ต้องยอมรับว่ากระแสเครื่องดนตรีจิ๋วชื่อต่างประเทศอย่าง
“อูคูเลเล่” นั้น แรงดี…ยังไม่มีตก
ซึ่งนอกจากตัวเครื่องดนตรีจะขายดิบขายดีโดยมีทั้งของที่ผลิตจากต่างประเทศ
และผลิตในไทยแล้ว ก็ยังมีคนต่อยอดสร้าง “ช่องทางทำกิน”
ด้วยสินค้าและบริการที่เกี่ยวเนื่องกับเจ้าอูคูเลเล่นี้ได้อย่างน่าสนใจ
อย่างเช่นบริการ “เพนท์อูคูเลเล่” เป็นต้น….
“ชลทิพย์ จามรมาน” เริ่มงาน “เพนท์อูคูเลเล่” จากการที่เพื่อนซึ่งจำหน่ายอูคูเลเล่ขอให้ช่วยลงสีและตกแต่งอูคูเลเล่ให้ เนื่องจากสินค้าบางตัวมีรอยขูดขีดหรือมีตำหนิเล็กน้อย จึงอยากให้ช่วยเพนท์ลวดลายเพื่อตกแต่ง เพราะเห็นว่าชอบและถนัดทำงานเกี่ยวกับการเพนท์ ต่อมาลูกค้าที่ซื้ออูคูเลเล่ไปเกิดชอบ หลังจากนั้นจึงมีงานเข้ามาให้เพนท์ต่อเนื่อง โดยทำมาได้ประมาณ 2-3 เดือนแล้ว โดยไม่ต้องมีหน้าร้าน อาศัยช่องทางเฟซบุ๊ก http://facebook.com/lovelybean
“ลูกค้า มีตั้งแต่เด็ก ๆ ไปจนถึงผู้ใหญ่ ผลตอบ รับก็ถือว่าดีเกินคาด ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะกระแส ความนิยมของอูคูเลเล่ที่ยังดีอยู่” ชลทิพย์กล่าว
การเพ้นท์อูคูเลเล่
สำหรับบริการเพ้นท์อูคูเลเล่นั้น เธอบอกว่า มีตั้งแต่ลูกค้าที่ต้องการให้ทางร้านช่วยออกแบบลวดลายให้ทั้งหมด กับอีกกลุ่มคือลูกค้าจะเป็นคนกำหนดแบบหรือลวดลายที่ต้องการเอง และมีทั้งการเขียนลาย-เพนท์ลายเฉพาะบางส่วนบนตัวอูคูเลเล่ กับอีกกลุ่มคือลูกค้าที่ต้องการลงลวดลายทั้งตัว โดยราคาของค่าบริการจะขึ้นอยู่กับความยากง่าย และขนาดของชิ้นงาน
ลวด ลายที่เป็นที่นิยมนั้น ชลทิพย์บอกว่า หลากหลายมาก มีทั้งที่เป็นงานลายเส้น งานกราฟิก ลายการ์ตูน ดอกไม้ และก็มีลูกค้าที่ต้องการให้ช่วยออกแบบขึ้นมาใหม่ โดยเป็นลวดลายหรือรูปแบบที่ไม่ซ้ำกับใคร เพราะลูกค้ามักจะต้องการความเป็นเอกลักษณ์ ซึ่งนอกจากอูคูเลเล่แล้ว เครื่องดนตรี อื่น ๆ ก็มีลูกค้านำมาให้เพนท์ลายด้วย อาทิ ไวโอลิน เป็นต้น
ทุนเบื้องต้นอาชีพการเพ้นท์อูคูเลเล่นี้ ใช้ประมาณ 3,000 บาท ส่วนทุนวัตถุดิบ อยู่ที่ประมาณ 30% จากราคาค่าบริการ ซึ่งเริ่มต้นที่ 350 บาท ขึ้นไปจนถึง 1,300 บาท ต่อชิ้นงาน หรือขึ้นอยู่กับความยากง่ายและขนาดของชิ้นงาน นอกจากนี้ งบประมาณของลูกค้าก็เป็นตัวกำหนดราคาเช่นกัน
ขั้น ตอนการเพ้นท์อูคูเลเล่ เริ่มจากรับแบบหรือสอบถามความต้องการของลูกค้า ในเรื่องของลวดลาย สีสัน และตำแหน่งที่ต้องการให้เพนท์บนตัวอูคูเลเล่ เมื่อรับทราบความต้องการของลูกค้าแล้วก็จะทำการร่างแบบ โดยที่ร้านของเธอจะใช้วิธีการออกแบบลวดลายในโปรแกรมโฟโต้ช็อป (Photoshop) และส่งให้ลูกค้าตัดสินใจก่อนการลงสีจริงบนอูคูเลเล่
เมื่อลูกค้าเลือก แบบและตำแหน่งที่ต้องการให้เพนท์ได้แล้ว ก็จะเริ่มทำการปลดสายอูคูเลเล่ จากนั้นจึงร่างแบบหรือลวดลายที่ต้องการด้วยดินสอบนตัวอูคูเลเล่ แล้วจึงทำการลงสีอะคริลิกตามที่ได้ร่างหรือออกแบบไว้ ลงสีเสร็จปล่อยทิ้งไว้ให้แห้ง ตรวจดูความเรียบร้อยเพื่อแก้ไข จากนั้นทำการประกอบสายคืนกลับ ทำความสะอาด และเตรียมส่งให้ลูกค้า เป็นอันเสร็จขั้นตอนการทำงานบริการ “เพนท์อูคูเลเล่”
“ขั้น ตอนการเพ้นท์อูคูเลเล่มีไม่มาก แต่สิ่งสำคัญคือการดูแลและระมัดระวังของของลูกค้า เพราะบางตัวก็มีราคามาก การลงสีจึงต้องระมัดระวัง อีกทั้งควรตกลงสรุปแบบกับลูกค้าให้ชัดเจน เพราะเมื่อลงสีไปแล้วการแก้ไขหรือเพิ่มลวดลายภายหลังจะทำได้ยาก” ชลทิพย์กล่าว
สำหรับผู้ที่ต้องการติดต่อชลทิพย์ นอกจากทางเฟซบุ๊กแล้วก็ยังติดต่อได้ที่ โทร. 08-1256-6151 ซึ่งนี่ก็ถือเป็นอีกงานบริการรับกับกระแสนิยมที่กำลังมาแรง เป็นอีกหนึ่งการ “จับกระแสแปรเป็นเงิน” เป็นช่องทางสร้างรายได้อย่างน่าสนใจ ซึ่งก็เป็นไอเดียที่น่าจะประยุกต์สร้างอาชีพกับวัสดุต่าง ๆ ได้หลากหลายเลยทีเดียว
ที่มา: เดลินิวส์, ศิริโรจน์ ศิริแพทย์/พิชยวัฒน์ ปรุงศักดิ์
ภาพ: http://blog.uncommongoods.com
“ชลทิพย์ จามรมาน” เริ่มงาน “เพนท์อูคูเลเล่” จากการที่เพื่อนซึ่งจำหน่ายอูคูเลเล่ขอให้ช่วยลงสีและตกแต่งอูคูเลเล่ให้ เนื่องจากสินค้าบางตัวมีรอยขูดขีดหรือมีตำหนิเล็กน้อย จึงอยากให้ช่วยเพนท์ลวดลายเพื่อตกแต่ง เพราะเห็นว่าชอบและถนัดทำงานเกี่ยวกับการเพนท์ ต่อมาลูกค้าที่ซื้ออูคูเลเล่ไปเกิดชอบ หลังจากนั้นจึงมีงานเข้ามาให้เพนท์ต่อเนื่อง โดยทำมาได้ประมาณ 2-3 เดือนแล้ว โดยไม่ต้องมีหน้าร้าน อาศัยช่องทางเฟซบุ๊ก http://facebook.com/lovelybean
“ลูกค้า มีตั้งแต่เด็ก ๆ ไปจนถึงผู้ใหญ่ ผลตอบ รับก็ถือว่าดีเกินคาด ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะกระแส ความนิยมของอูคูเลเล่ที่ยังดีอยู่” ชลทิพย์กล่าว
การเพ้นท์อูคูเลเล่
สำหรับบริการเพ้นท์อูคูเลเล่นั้น เธอบอกว่า มีตั้งแต่ลูกค้าที่ต้องการให้ทางร้านช่วยออกแบบลวดลายให้ทั้งหมด กับอีกกลุ่มคือลูกค้าจะเป็นคนกำหนดแบบหรือลวดลายที่ต้องการเอง และมีทั้งการเขียนลาย-เพนท์ลายเฉพาะบางส่วนบนตัวอูคูเลเล่ กับอีกกลุ่มคือลูกค้าที่ต้องการลงลวดลายทั้งตัว โดยราคาของค่าบริการจะขึ้นอยู่กับความยากง่าย และขนาดของชิ้นงาน
ลวด ลายที่เป็นที่นิยมนั้น ชลทิพย์บอกว่า หลากหลายมาก มีทั้งที่เป็นงานลายเส้น งานกราฟิก ลายการ์ตูน ดอกไม้ และก็มีลูกค้าที่ต้องการให้ช่วยออกแบบขึ้นมาใหม่ โดยเป็นลวดลายหรือรูปแบบที่ไม่ซ้ำกับใคร เพราะลูกค้ามักจะต้องการความเป็นเอกลักษณ์ ซึ่งนอกจากอูคูเลเล่แล้ว เครื่องดนตรี อื่น ๆ ก็มีลูกค้านำมาให้เพนท์ลายด้วย อาทิ ไวโอลิน เป็นต้น
ทุนเบื้องต้นอาชีพการเพ้นท์อูคูเลเล่นี้ ใช้ประมาณ 3,000 บาท ส่วนทุนวัตถุดิบ อยู่ที่ประมาณ 30% จากราคาค่าบริการ ซึ่งเริ่มต้นที่ 350 บาท ขึ้นไปจนถึง 1,300 บาท ต่อชิ้นงาน หรือขึ้นอยู่กับความยากง่ายและขนาดของชิ้นงาน นอกจากนี้ งบประมาณของลูกค้าก็เป็นตัวกำหนดราคาเช่นกัน
อุปกรณ์และขั้นตอนสำหรับการเพ้นท์อูคูเลเล่
อุปกรณ์ สำหรับการทำงานการเพ้นท์อูคูเลเล่นั้น เธอบอกว่า งานนี้มีเครื่องมือที่ต้องใช้ไม่มาก ประกอบด้วย ตลับหรือกระปุกผสมสีแบบมีฝาปิด, สีอะคริลิก, กระดาษทราย, พู่กัน, กระดาษกาว โดยที่ต้องมีตลับหรือกระปุกฝาปิดใส่สี เนื่องจากสีอะคริลิกที่ใช้จะแห้งเร็วมากหากสัมผัสกับอากาศ จึงต้องมีฝาปิดไว้ ส่วนกระดาษกาวนั้นไว้ใช้ปิดทับบางส่วน เพื่อป้องกันสีไปเปรอะเปื้อนในบริเวณที่ไม่ต้องการเพนท์หรือลงลวดลายขั้น ตอนการเพ้นท์อูคูเลเล่ เริ่มจากรับแบบหรือสอบถามความต้องการของลูกค้า ในเรื่องของลวดลาย สีสัน และตำแหน่งที่ต้องการให้เพนท์บนตัวอูคูเลเล่ เมื่อรับทราบความต้องการของลูกค้าแล้วก็จะทำการร่างแบบ โดยที่ร้านของเธอจะใช้วิธีการออกแบบลวดลายในโปรแกรมโฟโต้ช็อป (Photoshop) และส่งให้ลูกค้าตัดสินใจก่อนการลงสีจริงบนอูคูเลเล่
เมื่อลูกค้าเลือก แบบและตำแหน่งที่ต้องการให้เพนท์ได้แล้ว ก็จะเริ่มทำการปลดสายอูคูเลเล่ จากนั้นจึงร่างแบบหรือลวดลายที่ต้องการด้วยดินสอบนตัวอูคูเลเล่ แล้วจึงทำการลงสีอะคริลิกตามที่ได้ร่างหรือออกแบบไว้ ลงสีเสร็จปล่อยทิ้งไว้ให้แห้ง ตรวจดูความเรียบร้อยเพื่อแก้ไข จากนั้นทำการประกอบสายคืนกลับ ทำความสะอาด และเตรียมส่งให้ลูกค้า เป็นอันเสร็จขั้นตอนการทำงานบริการ “เพนท์อูคูเลเล่”
“ขั้น ตอนการเพ้นท์อูคูเลเล่มีไม่มาก แต่สิ่งสำคัญคือการดูแลและระมัดระวังของของลูกค้า เพราะบางตัวก็มีราคามาก การลงสีจึงต้องระมัดระวัง อีกทั้งควรตกลงสรุปแบบกับลูกค้าให้ชัดเจน เพราะเมื่อลงสีไปแล้วการแก้ไขหรือเพิ่มลวดลายภายหลังจะทำได้ยาก” ชลทิพย์กล่าว
สำหรับผู้ที่ต้องการติดต่อชลทิพย์ นอกจากทางเฟซบุ๊กแล้วก็ยังติดต่อได้ที่ โทร. 08-1256-6151 ซึ่งนี่ก็ถือเป็นอีกงานบริการรับกับกระแสนิยมที่กำลังมาแรง เป็นอีกหนึ่งการ “จับกระแสแปรเป็นเงิน” เป็นช่องทางสร้างรายได้อย่างน่าสนใจ ซึ่งก็เป็นไอเดียที่น่าจะประยุกต์สร้างอาชีพกับวัสดุต่าง ๆ ได้หลากหลายเลยทีเดียว
ที่มา: เดลินิวส์, ศิริโรจน์ ศิริแพทย์/พิชยวัฒน์ ปรุงศักดิ์
ภาพ: http://blog.uncommongoods.com
ขายของได้ทุกที่ บนรถขายขายของเคลื่อนที่ ได้ทั้งของกินและเครื่องดื่ม
ตัวอย่างอาชีพค้าขายที่ไม่ง้อทำเล(รูป)ตอน 1-12
download ...http://bit.ly/2kYAKOt
ตัวอย่างอาชีพค้าขายที่ไม่ง้อทำเล(รูป)ตอน 1-12
download ...http://bit.ly/2kYAKOt
Adv