อดีตนักข่าวนิตยสารรายหนึ่งหันเหชีวิตจากการขีด ๆ เขียน ๆ มาทำงานประดิษฐ์ที่สร้างรายได้โดยที่ไม่ต้องออกไปทำงานนอกบ้านให้ต้องเสีย เวลาในการเดินทาง งานถัก “ผ้ารองนั่งจากเศษผ้า” นี่ก็เป็น “ช่องทางทำกิน” ได้
ภัทรพร หงษ์ทอง หรือ ปุ๋ม อดีตคนทำงานนิตยสารเล่มหนึ่ง เล่าว่า หันเหเปลี่ยนแปลงชีวิตจากที่เคยทำงานเดิมมานานเป็น 10 ปี เปลี่ยนมาทำงานประดิษฐ์จากเศษผ้าได้ประมาณ 8 ปีแล้ว ซึ่งเพราะต้องการที่จะทำอะไรเป็นของตนเอง ไม่อยากตะลอน ๆ ออกไปทำงานแบบเดิม ๆ อีก จึงได้เปลี่ยนแปลงชีวิตมาทำงานเศษผ้าดังกล่าวนี้
“เหตุที่เลือกงานเศษผ้า เพราะว่าตอนเด็ก ๆ จำได้ว่าใส่เสื้อที่แม่ตัดมาจากเศษผ้า คือแม่จะเอาเศษผ้ามาปะเย็บต่อกันเป็นลวดลายต่าง ๆ พวกเราพี่น้อง 4 คนซึ่งเป็นลูกผู้หญิงหมดก็มีเสื้อจากเศษผ้าปะต่อใส่กันแบบสวย ๆ พอเริ่มโตก็เห็นแม่เย็บเสื้อผ้า ทำกับข้าว งานแม่บ้านแม่เรือน ก็ซึมซับมาเรื่อย ๆ”
ภัทรพรเล่าต่อไปว่า เมื่อ 5 ปีที่แล้วก็เริ่มกลับมาสนใจงานผ้าทำมือแบบจริงจัง ไปขายก็ขายได้ดี ทั้งที่สวนจตุจักร ตลาดนัดเปิดท้ายที่ต่าง ๆ ต่อมาเพิ่มงานถักโครเชท์ งานคัทเวิร์ก ลงไปด้วย รวมถึงงานดอกไม้จากเศษผ้าจับจีบที่เคยทำกับแม่ตอนเด็ก ๆ ก็เอามาผสมผสานกัน ได้เป็นกระเป๋าสะพายข้างที่ลูกค้าส่วนใหญ่ก็ชอบ บอกว่าสวย และใช้ประโยชน์ได้อย่างสะดวกสบาย แถมยังช่วยลดโลกร้อนได้อีกด้วย
หลังจากที่ทำกระเป๋าเศษผ้าแล้วก็ยังมีเศษผ้าเหลืออีก ก็คิดว่าน่าจะลองทำของใช้ตกแต่งบ้านที่ได้ประโยชน์อย่างอื่น ๆ ดูบ้าง และได้พบว่ามีหนังสือต่างประเทศที่สอนเทคนิควิธีต่าง ๆ ในการทำของใช้จากวัสดุหลายประเภทด้วยตัวเอง ไปสะดุดตาสะดุดใจกับเทคนิคการถักเศษผ้าเป็นเปียแล้วขึ้นรูปทรงเป็นอะไรก็ได้ ตามใจที่ต้องการ จึงคิดว่างานถักเศษผ้าที่นำมาใช้เป็นผ้ารองนั่งยังไม่ค่อยมีใครทำ และน่าจะหัดลองทำดู
สำหรับงานถักผ้ารองนั่งจากเศษผ้า ภัทรพรบอกว่า เพื่อป้องกันไม่ให้งานดูเหมือนเป็นผ้าเช็ดเท้า จะต้องเลือกเนื้อผ้า โทนสีผ้า ให้จับคู่สีเข้าด้วยกัน ให้ดูดีมีรสนิยม ทำให้ได้ชิ้นงานที่ดูสมัยใหม่ มีอารมณ์สนุกสนานอยู่ในลายผ้าที่เลือกใส่ลงไป บวกกับคู่สีที่เรากำหนดให้เป็นคู่สีสมัยใหม่ เช่น สีโทนฟ้า โทนแดงเข้ม หรือจะเป็นขาว-ดำ ซึ่งตรงนี้เป็นเสน่ห์ที่ลูกค้าชอบ เพราะสามารถบอกได้ว่าอยากให้ทำสีอะไรให้เพื่อให้เข้ากับโทนสีการแต่งบ้านของ ลูกค้า
อุปกรณ์ที่ใช้ทำ หลัก ๆ ก็มีสายวัด, ชอล์กเขียนผ้า, ด้ายเย็บผ้า, เข็มเย็บผ้า และกรรไกรตัดผ้า ส่วนวัสดุคือเศษผ้าโทนสีต่าง ๆ
วิธีทำ เริ่มจากตัดเศษผ้าสีต่าง ๆ ให้เป็นผ้าชิ้นยาว ขนาดกว้าง 3 นิ้ว ตัดปลายผ้าเป็นสามเหลี่ยมเพื่อเอาไว้ต่อปลายกับชิ้นต่อ ๆ ไป โดยความยาวผ้าเท่าไหร่ก็ได้ในแต่ละชิ้น
จากนั้นนำเศษผ้า 3 ชิ้นที่เป็นโทนสีเดียวกัน เข้าคู่กัน มาถักเปียจนสุดความยาวของผ้าแต่ละชิ้น หากชิ้นใดเริ่มจะสิ้นสุดปลายผ้าก็นำชิ้นผ้ามาต่อและถักเปียต่อกันไปเรื่อย ๆ โดยการต่อผ้าจะต่อด้วยการเย็บ
ข้อสำคัญในการถักผ้า ภัทรพรบอกว่า อย่าให้ผ้าแต่ละชิ้นหมดพร้อมกัน เพราะถ้าผ้าหมดปลายพร้อมกันจะทำให้การต่อผ้ายากขึ้น และเกิดเป็นปมผ้า ควรให้ผ้าถักแต่ละชิ้นหมดปลายไม่พร้อมกัน เพื่อที่จะทำให้การต่อปลายผ้าง่ายขึ้น และดูกลืนหายกันไปในการถัก ซึ่งการต่อปลายผ้าแต่ละชิ้น ในขณะที่ถักไปด้วยนั้นต้องตัดปลายผ้าให้เป็นปลายแหลมสามเหลี่ยมดังที่บอกแต่ ต้น เพื่อจะได้ง่ายต่อการสอดปลายผ้าไปด้วยกัน แต่ต้องสอดปลายผ้าให้เข้าลึก ๆ เพื่อป้องกันการหลุดออกจากกัน
ในการถักผ้า ก็จะเป็นการถักไปต่อผ้าไปจนได้เปียผ้าถักที่ยาวประมาณ 6 เมตร จากนั้นนำผ้าถักเปียมาวนเป็นวงกลม โดยสอยแต่ละชั้นเข้าด้วยกัน เริ่มจากชั้นใน สอยไปจนสุดชั้นสุดท้ายซึ่งเป็นด้านนอกของผ้ารองนั่ง เมื่อถึงปลายผ้าที่เป็นหางของเปียถักนี้ก็ให้สอยเก็บปลายผ้าให้กลืนหายไปใน ชิ้นงาน เสร็จแล้วก็จะได้ผ้ารองนั่งจากเศษผ้าที่สมบูรณ์ที่มีขนาดวงกลม 19 นิ้ว ซึ่งสามารถขายได้ราคาผืนละ 400-490 บาท โดยมีต้นทุนโดยเฉลี่ยผืนละ 150-200 บาท
ใครสนใจงานถัก “ผ้ารองนั่งจากเศษผ้า” หนึ่งในรูปแบบ “ช่องทางทำกิน” จากงานผ้า ของภัทรพร ติดต่อได้ที่ โทร. 08-1296-6411 ทั้งนี้ จากเศษผ้าทั่ว ๆ ไป หากทำให้ดูดีมีรสนิยม ทำให้เป็นชิ้นงานที่ดูสมัยใหม่ได้ ก็ทำเงินได้น่าสนใจ.
สุภารัตน์ ยอดศิริวิชัยกุล : เรื่อง/ภาพ
...................................................
คู่มือลงทุน...ผ้ารองนั่งจากเศษผ้า
ทุนอุปกรณ์ ประมาณ 100 กว่าบาทขึ้นไป
ทุนวัสดุ ประมาณ 150-200 บาท/ชิ้น
รายได้ ราคาขาย 400-499 บาท/ชิ้น
แรงงาน 1 คน
ตลาด ร้านสินค้าแต่งบ้าน, รับสั่งทำ
จุดน่าสนใจ ลงทุนต่ำ, งานขายฝีมือราคาดี
credit : http://www.dailynews.co.th/article/384/150153
ภัทรพร หงษ์ทอง หรือ ปุ๋ม อดีตคนทำงานนิตยสารเล่มหนึ่ง เล่าว่า หันเหเปลี่ยนแปลงชีวิตจากที่เคยทำงานเดิมมานานเป็น 10 ปี เปลี่ยนมาทำงานประดิษฐ์จากเศษผ้าได้ประมาณ 8 ปีแล้ว ซึ่งเพราะต้องการที่จะทำอะไรเป็นของตนเอง ไม่อยากตะลอน ๆ ออกไปทำงานแบบเดิม ๆ อีก จึงได้เปลี่ยนแปลงชีวิตมาทำงานเศษผ้าดังกล่าวนี้
“เหตุที่เลือกงานเศษผ้า เพราะว่าตอนเด็ก ๆ จำได้ว่าใส่เสื้อที่แม่ตัดมาจากเศษผ้า คือแม่จะเอาเศษผ้ามาปะเย็บต่อกันเป็นลวดลายต่าง ๆ พวกเราพี่น้อง 4 คนซึ่งเป็นลูกผู้หญิงหมดก็มีเสื้อจากเศษผ้าปะต่อใส่กันแบบสวย ๆ พอเริ่มโตก็เห็นแม่เย็บเสื้อผ้า ทำกับข้าว งานแม่บ้านแม่เรือน ก็ซึมซับมาเรื่อย ๆ”
ภัทรพรเล่าต่อไปว่า เมื่อ 5 ปีที่แล้วก็เริ่มกลับมาสนใจงานผ้าทำมือแบบจริงจัง ไปขายก็ขายได้ดี ทั้งที่สวนจตุจักร ตลาดนัดเปิดท้ายที่ต่าง ๆ ต่อมาเพิ่มงานถักโครเชท์ งานคัทเวิร์ก ลงไปด้วย รวมถึงงานดอกไม้จากเศษผ้าจับจีบที่เคยทำกับแม่ตอนเด็ก ๆ ก็เอามาผสมผสานกัน ได้เป็นกระเป๋าสะพายข้างที่ลูกค้าส่วนใหญ่ก็ชอบ บอกว่าสวย และใช้ประโยชน์ได้อย่างสะดวกสบาย แถมยังช่วยลดโลกร้อนได้อีกด้วย
หลังจากที่ทำกระเป๋าเศษผ้าแล้วก็ยังมีเศษผ้าเหลืออีก ก็คิดว่าน่าจะลองทำของใช้ตกแต่งบ้านที่ได้ประโยชน์อย่างอื่น ๆ ดูบ้าง และได้พบว่ามีหนังสือต่างประเทศที่สอนเทคนิควิธีต่าง ๆ ในการทำของใช้จากวัสดุหลายประเภทด้วยตัวเอง ไปสะดุดตาสะดุดใจกับเทคนิคการถักเศษผ้าเป็นเปียแล้วขึ้นรูปทรงเป็นอะไรก็ได้ ตามใจที่ต้องการ จึงคิดว่างานถักเศษผ้าที่นำมาใช้เป็นผ้ารองนั่งยังไม่ค่อยมีใครทำ และน่าจะหัดลองทำดู
สำหรับงานถักผ้ารองนั่งจากเศษผ้า ภัทรพรบอกว่า เพื่อป้องกันไม่ให้งานดูเหมือนเป็นผ้าเช็ดเท้า จะต้องเลือกเนื้อผ้า โทนสีผ้า ให้จับคู่สีเข้าด้วยกัน ให้ดูดีมีรสนิยม ทำให้ได้ชิ้นงานที่ดูสมัยใหม่ มีอารมณ์สนุกสนานอยู่ในลายผ้าที่เลือกใส่ลงไป บวกกับคู่สีที่เรากำหนดให้เป็นคู่สีสมัยใหม่ เช่น สีโทนฟ้า โทนแดงเข้ม หรือจะเป็นขาว-ดำ ซึ่งตรงนี้เป็นเสน่ห์ที่ลูกค้าชอบ เพราะสามารถบอกได้ว่าอยากให้ทำสีอะไรให้เพื่อให้เข้ากับโทนสีการแต่งบ้านของ ลูกค้า
อุปกรณ์ที่ใช้ทำ หลัก ๆ ก็มีสายวัด, ชอล์กเขียนผ้า, ด้ายเย็บผ้า, เข็มเย็บผ้า และกรรไกรตัดผ้า ส่วนวัสดุคือเศษผ้าโทนสีต่าง ๆ
วิธีทำ เริ่มจากตัดเศษผ้าสีต่าง ๆ ให้เป็นผ้าชิ้นยาว ขนาดกว้าง 3 นิ้ว ตัดปลายผ้าเป็นสามเหลี่ยมเพื่อเอาไว้ต่อปลายกับชิ้นต่อ ๆ ไป โดยความยาวผ้าเท่าไหร่ก็ได้ในแต่ละชิ้น
จากนั้นนำเศษผ้า 3 ชิ้นที่เป็นโทนสีเดียวกัน เข้าคู่กัน มาถักเปียจนสุดความยาวของผ้าแต่ละชิ้น หากชิ้นใดเริ่มจะสิ้นสุดปลายผ้าก็นำชิ้นผ้ามาต่อและถักเปียต่อกันไปเรื่อย ๆ โดยการต่อผ้าจะต่อด้วยการเย็บ
ข้อสำคัญในการถักผ้า ภัทรพรบอกว่า อย่าให้ผ้าแต่ละชิ้นหมดพร้อมกัน เพราะถ้าผ้าหมดปลายพร้อมกันจะทำให้การต่อผ้ายากขึ้น และเกิดเป็นปมผ้า ควรให้ผ้าถักแต่ละชิ้นหมดปลายไม่พร้อมกัน เพื่อที่จะทำให้การต่อปลายผ้าง่ายขึ้น และดูกลืนหายกันไปในการถัก ซึ่งการต่อปลายผ้าแต่ละชิ้น ในขณะที่ถักไปด้วยนั้นต้องตัดปลายผ้าให้เป็นปลายแหลมสามเหลี่ยมดังที่บอกแต่ ต้น เพื่อจะได้ง่ายต่อการสอดปลายผ้าไปด้วยกัน แต่ต้องสอดปลายผ้าให้เข้าลึก ๆ เพื่อป้องกันการหลุดออกจากกัน
ในการถักผ้า ก็จะเป็นการถักไปต่อผ้าไปจนได้เปียผ้าถักที่ยาวประมาณ 6 เมตร จากนั้นนำผ้าถักเปียมาวนเป็นวงกลม โดยสอยแต่ละชั้นเข้าด้วยกัน เริ่มจากชั้นใน สอยไปจนสุดชั้นสุดท้ายซึ่งเป็นด้านนอกของผ้ารองนั่ง เมื่อถึงปลายผ้าที่เป็นหางของเปียถักนี้ก็ให้สอยเก็บปลายผ้าให้กลืนหายไปใน ชิ้นงาน เสร็จแล้วก็จะได้ผ้ารองนั่งจากเศษผ้าที่สมบูรณ์ที่มีขนาดวงกลม 19 นิ้ว ซึ่งสามารถขายได้ราคาผืนละ 400-490 บาท โดยมีต้นทุนโดยเฉลี่ยผืนละ 150-200 บาท
ใครสนใจงานถัก “ผ้ารองนั่งจากเศษผ้า” หนึ่งในรูปแบบ “ช่องทางทำกิน” จากงานผ้า ของภัทรพร ติดต่อได้ที่ โทร. 08-1296-6411 ทั้งนี้ จากเศษผ้าทั่ว ๆ ไป หากทำให้ดูดีมีรสนิยม ทำให้เป็นชิ้นงานที่ดูสมัยใหม่ได้ ก็ทำเงินได้น่าสนใจ.
สุภารัตน์ ยอดศิริวิชัยกุล : เรื่อง/ภาพ
...................................................
คู่มือลงทุน...ผ้ารองนั่งจากเศษผ้า
ทุนอุปกรณ์ ประมาณ 100 กว่าบาทขึ้นไป
ทุนวัสดุ ประมาณ 150-200 บาท/ชิ้น
รายได้ ราคาขาย 400-499 บาท/ชิ้น
แรงงาน 1 คน
ตลาด ร้านสินค้าแต่งบ้าน, รับสั่งทำ
จุดน่าสนใจ ลงทุนต่ำ, งานขายฝีมือราคาดี
credit : http://www.dailynews.co.th/article/384/150153
ขายของได้ทุกที่ บนรถขายขายของเคลื่อนที่ ได้ทั้งของกินและเครื่องดื่ม
ตัวอย่างอาชีพค้าขายที่ไม่ง้อทำเล(รูป)ตอน 1-12
download ...http://bit.ly/2kYAKOt
ตัวอย่างอาชีพค้าขายที่ไม่ง้อทำเล(รูป)ตอน 1-12
download ...http://bit.ly/2kYAKOt
Adv