งานศิลปะบางแขนงสามารถนำวัสดุบางอย่างมาผนวกเข้ากับงานฝีมือบางประเภทได้ อย่างน่าสนใจ นอกจากจะโดดเด่นด้วยความสวยงามแล้ว ลักษณะเฉพาะของการรวมจุดเด่นของงานแต่ละด้านก็นับว่าเป็นจุดขายสำคัญที่ทำ ให้สินค้ามีความต่าง สร้างจุดขายให้กับชิ้นงาน อย่างเช่นการแกะสลักยางลบจนกลายเป็นชิ้นงาน ’ตราปั๊มจากยางลบ“..
“ปัชชา ทิพย์พญาชัย” เล่าว่า เรียนมาทางด้านสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ สาขาศิลปะอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เดิมเป็นคนชอบงานประดิษฐ์กับงานฝีมือมาตั้งแต่เด็กแล้ว ต่อมามีโอกาสได้เห็นงานแกะสลักยางลบ เกิดความสนใจ และอยากจะเรียนรู้ จึงพยายามหาข้อมูลตามแหล่งต่าง ๆ และลองซื้อยางลบเพื่อนำมาลองฝึกหัดการแกะสลักด้วยตัวเอง จนมีทักษะและความชำนาญในงานฝีมือชนิดนี้ ประกอบกับหลายคนที่ได้เห็นก็ชมว่าสวยและแปลกดี อยากให้ทำให้บ้าง และเกิดความคิดว่างานฝีมือตรงนี้สามารถที่จะนำมาทำเป็นอาชีพเสริมได้ จึงลองออกแบบเป็นลวดลายการ์ตูนน่ารัก ๆ แล้วขายผ่านทางเฟซบุ๊ก ใช้ชื่อว่า www.facebook.com/pages/Gomugomu
จากจุดเริ่มต้น ต่อมาก็ได้รับการตอบรับเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จากกลุ่มลูกค้า เพราะ “ตราปั๊มจากยางลบ” นี้ลูกค้าสามารถนำไปใช้ต่อยอด เพื่อความสวยงาม เพิ่มลูกเล่นให้กับชิ้นงานเดิม ๆ ของลูกค้าได้นั่นเอง...
“มีหลายชื่อเรียก แต่ส่วนใหญ่จะเรียกกันว่าตราปั๊มจากยางลบ ไม่ก็ ตัวปั๊มยางลบ ภาษาอังกฤษจะอ่านว่า รับเบอร์-แสตมป์ ส่วนเหตุผลที่คิดว่าน่าจะสามารถพัฒนาเป็นอาชีพได้ เพราะรู้สึกว่ามันเป็นของเล็ก ๆ ที่ปัจจุบันอาจยังไม่มีคนรู้จักมากนัก แต่กำลังจะได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น ดูจากจำนวนลูกค้าที่ติดต่อเข้ามาเพื่อสั่งทำชิ้นงาน เนื่องจากชิ้นงานสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้หลายอย่าง” เจ้าของชิ้นงาน เจ้าของกรณีศึกษา ’ช่องทางทำกิน“ รายนี้กล่าว
สำหรับลูกค้า ปัชชาเล่าว่า ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มลูกค้าที่ทำชิ้นงานของตัวเองอยู่แล้ว แต่อยากได้ตราปั๊มยางลบไปช่วยเพิ่มเติมสีสันให้กับชิ้นงาน อาทิ นำไปปั๊มทำลวดลายสำหรับการ์ดต่าง ๆ นำไปปั๊มตกแต่งสมุดภาพ หรือสแครปบุ๊ก (Scrapbook) นำไปมอบเป็นของขวัญ หรือของชำร่วยในงานแต่งงาน หรือแม้แต่นำตราปั๊มยางลบไปปั๊มลงบนใบเสร็จ บนถุง บนกล่องบรรจุภัณฑ์ รวมทั้งมีการนำไปปั๊มสร้างลายลงบนเสื้อผ้า เป็นต้น โดยจุดเด่นของทางร้านก็คือจะรับออกแบบตามที่ลูกค้าต้องการด้วย และตัวปั๊มก็จะมีแป้นไม้ที่ติดไว้เพื่อเป็นด้ามจับ ซึ่งแป้นไม้นั้นทางร้านทำขึ้นเอง
“สินค้าที่ทำมี 2 ประเภท คือ ตราปั๊มที่เป็นลายที่ลูกค้าต้องการ มีทั้งแบบที่ลูกค้านำมาให้ทำ กับแบบที่เราออกแบบให้ และอีกประเภทคือตราปั๊มที่เป็นลายเจาะจงที่ทางร้านทำขึ้นมาเองเป็นคอลเลก ชั่น” ปัชชากล่าว
ทุนเบื้องต้นสำหรับการทำชิ้นงานลักษณะนี้ ใช้ประมาณ 500-1,000 บาทก็สามารถทำได้แล้ว ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนไปกับการซื้อยางลบหลาย ๆ แบบมาทดลองทำ และเก็บเป็นสต๊อกไว้ใช้ ขณะที่ทุนวัสดุอยู่ที่ประมาณ 20% จากราคาขาย ซึ่งเริ่มตั้งแต่ชิ้นละ 99 ไปจนถึง 200 บาท ขึ้นอยู่กับขนาดยางลบและความยากง่ายของแบบ
วัสดุและอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำ “ตราปั๊มจากยางลบ” หลัก ๆ ประกอบด้วย ยางลบ, คัตเตอร์ปากกา หรือคัตเตอร์ธรรมดาก็ได้, แผ่นรองตัด, กระดาษลอกลาย หรือกระดาษไข และดินสอ
สำหรับยางลบนั้น แล้วแต่ว่าจะชอบเนื้อยางลบแบบไหน บางคนอาจชอบแบบนิ่ม บางคนอาจชอบแบบแข็ง ซึ่งยางลบที่นำมาใช้ก็เป็นยางลบธรรมดาทั่วไป แต่ต่างยี่ห้อก็จะมีความแตกต่างกัน ทั้งขนาดและความนิ่มความแข็ง ซึ่งหาซื้อได้ตามร้านเครื่องเขียนทั่วไป แต่หากต้องการยางลบสำหรับการแกะโดยเฉพาะก็อาจไปซื้อตามร้านจำหน่ายสินค้าจาก ประเทศญี่ปุ่น แต่ราคาจะค่อนข้างสูงหน่อย “และการจะปั๊มลายนั้นอีกอย่างที่มองข้ามไม่ได้เลยก็คือ หมึกพิมพ์ เพราะหมึกแต่ละชนิดก็จะเหมาะกับการพิมพ์หรือปั๊มลงบนวัสดุแต่ละอย่าง” ปัชชากล่าวแนะนำผู้สนใจ
ขั้นตอนการทำ เริ่มจากวาดรูปลงกระดาษไขหรือกระดาษลอกลาย โดยอาจลอกลายที่ต้องการจากหนังสือ จากนั้นนำกระดาษที่วาดลายเรียบร้อยแล้วคว่ำลงไปบนยางลบที่จะใช้แกะ ใช้นิ้วมือหรือก้นดินสอถูให้ลายติดลงบนยางลบ จากนั้นจึงเริ่มแกะยางลบโดยใช้คัตเตอร์ธรรมดา หรือคัตเตอร์ปากกา ตามแบบหรือลายที่ลอกไว้ หลังจากแกะเสร็จ ก็ให้ทดลองปั๊มดูก่อน ถ้าลายเส้นที่แกะครบตามแบบหรือลายที่ต้องการ ก็เป็นอันเสร็จขั้นตอนการทำ
“จุดที่ยากที่สุดคือการทำเส้นให้ดูคมชัดและเท่ากัน เช่น ลูกตาของตัวการ์ตูน จุดที่ง่ายคือการแกะรูปอะไรก็ได้ที่มีพื้นที่ในการแกะทิ้งน้อยที่สุด หากสามารถฝึกฝนเพิ่มเติมอยู่เสมอ ทักษะก็จะพัฒนาเพิ่มขึ้นแน่นอน” เจ้าของชิ้นงานแนะนำ
ใครสนใจ ’ตราปั๊มจากยางลบ“ ก็เข้าไปดูได้ตามช่องทางที่ระบุมาข้างต้น และสามารถจะติดต่อเจ้าของกรณีศึกษา ’ช่องทางทำกิน“ รายนี้ได้ทางอีเมล gomugomuhango@gmail.com หรือที่ โทร.08-6685-1117 ซึ่งนี่ก็ถือว่าเป็นอีกหนึ่งชิ้นงานจากวัสดุชิ้นเล็ก ๆ ที่สามารถสร้างงานทำเงินได้อย่างน่าสนใจ.
ศิริโรจน์ ศิริแพทย์ รายงาน
credit : http://www.dailynews.co.th/article/384/155083
จากจุดเริ่มต้น ต่อมาก็ได้รับการตอบรับเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จากกลุ่มลูกค้า เพราะ “ตราปั๊มจากยางลบ” นี้ลูกค้าสามารถนำไปใช้ต่อยอด เพื่อความสวยงาม เพิ่มลูกเล่นให้กับชิ้นงานเดิม ๆ ของลูกค้าได้นั่นเอง...
“มีหลายชื่อเรียก แต่ส่วนใหญ่จะเรียกกันว่าตราปั๊มจากยางลบ ไม่ก็ ตัวปั๊มยางลบ ภาษาอังกฤษจะอ่านว่า รับเบอร์-แสตมป์ ส่วนเหตุผลที่คิดว่าน่าจะสามารถพัฒนาเป็นอาชีพได้ เพราะรู้สึกว่ามันเป็นของเล็ก ๆ ที่ปัจจุบันอาจยังไม่มีคนรู้จักมากนัก แต่กำลังจะได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น ดูจากจำนวนลูกค้าที่ติดต่อเข้ามาเพื่อสั่งทำชิ้นงาน เนื่องจากชิ้นงานสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้หลายอย่าง” เจ้าของชิ้นงาน เจ้าของกรณีศึกษา ’ช่องทางทำกิน“ รายนี้กล่าว
สำหรับลูกค้า ปัชชาเล่าว่า ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มลูกค้าที่ทำชิ้นงานของตัวเองอยู่แล้ว แต่อยากได้ตราปั๊มยางลบไปช่วยเพิ่มเติมสีสันให้กับชิ้นงาน อาทิ นำไปปั๊มทำลวดลายสำหรับการ์ดต่าง ๆ นำไปปั๊มตกแต่งสมุดภาพ หรือสแครปบุ๊ก (Scrapbook) นำไปมอบเป็นของขวัญ หรือของชำร่วยในงานแต่งงาน หรือแม้แต่นำตราปั๊มยางลบไปปั๊มลงบนใบเสร็จ บนถุง บนกล่องบรรจุภัณฑ์ รวมทั้งมีการนำไปปั๊มสร้างลายลงบนเสื้อผ้า เป็นต้น โดยจุดเด่นของทางร้านก็คือจะรับออกแบบตามที่ลูกค้าต้องการด้วย และตัวปั๊มก็จะมีแป้นไม้ที่ติดไว้เพื่อเป็นด้ามจับ ซึ่งแป้นไม้นั้นทางร้านทำขึ้นเอง
“สินค้าที่ทำมี 2 ประเภท คือ ตราปั๊มที่เป็นลายที่ลูกค้าต้องการ มีทั้งแบบที่ลูกค้านำมาให้ทำ กับแบบที่เราออกแบบให้ และอีกประเภทคือตราปั๊มที่เป็นลายเจาะจงที่ทางร้านทำขึ้นมาเองเป็นคอลเลก ชั่น” ปัชชากล่าว
ทุนเบื้องต้นสำหรับการทำชิ้นงานลักษณะนี้ ใช้ประมาณ 500-1,000 บาทก็สามารถทำได้แล้ว ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนไปกับการซื้อยางลบหลาย ๆ แบบมาทดลองทำ และเก็บเป็นสต๊อกไว้ใช้ ขณะที่ทุนวัสดุอยู่ที่ประมาณ 20% จากราคาขาย ซึ่งเริ่มตั้งแต่ชิ้นละ 99 ไปจนถึง 200 บาท ขึ้นอยู่กับขนาดยางลบและความยากง่ายของแบบ
วัสดุและอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำ “ตราปั๊มจากยางลบ” หลัก ๆ ประกอบด้วย ยางลบ, คัตเตอร์ปากกา หรือคัตเตอร์ธรรมดาก็ได้, แผ่นรองตัด, กระดาษลอกลาย หรือกระดาษไข และดินสอ
สำหรับยางลบนั้น แล้วแต่ว่าจะชอบเนื้อยางลบแบบไหน บางคนอาจชอบแบบนิ่ม บางคนอาจชอบแบบแข็ง ซึ่งยางลบที่นำมาใช้ก็เป็นยางลบธรรมดาทั่วไป แต่ต่างยี่ห้อก็จะมีความแตกต่างกัน ทั้งขนาดและความนิ่มความแข็ง ซึ่งหาซื้อได้ตามร้านเครื่องเขียนทั่วไป แต่หากต้องการยางลบสำหรับการแกะโดยเฉพาะก็อาจไปซื้อตามร้านจำหน่ายสินค้าจาก ประเทศญี่ปุ่น แต่ราคาจะค่อนข้างสูงหน่อย “และการจะปั๊มลายนั้นอีกอย่างที่มองข้ามไม่ได้เลยก็คือ หมึกพิมพ์ เพราะหมึกแต่ละชนิดก็จะเหมาะกับการพิมพ์หรือปั๊มลงบนวัสดุแต่ละอย่าง” ปัชชากล่าวแนะนำผู้สนใจ
ขั้นตอนการทำ เริ่มจากวาดรูปลงกระดาษไขหรือกระดาษลอกลาย โดยอาจลอกลายที่ต้องการจากหนังสือ จากนั้นนำกระดาษที่วาดลายเรียบร้อยแล้วคว่ำลงไปบนยางลบที่จะใช้แกะ ใช้นิ้วมือหรือก้นดินสอถูให้ลายติดลงบนยางลบ จากนั้นจึงเริ่มแกะยางลบโดยใช้คัตเตอร์ธรรมดา หรือคัตเตอร์ปากกา ตามแบบหรือลายที่ลอกไว้ หลังจากแกะเสร็จ ก็ให้ทดลองปั๊มดูก่อน ถ้าลายเส้นที่แกะครบตามแบบหรือลายที่ต้องการ ก็เป็นอันเสร็จขั้นตอนการทำ
“จุดที่ยากที่สุดคือการทำเส้นให้ดูคมชัดและเท่ากัน เช่น ลูกตาของตัวการ์ตูน จุดที่ง่ายคือการแกะรูปอะไรก็ได้ที่มีพื้นที่ในการแกะทิ้งน้อยที่สุด หากสามารถฝึกฝนเพิ่มเติมอยู่เสมอ ทักษะก็จะพัฒนาเพิ่มขึ้นแน่นอน” เจ้าของชิ้นงานแนะนำ
ใครสนใจ ’ตราปั๊มจากยางลบ“ ก็เข้าไปดูได้ตามช่องทางที่ระบุมาข้างต้น และสามารถจะติดต่อเจ้าของกรณีศึกษา ’ช่องทางทำกิน“ รายนี้ได้ทางอีเมล gomugomuhango@gmail.com หรือที่ โทร.08-6685-1117 ซึ่งนี่ก็ถือว่าเป็นอีกหนึ่งชิ้นงานจากวัสดุชิ้นเล็ก ๆ ที่สามารถสร้างงานทำเงินได้อย่างน่าสนใจ.
ศิริโรจน์ ศิริแพทย์ รายงาน
credit : http://www.dailynews.co.th/article/384/155083
ขายของได้ทุกที่ บนรถขายขายของเคลื่อนที่ ได้ทั้งของกินและเครื่องดื่ม
ตัวอย่างอาชีพค้าขายที่ไม่ง้อทำเล(รูป)ตอน 1-12
download ...http://bit.ly/2kYAKOt
ตัวอย่างอาชีพค้าขายที่ไม่ง้อทำเล(รูป)ตอน 1-12
download ...http://bit.ly/2kYAKOt
Adv