งานศิลปะ-งานประดิษฐ์ในปัจจุบัน นอกจากจะแข่งขันกันที่เรื่องของรูปแบบความสวยงามแล้ว เทคโนโลยีก็เป็นอีกหนึ่งหัวใจสำคัญที่ผลักดันให้เกิดการสร้างสรรค์ชิ้นงาน ใหม่ ๆ เกิดขึ้น อย่างเช่นงาน ’หุ่นพิมพ์ 3 มิติ“ ของ ’ทรงพร ชัยศิลป์วัฒนา“ ที่มีการนำภาพถ่ายกับเทคโนโลยีมาใช้เพื่อผลิตชิ้นงาน เป็นอีกกรณีศึกษา ’ช่องทางทำกิน“ ที่น่าสนใจ...
เจ้าของชิ้นงาน ’หุ่นพิมพ์ 3 มิติ“ ที่ว่านี้ เล่าว่า เรียนจบทางศิลปะและชอบงานปั้นหุ่นมาก แต่งานประเภทนี้ต้องใช้ระยะเวลานานเพราะมีกระบวนการหลายขั้นตอนกว่าจะออกมา เป็นหุ่นสักตัวหนึ่ง อีกทั้งราคาต่อชิ้นงานก็มักจะมีราคาแพง ทำให้ไม่ค่อยแพร่หลายสำหรับบุคคลทั่วไปนัก จนต่อมาเมื่อเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์พัฒนาและแพร่หลายขึ้น จึงเริ่มมีธุรกิจที่เกี่ยวกับการตกแต่ง โดยนำภาพของคนมาแทรกเข้ากับฉากหรือสถานที่ต่าง ๆ เพื่อจำหน่ายให้กับนักท่องเที่ยว
ประกอบกับได้เห็นงานปั้นหุ่นขนาดเล็ก แต่เป็นงานในลักษณะภาพล้อเลียนหรือตัวการ์ตูน จึงคิดว่าหากนำเทคโนโลยีมาผสานเข้ากับงานปั้นหุ่น น่าจะเป็นช่องทางในการทำอาชีพหรือธุรกิจได้ จึงตัดสินใจทดลองค้นคว้าและพัฒนาเครื่องไม้เครื่องมือต่าง ๆ จนเกิดเป็นเทคโนโลยีสำหรับการพิมพ์หุ่นพิมพ์ 3 มิติเสมือนต้นแบบนี้ขึ้น โดยใช้เวลาในการพัฒนามานาน 10 กว่าปี และขณะนี้ก็ได้ทำการจดอนุสิทธิบัตรเพื่อให้เป็นสิ่งประดิษฐ์จากฝีมือคนไทย เรียบร้อยแล้ว
องค์ประกอบสำคัญของเทคโนโลยีที่นำมาใช้ ประกอบไปด้วยเครื่องสแกนภาพต้นแบบหรือตัวแบบที่สแกนได้ทั้งตัวหรือเฉพาะส่วน ใบหน้า กับเครื่องพิมพ์ที่ใช้ในการพิมพ์ใบหน้าหรือหุ่นตัวแบบได้โดยตรงจากการสั่ง งานผ่านโปรแกรมในเครื่องคอมพิวเตอร์
“เทคโนโลยีตัวนี้เกิดขึ้นเพื่อทดแทนการปั้นที่ต้องใช้ระยะเวลานาน ข้อดีคือ สะดวกรวดเร็วกว่า โดยจะเป็นการพิมพ์ซ้อนทับจนหุ่นหรือใบหน้าตัวแบบนูนขึ้น และเพิ่มสีหรือลงรายละเอียดต่าง ๆ บนใบหน้าได้เหมือนคนจริงมากที่สุด แม้กระทั่งแววตา ที่สำคัญราคาต่อหนึ่งชิ้นงานก็ยังถูกกว่างานปั้น” เจ้าของชิ้นงานกล่าว
ทรงพรระบุอีกว่า เหตุที่คิดจับทำธุรกิจตัวนี้ขึ้นมา เนื่องจากมองว่าทุกคนต่างต้องการสิ่งที่จะทำให้หวนระลึกถึงเพื่อเก็บไว้เป็น ความทรงจำ โดยเฉพาะช่วงเวลาสำคัญ ๆ ที่เกิดขึ้น อาทิ งานรับปริญญา, งานแต่งงาน, งานเกษียณ นอกจากนี้ยังมองไปที่ตลาดของที่ระลึก นักท่องเที่ยว ซึ่งที่ผ่านมาเรามักจะพบแต่ชิ้นงานอย่างเช่น ภาพถ่าย, ภาพวาด, ตุ๊กตาปั้น ซึ่งงานหุ่นพิมพ์ 3 มิตินี้ ถือเป็นอีกหนึ่งช่องทางสำหรับเก็บบันทึกช่วงเวลาดี ๆ นั้นไว้
รูปแบบชิ้นงานที่มีการทำอยู่ แบ่งออกเป็นหุ่นชนิดต่าง ๆ อาทิ หุ่นคู่รัก-คู่แต่งงาน, หุ่นคอสตูม, หุ่นกีฬา, หุ่นนักศึกษา-ชุดรับปริญญา, หุ่นฮีโร่, หุ่นคนชรานั่งเก้าอี้โยก, หุ่นนักธุรกิจ และหุ่นครึ่งตัว โดยตลาดของชิ้นงานอยู่ในกลุ่มของขวัญ ของที่ระลึก และของตกแต่ง ซึ่งทำให้มีตลาดจำหน่ายชิ้นงานที่กว้างมาก คือตั้งแต่ร้านเวดดิ้ง, นักศึกษา, วัยทำงาน, ข้าราชการ และนักท่องเที่ยว ส่วนขนาดนั้นมีตั้งแต่ 7 นิ้ว ไปจนถึง 18 นิ้ว
ทุนเบื้องต้นธุรกิจนี้ ขึ้นอยู่กับขนาดและทำเลของกิจการ โดยมีอุปกรณ์เครื่องมือหลายอย่างที่จำเป็นต้องฝึกฝนและประกอบติดตั้ง ซึ่งเครื่องมือวัสดุหลัก ๆ ประกอบด้วย เครื่องสแกนภาพ 3 มิติ, เครื่องพิมพ์หุ่น, แป้งและสีที่เป็นชุดเฉพาะสำหรับผลิตชิ้นงาน ส่วนทุนวัสดุอยู่ที่ประมาณ 40% ของราคาขาย ซึ่งมีตั้งแต่ 3,500 บาทขึ้นไป ขึ้นกับขนาดของหุ่นขั้นตอนการทำ กระบวนการผลิตหุ่นพิมพ์ 3 มิตินี้ เริ่มจากนำเครื่องสแกน 3 มิติ (3D) มาสแกนใบหน้าหรือลำตัวต้นแบบในมุมต่าง ๆ เพื่อเก็บรายละเอียดลักษณะโครงสร้าง สีหน้า สีผิว รูปร่าง แววตา จากนั้นนำข้อมูลที่เก็บได้จากเครื่องสแกน 3 มิติไปเข้าโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่คิดค้นขึ้นเพื่อประเมินผลด้วยการประกบภาพ ซ้อนใบหน้าหรือรูปร่างท่าทางนั้นเข้าด้วยกัน เพื่อกำหนดและตกแต่งเพิ่มเติมรายละเอียดต่าง ๆ ให้สมบูรณ์คล้ายต้นแบบมากที่สุด
เมื่อได้ต้นแบบที่ต้องการแล้วจึงทำการป้อนคำสั่งไปยังเครื่องพิมพ์หุ่น 3 มิติ ซึ่งสามารถพิมพ์ได้ตั้งแต่ใบหน้า ศีรษะ หรือทั้งตัว โดยขั้นตอนต่าง ๆ ใช้เวลาตั้งแต่ 2 ชั่วโมงขึ้นไป ขึ้นอยู่กับรายละเอียดและขนาดของหุ่นพิมพ์ที่ต้องการ
“จุดขายอยู่ที่ความรวดเร็ว ความเหมือนของสีผิวและโครงร่าง ซึ่งหากเป็นร้านถ่ายภาพที่มีสตูดิโออยู่แล้วก็สามารถที่จะนำเทคโนโลยีตรงจุด นี้ไปติดตั้ง สามารถที่จะต่อยอดเพิ่มเป็นสินค้า เพิ่มทางเลือกให้ลูกค้า และเพิ่มกำไรให้ธุรกิจเดิมได้อย่างดี ซึ่งที่ร้านเองก็รับสั่งทำหุ่นพิมพ์ตามออร์เดอร์ นอกจากนี้หากใครสนใจที่จะลงทุนทำเป็นธุรกิจเครือข่ายของเราก็สามารถสอบถาม รายละเอียดมาได้ เพราะทางเราก็มีการทำตรงจุดนี้ด้วย” ทรงพร เจ้าของชิ้นงานกล่าว
ใครสนใจ ’หุ่นพิมพ์ 3 มิติ“ ดูเพิ่มเติมได้ในเว็บไซต์ www.papme.net ต้องการติดต่อกับทรงพร ติดต่อได้ที่ โทร. 0-2512-3322 หรืออีเมล papme@live.com และผู้ประกอบการรายนี้ยังมีร้านต้นแบบคือ ร้านแพบมี ชั้น 2 ห้อง s169 ห้างสรรพสินค้าเจเจมอลล์จตุจักร โดยมีการบอกกับทางเรามาด้วยว่า ใครที่สนใจ หากอ่านเจอจากคอลัมน์นี้ ถือคอลัมน์นี้ไปที่ร้านด้วย ทางร้านจะมีสิทธิพิเศษให้ในฐานะแฟนตัวจริงของคอลัมน์ช่องทางทำกิน หนังสือพิมพ์เดลินิวส์.
(ชมคลิปวิดีโอ “ช่องทางทำกิน” ได้ที่ www.dailynews.co.th)
ศิริโรจน์ ศิริแพทย์ เรื่อง / วรัญญู เหมือนเดช ภาพ
ใครสนใจ ’หุ่นพิมพ์ 3 มิติ“ ดูเพิ่มเติมได้ในเว็บไซต์ www.papme.net ต้องการติดต่อกับทรงพร ติดต่อได้ที่ โทร. 0-2512-3322 หรืออีเมล papme@live.com และผู้ประกอบการรายนี้ยังมีร้านต้นแบบคือ ร้านแพบมี ชั้น 2 ห้อง s169 ห้างสรรพสินค้าเจเจมอลล์จตุจักร โดยมีการบอกกับทางเรามาด้วยว่า ใครที่สนใจ หากอ่านเจอจากคอลัมน์นี้ ถือคอลัมน์นี้ไปที่ร้านด้วย ทางร้านจะมีสิทธิพิเศษให้ในฐานะแฟนตัวจริงของคอลัมน์ช่องทางทำกิน หนังสือพิมพ์เดลินิวส์.
(ชมคลิปวิดีโอ “ช่องทางทำกิน” ได้ที่ www.dailynews.co.th)
ศิริโรจน์ ศิริแพทย์ เรื่อง / วรัญญู เหมือนเดช ภาพ
ขายของได้ทุกที่ บนรถขายขายของเคลื่อนที่ ได้ทั้งของกินและเครื่องดื่ม
ตัวอย่างอาชีพค้าขายที่ไม่ง้อทำเล(รูป)ตอน 1-12
download ...http://bit.ly/2kYAKOt
ตัวอย่างอาชีพค้าขายที่ไม่ง้อทำเล(รูป)ตอน 1-12
download ...http://bit.ly/2kYAKOt
Adv