช่แค่ของเล่น เด็กเท่านั้น ซึ่ง “ตุ๊กตาผ้า” ก็เป็นหนึ่งในตุ๊กตายอดฮิต และวันนี้ทีม “ช่องทางทำกิน” มีข้อมูลมานำเสนอ...
สุชญา สุขหงษ์ ประธานกลุ่มหัตถกรรมผลิตตุ๊กตาบ้านวังน้ำเขียว ต.วังน้ำเขียว อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม เป็นผู้ที่ผลิตและจำหน่ายตุ๊กตาทุกชนิด ภายใต้ชื่อ “PLOY TOYS” ซึ่งมีประสบการณ์ในการผลิตตุ๊กตามานานกว่า 10 ปี ปัจจุบันผลิตภัณฑ์ของกลุ่มมีจำหน่ายทั้งในและต่างประเทศ
ก่อนที่จะมายึดอาชีพทำตุ๊กตานั้น สุชญาเล่าว่า เคยทำงานบริษัทผลิตตุ๊กตาส่งออก อยู่ฝ่ายการตลาด แต่ในช่วงยุคเศรษฐกิจฟองสบู่แตก บริษัทที่ทำอยู่ก็เริ่มให้คนงานออก และตนก็เป็นหนึ่งในจำนวนนั้น หลังจากตกงานก็เริ่มหาช่องทางอาชีพทำ และก็ตกลงกับสามีว่าจะมาทำ “ตุ๊กตา” ขาย
“จากที่เคยอยู่ฝ่ายการตลาดของบริษัทเก่า ทำให้เห็นว่ายอดขายตุ๊กตามียอดจำหน่ายที่สูง บวกกับเป็นคนที่ชอบตุ๊กตาเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว จึงยิ่งทำให้เป็นเรื่องง่ายในการที่จะตัดสินใจทำตุ๊กตาผ้าขาย”
การทำตุ๊กตาอาจไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับคนที่ไม่มีความรู้ทางด้านนี้ แต่ก็ไม่ยากถ้ามีความพยายาม พอเริ่มที่จะทำจริงจังก็เริ่มศึกษาวิธีการทำด้วยตัวเอง โดยหาซื้อตุ๊กตาผ้ามาแกะแยกชิ้นส่วนออกจนหมดทุกชิ้น เพื่อที่จะนำมาเป็นตัวอย่างในการทำ แรก ๆ ตุ๊กตาที่ทำออกมาจะนำไปขายตามงานวัดและตลาดนัด
ตุ๊กตาที่ผลิตขึ้นก็พอขายได้ แต่ยังไม่ค่อยมีมาตรฐาน อีกทั้งการบริหารจัดการต่าง ๆ ก็ยังไม่ดี สุชญาจึงเข้าไปอบรมในโครงการพัฒนาผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม โดยมีเป้าหมายในการพัฒนาเพิ่มพูนความรู้ ความสามารถด้านบริหารจัดการธุรกิจในแต่ละด้าน ให้แก่ผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน
หลังจากที่ได้เข้าอบรมก็สามารถวางแผนในการจัดการธุรกิจได้ดีขึ้น รู้จักการจัดทำบัญชี ได้เรียนรู้เทคนิคด้านการตลาด เทคนิคการขาย จากนั้นก็เริ่มมาพัฒนากลุ่มผลิตตุ๊กตาให้มีมาตรฐานมากขึ้น จนปัจจุบันผลิตภัณฑ์เริ่มเป็นที่ยอมรับจากลูกค้า ผลิตส่งให้กับบริษัทลิขสิทธิ์ถึง 70% และทางกลุ่มผลิตจำหน่ายเอง 30%
“ธุรกิจผลิตตุ๊กตาผ้า สินค้าที่ผลิตออกมาจะต้องเป็นที่ถูกใจลูกค้าจึงจะขายได้ เพราะฉะนั้นรูปแบบของตุ๊กตาจะต้องมีความโดดเด่น ที่สำคัญจะทำให้ธุรกิจไปรอดก็จะต้องเน้นในเรื่องคุณภาพสินค้า ตรงต่อเวลา และความซื่อสัตย์” สุชญากล่าว
ในการผลิต “ตุ๊กตาผ้า” ขาย วัสดุอุปกรณ์ในการทำที่สำคัญ ๆ ก็มีจักรเย็บผ้า, ผ้าสำหรับทำตุ๊กตาโดยเฉพาะ, ใยสำหรับยัดในตัวตุ๊กตา...
แหล่งวัตถุดิบที่เป็นแหล่งใหญ่ที่สามารถไปหาซื้อได้อยู่ที่ย่านบางบอน...
ขั้นตอนการทำ เริ่มจากออกแบบตุ๊กตา หรือหาต้นแบบตุ๊กตาที่ต้องการจะทำ หลังจากที่ได้แบบที่ต้องการก็ทำแพตเทิร์น ซึ่งตุ๊กตา 1 ตัว อาจมีแพตเทิร์น 25-40 ชิ้น จากนั้นก็นำแพตเทิร์นไปวางทาบบนผ้า วาดตามรอยจากนั้นก็ตัดตามรอยเส้น ซึ่งวิธีนี้เป็น วิธีที่ง่าย แต่งานอาจจะช้าหน่อย
ในส่วนของสุชญาจะใช้วิธีการนำแพตเทิร์นที่ได้ไปวาดลงบนแผ่นกระเบื้องกันความร้อน จากนั้นก็จะตัดตามแบบ ใช้เส้นลวดกันความร้อนชนิดแบนติดตามขอบกระเบื้องกันความร้อนที่ตัดตามแพตเทิร์น ล็อกติดเข้าด้วยกันโดยใช้ลวดกันความร้อนเส้นเล็กเป็นตัวรัด เชื่อมต่อสายไฟที่จะต้องไปเสียบเข้ากับหม้อแปลงไฟฟ้าปรับแรงดัน สุดท้ายต่อด้ามจับด้วยไม้ วิธีการใช้ก็แค่เสียบปลั๊กไฟเข้ากับหม้อแปลงปรับแรงดันไฟฟ้า รอให้ลวดเกิดความร้อน จากนั้นก็ทำการปั๊มลงบนผ้า
วิธีนี้เป็นวิธีที่รวดเร็วในการตัดผ้า แต่ก็ต้องใช้ทุนสูงหน่อย โดยหม้อแปลงปรับแรงดันไฟฟ้ามีราคาอยู่ที่ประมาณ 12,000-13,000 บาท...
เมื่อได้ชิ้นส่วนตุ๊กตาทุกชิ้นครบ ก็ทำการเย็บแต่ละชิ้นให้เรียบร้อย ขั้นตอนต่อไปก็คือการยัดใย ก่อนยัดใยก็นำชิ้นส่วนที่แยกเย็บมาเย็บประกอบกันให้เรียบร้อย แล้วทำการยัดใย ยัดเสร็จก็ทำการตกแต่งภายนอกให้เรียบร้อย
การยัดใยใส่ในตัวตุ๊กตานั้นสามารถยัดด้วยมือได้สำหรับผู้ที่ยังไม่มีเงินทุนที่จะซื้อเครื่องฉีดใย ส่วนเครื่องฉีดใยนั้นมีราคาอยู่ที่ประมาณ 300,000 บาท ซึ่งคุณภาพตุ๊กตาที่ยัดใยด้วยเครื่องก็จะนิ่งกว่าการใช้มือ
จากนั้นก็ทำการเย็บปิดรูของตัวตุ๊กตาที่เป็นจุดยัดใย ก็เป็นอันเสร็จขั้นตอน พร้อมจำหน่าย
ตุ๊กตาของกลุ่มหัตถกรรมผลิตตุ๊กตาบ้านวังน้ำเขียว มีราคาขายตั้งแต่ 30-1,000 บาท โดยมีต้นทุนอยู่ที่ประมาณ 70% ของราคาจำหน่าย ใครสนใจสั่งซื้อก็สามารถติดต่อได้ที่ โทร. 08-1616-5967
จะสั่งไปจำหน่ายต่อเป็นอาชีพ หรือจะลองฝึกฝนทำขายเองก็สุดแท้แต่ !!.
บดินทร์ ศักดาเยี่ยงยงค์
สุชญา สุขหงษ์ ประธานกลุ่มหัตถกรรมผลิตตุ๊กตาบ้านวังน้ำเขียว ต.วังน้ำเขียว อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม เป็นผู้ที่ผลิตและจำหน่ายตุ๊กตาทุกชนิด ภายใต้ชื่อ “PLOY TOYS” ซึ่งมีประสบการณ์ในการผลิตตุ๊กตามานานกว่า 10 ปี ปัจจุบันผลิตภัณฑ์ของกลุ่มมีจำหน่ายทั้งในและต่างประเทศ
ก่อนที่จะมายึดอาชีพทำตุ๊กตานั้น สุชญาเล่าว่า เคยทำงานบริษัทผลิตตุ๊กตาส่งออก อยู่ฝ่ายการตลาด แต่ในช่วงยุคเศรษฐกิจฟองสบู่แตก บริษัทที่ทำอยู่ก็เริ่มให้คนงานออก และตนก็เป็นหนึ่งในจำนวนนั้น หลังจากตกงานก็เริ่มหาช่องทางอาชีพทำ และก็ตกลงกับสามีว่าจะมาทำ “ตุ๊กตา” ขาย
“จากที่เคยอยู่ฝ่ายการตลาดของบริษัทเก่า ทำให้เห็นว่ายอดขายตุ๊กตามียอดจำหน่ายที่สูง บวกกับเป็นคนที่ชอบตุ๊กตาเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว จึงยิ่งทำให้เป็นเรื่องง่ายในการที่จะตัดสินใจทำตุ๊กตาผ้าขาย”
การทำตุ๊กตาอาจไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับคนที่ไม่มีความรู้ทางด้านนี้ แต่ก็ไม่ยากถ้ามีความพยายาม พอเริ่มที่จะทำจริงจังก็เริ่มศึกษาวิธีการทำด้วยตัวเอง โดยหาซื้อตุ๊กตาผ้ามาแกะแยกชิ้นส่วนออกจนหมดทุกชิ้น เพื่อที่จะนำมาเป็นตัวอย่างในการทำ แรก ๆ ตุ๊กตาที่ทำออกมาจะนำไปขายตามงานวัดและตลาดนัด
ตุ๊กตาที่ผลิตขึ้นก็พอขายได้ แต่ยังไม่ค่อยมีมาตรฐาน อีกทั้งการบริหารจัดการต่าง ๆ ก็ยังไม่ดี สุชญาจึงเข้าไปอบรมในโครงการพัฒนาผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม โดยมีเป้าหมายในการพัฒนาเพิ่มพูนความรู้ ความสามารถด้านบริหารจัดการธุรกิจในแต่ละด้าน ให้แก่ผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน
หลังจากที่ได้เข้าอบรมก็สามารถวางแผนในการจัดการธุรกิจได้ดีขึ้น รู้จักการจัดทำบัญชี ได้เรียนรู้เทคนิคด้านการตลาด เทคนิคการขาย จากนั้นก็เริ่มมาพัฒนากลุ่มผลิตตุ๊กตาให้มีมาตรฐานมากขึ้น จนปัจจุบันผลิตภัณฑ์เริ่มเป็นที่ยอมรับจากลูกค้า ผลิตส่งให้กับบริษัทลิขสิทธิ์ถึง 70% และทางกลุ่มผลิตจำหน่ายเอง 30%
“ธุรกิจผลิตตุ๊กตาผ้า สินค้าที่ผลิตออกมาจะต้องเป็นที่ถูกใจลูกค้าจึงจะขายได้ เพราะฉะนั้นรูปแบบของตุ๊กตาจะต้องมีความโดดเด่น ที่สำคัญจะทำให้ธุรกิจไปรอดก็จะต้องเน้นในเรื่องคุณภาพสินค้า ตรงต่อเวลา และความซื่อสัตย์” สุชญากล่าว
ในการผลิต “ตุ๊กตาผ้า” ขาย วัสดุอุปกรณ์ในการทำที่สำคัญ ๆ ก็มีจักรเย็บผ้า, ผ้าสำหรับทำตุ๊กตาโดยเฉพาะ, ใยสำหรับยัดในตัวตุ๊กตา...
แหล่งวัตถุดิบที่เป็นแหล่งใหญ่ที่สามารถไปหาซื้อได้อยู่ที่ย่านบางบอน...
ขั้นตอนการทำ เริ่มจากออกแบบตุ๊กตา หรือหาต้นแบบตุ๊กตาที่ต้องการจะทำ หลังจากที่ได้แบบที่ต้องการก็ทำแพตเทิร์น ซึ่งตุ๊กตา 1 ตัว อาจมีแพตเทิร์น 25-40 ชิ้น จากนั้นก็นำแพตเทิร์นไปวางทาบบนผ้า วาดตามรอยจากนั้นก็ตัดตามรอยเส้น ซึ่งวิธีนี้เป็น วิธีที่ง่าย แต่งานอาจจะช้าหน่อย
ในส่วนของสุชญาจะใช้วิธีการนำแพตเทิร์นที่ได้ไปวาดลงบนแผ่นกระเบื้องกันความร้อน จากนั้นก็จะตัดตามแบบ ใช้เส้นลวดกันความร้อนชนิดแบนติดตามขอบกระเบื้องกันความร้อนที่ตัดตามแพตเทิร์น ล็อกติดเข้าด้วยกันโดยใช้ลวดกันความร้อนเส้นเล็กเป็นตัวรัด เชื่อมต่อสายไฟที่จะต้องไปเสียบเข้ากับหม้อแปลงไฟฟ้าปรับแรงดัน สุดท้ายต่อด้ามจับด้วยไม้ วิธีการใช้ก็แค่เสียบปลั๊กไฟเข้ากับหม้อแปลงปรับแรงดันไฟฟ้า รอให้ลวดเกิดความร้อน จากนั้นก็ทำการปั๊มลงบนผ้า
วิธีนี้เป็นวิธีที่รวดเร็วในการตัดผ้า แต่ก็ต้องใช้ทุนสูงหน่อย โดยหม้อแปลงปรับแรงดันไฟฟ้ามีราคาอยู่ที่ประมาณ 12,000-13,000 บาท...
เมื่อได้ชิ้นส่วนตุ๊กตาทุกชิ้นครบ ก็ทำการเย็บแต่ละชิ้นให้เรียบร้อย ขั้นตอนต่อไปก็คือการยัดใย ก่อนยัดใยก็นำชิ้นส่วนที่แยกเย็บมาเย็บประกอบกันให้เรียบร้อย แล้วทำการยัดใย ยัดเสร็จก็ทำการตกแต่งภายนอกให้เรียบร้อย
การยัดใยใส่ในตัวตุ๊กตานั้นสามารถยัดด้วยมือได้สำหรับผู้ที่ยังไม่มีเงินทุนที่จะซื้อเครื่องฉีดใย ส่วนเครื่องฉีดใยนั้นมีราคาอยู่ที่ประมาณ 300,000 บาท ซึ่งคุณภาพตุ๊กตาที่ยัดใยด้วยเครื่องก็จะนิ่งกว่าการใช้มือ
จากนั้นก็ทำการเย็บปิดรูของตัวตุ๊กตาที่เป็นจุดยัดใย ก็เป็นอันเสร็จขั้นตอน พร้อมจำหน่าย
ตุ๊กตาของกลุ่มหัตถกรรมผลิตตุ๊กตาบ้านวังน้ำเขียว มีราคาขายตั้งแต่ 30-1,000 บาท โดยมีต้นทุนอยู่ที่ประมาณ 70% ของราคาจำหน่าย ใครสนใจสั่งซื้อก็สามารถติดต่อได้ที่ โทร. 08-1616-5967
จะสั่งไปจำหน่ายต่อเป็นอาชีพ หรือจะลองฝึกฝนทำขายเองก็สุดแท้แต่ !!.
บดินทร์ ศักดาเยี่ยงยงค์
ขายของได้ทุกที่ บนรถขายขายของเคลื่อนที่ ได้ทั้งของกินและเครื่องดื่ม
ตัวอย่างอาชีพค้าขายที่ไม่ง้อทำเล(รูป)ตอน 1-12
download ...http://bit.ly/2kYAKOt
ตัวอย่างอาชีพค้าขายที่ไม่ง้อทำเล(รูป)ตอน 1-12
download ...http://bit.ly/2kYAKOt
Adv