สินค้าบางประเภทหากมองแค่ตาอาจเหมือนไม่มีอะไร แต่บางครั้งงานฝีมือที่ดูว่าง่ายเมื่อนำความคิดสร้างสรรค์มาดัดแปลงเข้ากับ การพัฒนาชิ้นงาน ชิ้นงานที่ดูเรียบง่ายก็สามารถทำราคา เพิ่มมูลค่า สร้างความหลากหลายให้กับสินค้าได้อย่างน่าสนใจ อย่างเช่นงาน ’กล่องผ้าทำมือ“ ไอเดียหลากหลาย ของกรณีศึกษา ’ช่องทางทำกิน“ รายนี้...
อัญชลี จิตสวา เจ้าของชิ้นงาน “กล่องผ้าทำมือ” ชื่อสินค้า Fabric Box By An เล่าว่า เริ่มทำงานกล่องผ้าทำมือมาได้ราว 2 ปีแล้ว โดยในช่วงที่ประสบอุทกภัยอยากใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ จึงไปหัดทำงานผ้าและกล่องทำมือนี้ จากนั้นกลับมาทดลองทำ โดยเมื่อทำเสร็จได้นำไปมอบให้คนรู้จัก หลายคนพอเห็นชิ้นงานก็เกิดความสนใจอยากได้บ้าง จึงคิดว่ากล่องผ้าทำมือนี้สามารถนำไปต่อยอดเป็นอาชีพได้ จึงผลิตชิ้นงานเรื่อยมา เริ่มจากฝากขายร้านเพื่อนที่รู้จัก จากนั้นจึงเปิดร้านออนไลน์ ผ่านเฟซบุ๊ก www.facebook.com/FabricBoxByAn ซึ่งได้รับการตอบรับดี โดยสินค้ามีทั้งกล่องสำเร็จรูป และกล่องที่รับผลิตตามคำสั่งซื้อลูกค้า มีตั้งแต่ขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่ แบ่งเป็นชนิดต่าง ๆ ตามการใช้งาน เช่น กล่องทิซชู, กล่องเครื่องประดับ, กล่องนาฬิกา, กล่องของขวัญ เป็นต้น...
“งานกล่องผ้าต่อยอดออกไปได้เรื่อย ๆ บางครั้งได้ไอเดียจากลูกค้าโดยตรงที่กำหนดมาว่าต้องการกล่องผ้าลักษณะไหน เพื่อนำไปใช้งานอะไร บอกได้เลยว่าไอเดียกล่องผ้านี้ไม่มีตันแน่นอน” อัญชลีกล่าว
กลุ่มลูกค้ากล่องผ้าทำมือนี้ เธอบอกว่า กลุ่มลูกค้ากว้าง เพราะสินค้านำไปใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย ขึ้นอยู่กับความต้องการลูกค้า หากเป็นกลุ่มผู้ใหญ่จะชอบกล่องผ้าที่ดูเรียบหรู มีลวดลายสีสันไม่ฉูดฉาดนัก หากเป็นกลุ่มวัยรุ่นจะเน้นสีสันลวดลายมากขึ้น ลูกค้าที่ซื้อไปมีทั้งซื้อไปเพื่อใช้งานเอง และมีทั้งที่นำไปใช้แทนกล่องของขวัญ
“ด้วยความที่มีกลุ่มลูกค้าที่หลากหลาย ค่อนข้างกว้าง เราจึงต้องสต๊อกผ้าไว้หลายแบบ หลายลวดลาย เพราะลูกค้าแต่ละกลุ่มก็มีความชอบและรสนิยมที่ต่างกัน” เป็นคำแนะนำจากผู้ผลิตกล่องผ้าทำมือรายนี้
ทุนเบื้องต้นอาชีพนี้ ใช้เงินประมาณ 5,000 บาท ส่วนทุนวัตถุดิบอยู่ที่ประมาณ 30% จากราคาขาย โดยกล่องผ้าทำมือนี้ราคาเริ่มต้นที่ 100 บาท ไปจนถึง 1,800 บาท ขึ้นอยู่กับรูปแบบและขนาดของชิ้นงาน
วัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ หลัก ๆ ประกอบด้วย ผ้าคอตตอนลวดลายต่าง ๆ, กระดาษชานอ้อย สำหรับทำกล่อง, กระดาษขาวเทา ทำผิวกล่อง, กาวลาเท็กซ์, ริบบิ้น, คัตเตอร์, ฟองน้ำ, กรรไกร และวัสดุตกแต่ง ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้หาซื้อได้ตามร้านงานผ้า ร้านเครื่องเขียน หรือย่านสำเพ็ง...
ขั้นตอนการทำ เริ่มจากวัดและตัดกระดาษชานอ้อยตามขนาดของกล่องที่ต้องการ โดยอาจตัดส่วนประกอบต่าง ๆ เตรียมไว้ แล้วค่อยนำมาประกอบทีเดียวก็ได้ เหตุที่ต้องเลือกใช้กระดาษชานอ้อย เนื่องจากมีความแข็งแรง ทนทาน ตัดได้ง่าย และไม่บวมเมื่อนำมาประกอบทากาวติดกับผ้า โดยกล่อง 1 กล่องจะต้องตัดกระดาษประมาณ 5 ชิ้นขึ้นไป แล้วแต่รูปแบบกล่องที่จะทำ ซึ่งหลัก ๆ ก็ใช้ทำส่วนฝา ส่วนฐาน และด้านข้างกล่อง เมื่อได้จำนวนกระดาษตามที่ต้องการแล้ว ก็ทำการประกอบส่วนโครงด้านนอก ยึดส่วนประกอบให้ติดกันด้วยกาวลาเท็กซ์
ต่อมาทำการทากาวที่ด้านข้างของกล่อง โดยทาบาง ๆ ให้ทั่ว จากนั้นนำผ้าที่เลือกไว้หุ้มเข้ากับกล่องกระดาษที่ประกอบเสร็จแล้ว ทากาว และติดทีละข้างจนครบ สำหรับด้านสุดท้ายให้ทบผ้าส่วนเกินเข้ามาเล็กน้อยพับปิดให้พอดีมุม ทำให้ครบทุกด้าน ทำการติดวัสดุตกแต่ง เช่น ตัวล็อกฝาของกล่อง สำหรับใช้ปิด-เปิด
ก็เป็นอันเสร็จขั้นตอนการทำ “กล่องผ้าทำมือ”
“ขั้นตอนมีไม่มาก แต่บางขั้นตอนต้องอาศัยความละเอียดประณีตพอสมควร ยิ่งหากกล่องนั้นต้องการเพิ่มรายละเอียดการใช้งานมากขึ้น เช่น มีลิ้นชักเปิด-ปิด มีบานพับเข้า-ออก ขั้นตอนก็จะเพิ่มขึ้น” อัญชลีกล่าว...
ใครสนใจชิ้นงาน ’กล่องผ้าทำมือ“ ต้องการติดต่อกับอัญชลี กรณีศึกษา ’ช่องทางทำกิน“ รายนี้ ติดต่อได้ที่ โทร. 08-0988-4576 หรืออีเมล fabricboxbyan@gmail.com และเข้าไปดูรูปแบบกล่องผ้าทำมือได้ในเฟซบุ๊กตามที่ระบุไว้ข้างต้น ซึ่งนี่ก็เป็นอีกหนึ่งงานทำมือที่บางคนอาจคิดว่า...ก็แค่งานกล่องผ้าจะมี อะไร? จะทำอะไรได้อีก? แต่เมื่อนำมาผนวกกับความตั้งใจ ผสมกับไอเดียหลากหลาย ก็เห็นได้ชัดว่า...สามารถสร้างเงิน-ทำเป็นอาชีพได้อย่างดี!!.
........................................................................................................
คู่มือลงทุน...กล่องผ้าทำมือ
ทุนเบื้องต้น ประมาณ 5,000 บาท
ทุนวัสดุ ประมาณ 30% จากราคา
รายได้ ราคา 100-1,800 บาท
แรงงาน 1 คนขึ้นไป
ตลาด กลุ่มของใช้, ของขวัญ
จุดน่าสนใจ ต่อยอดได้หลากหลาย
ศิริโรจน์ ศิริแพทย์ : เรื่อง / ภานุพงศ์ พนาวัน : ภาพ
credit by http://www.dailynews.co.th/article/384/220133
อัญชลี จิตสวา เจ้าของชิ้นงาน “กล่องผ้าทำมือ” ชื่อสินค้า Fabric Box By An เล่าว่า เริ่มทำงานกล่องผ้าทำมือมาได้ราว 2 ปีแล้ว โดยในช่วงที่ประสบอุทกภัยอยากใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ จึงไปหัดทำงานผ้าและกล่องทำมือนี้ จากนั้นกลับมาทดลองทำ โดยเมื่อทำเสร็จได้นำไปมอบให้คนรู้จัก หลายคนพอเห็นชิ้นงานก็เกิดความสนใจอยากได้บ้าง จึงคิดว่ากล่องผ้าทำมือนี้สามารถนำไปต่อยอดเป็นอาชีพได้ จึงผลิตชิ้นงานเรื่อยมา เริ่มจากฝากขายร้านเพื่อนที่รู้จัก จากนั้นจึงเปิดร้านออนไลน์ ผ่านเฟซบุ๊ก www.facebook.com/FabricBoxByAn ซึ่งได้รับการตอบรับดี โดยสินค้ามีทั้งกล่องสำเร็จรูป และกล่องที่รับผลิตตามคำสั่งซื้อลูกค้า มีตั้งแต่ขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่ แบ่งเป็นชนิดต่าง ๆ ตามการใช้งาน เช่น กล่องทิซชู, กล่องเครื่องประดับ, กล่องนาฬิกา, กล่องของขวัญ เป็นต้น...
“งานกล่องผ้าต่อยอดออกไปได้เรื่อย ๆ บางครั้งได้ไอเดียจากลูกค้าโดยตรงที่กำหนดมาว่าต้องการกล่องผ้าลักษณะไหน เพื่อนำไปใช้งานอะไร บอกได้เลยว่าไอเดียกล่องผ้านี้ไม่มีตันแน่นอน” อัญชลีกล่าว
กลุ่มลูกค้ากล่องผ้าทำมือนี้ เธอบอกว่า กลุ่มลูกค้ากว้าง เพราะสินค้านำไปใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย ขึ้นอยู่กับความต้องการลูกค้า หากเป็นกลุ่มผู้ใหญ่จะชอบกล่องผ้าที่ดูเรียบหรู มีลวดลายสีสันไม่ฉูดฉาดนัก หากเป็นกลุ่มวัยรุ่นจะเน้นสีสันลวดลายมากขึ้น ลูกค้าที่ซื้อไปมีทั้งซื้อไปเพื่อใช้งานเอง และมีทั้งที่นำไปใช้แทนกล่องของขวัญ
“ด้วยความที่มีกลุ่มลูกค้าที่หลากหลาย ค่อนข้างกว้าง เราจึงต้องสต๊อกผ้าไว้หลายแบบ หลายลวดลาย เพราะลูกค้าแต่ละกลุ่มก็มีความชอบและรสนิยมที่ต่างกัน” เป็นคำแนะนำจากผู้ผลิตกล่องผ้าทำมือรายนี้
ทุนเบื้องต้นอาชีพนี้ ใช้เงินประมาณ 5,000 บาท ส่วนทุนวัตถุดิบอยู่ที่ประมาณ 30% จากราคาขาย โดยกล่องผ้าทำมือนี้ราคาเริ่มต้นที่ 100 บาท ไปจนถึง 1,800 บาท ขึ้นอยู่กับรูปแบบและขนาดของชิ้นงาน
วัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ หลัก ๆ ประกอบด้วย ผ้าคอตตอนลวดลายต่าง ๆ, กระดาษชานอ้อย สำหรับทำกล่อง, กระดาษขาวเทา ทำผิวกล่อง, กาวลาเท็กซ์, ริบบิ้น, คัตเตอร์, ฟองน้ำ, กรรไกร และวัสดุตกแต่ง ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้หาซื้อได้ตามร้านงานผ้า ร้านเครื่องเขียน หรือย่านสำเพ็ง...
ขั้นตอนการทำ เริ่มจากวัดและตัดกระดาษชานอ้อยตามขนาดของกล่องที่ต้องการ โดยอาจตัดส่วนประกอบต่าง ๆ เตรียมไว้ แล้วค่อยนำมาประกอบทีเดียวก็ได้ เหตุที่ต้องเลือกใช้กระดาษชานอ้อย เนื่องจากมีความแข็งแรง ทนทาน ตัดได้ง่าย และไม่บวมเมื่อนำมาประกอบทากาวติดกับผ้า โดยกล่อง 1 กล่องจะต้องตัดกระดาษประมาณ 5 ชิ้นขึ้นไป แล้วแต่รูปแบบกล่องที่จะทำ ซึ่งหลัก ๆ ก็ใช้ทำส่วนฝา ส่วนฐาน และด้านข้างกล่อง เมื่อได้จำนวนกระดาษตามที่ต้องการแล้ว ก็ทำการประกอบส่วนโครงด้านนอก ยึดส่วนประกอบให้ติดกันด้วยกาวลาเท็กซ์
ต่อมาทำการทากาวที่ด้านข้างของกล่อง โดยทาบาง ๆ ให้ทั่ว จากนั้นนำผ้าที่เลือกไว้หุ้มเข้ากับกล่องกระดาษที่ประกอบเสร็จแล้ว ทากาว และติดทีละข้างจนครบ สำหรับด้านสุดท้ายให้ทบผ้าส่วนเกินเข้ามาเล็กน้อยพับปิดให้พอดีมุม ทำให้ครบทุกด้าน ทำการติดวัสดุตกแต่ง เช่น ตัวล็อกฝาของกล่อง สำหรับใช้ปิด-เปิด
ก็เป็นอันเสร็จขั้นตอนการทำ “กล่องผ้าทำมือ”
“ขั้นตอนมีไม่มาก แต่บางขั้นตอนต้องอาศัยความละเอียดประณีตพอสมควร ยิ่งหากกล่องนั้นต้องการเพิ่มรายละเอียดการใช้งานมากขึ้น เช่น มีลิ้นชักเปิด-ปิด มีบานพับเข้า-ออก ขั้นตอนก็จะเพิ่มขึ้น” อัญชลีกล่าว...
ใครสนใจชิ้นงาน ’กล่องผ้าทำมือ“ ต้องการติดต่อกับอัญชลี กรณีศึกษา ’ช่องทางทำกิน“ รายนี้ ติดต่อได้ที่ โทร. 08-0988-4576 หรืออีเมล fabricboxbyan@gmail.com และเข้าไปดูรูปแบบกล่องผ้าทำมือได้ในเฟซบุ๊กตามที่ระบุไว้ข้างต้น ซึ่งนี่ก็เป็นอีกหนึ่งงานทำมือที่บางคนอาจคิดว่า...ก็แค่งานกล่องผ้าจะมี อะไร? จะทำอะไรได้อีก? แต่เมื่อนำมาผนวกกับความตั้งใจ ผสมกับไอเดียหลากหลาย ก็เห็นได้ชัดว่า...สามารถสร้างเงิน-ทำเป็นอาชีพได้อย่างดี!!.
........................................................................................................
คู่มือลงทุน...กล่องผ้าทำมือ
ทุนเบื้องต้น ประมาณ 5,000 บาท
ทุนวัสดุ ประมาณ 30% จากราคา
รายได้ ราคา 100-1,800 บาท
แรงงาน 1 คนขึ้นไป
ตลาด กลุ่มของใช้, ของขวัญ
จุดน่าสนใจ ต่อยอดได้หลากหลาย
ศิริโรจน์ ศิริแพทย์ : เรื่อง / ภานุพงศ์ พนาวัน : ภาพ
credit by http://www.dailynews.co.th/article/384/220133
แนะนำหนังสือลดราคาพิเศษ
|
Read More...