หากพูดถึงรองเท้านินจา
หลายคนอาจจินตนาการไปไกลถึงภาพยนตร์ซามูไรญี่ปุ่นที่สวมใส่รองเท้ายาวครึ่ง
แข้ง แต่ความจริงแล้วในประเทศไทย
รองเท้านินจาเป็นคำเรียกขานของชาวบ้านในจังหวัดราชบุรีที่นิยมใส่ลุยงาน
เกษตร เนื่องจากมีรูปทรงคล้ายรองเท้านินจาในภาพยนตร์
ใส่แล้วให้ความรู้สึกกระชับ สบายเท้าและปลอดภัยอีกต่างหาก
“ชัยวัฒน์-รัตตินันท์ สวัสดิวรนันท์” สองสามีภรรยามองเห็นประโยชน์ของรองเท้านินจาและได้ต่อยอดไอเดีย นำมาประยุกต์เป็นสไตล์แบบไทย ๆ เพื่อใช้ได้ทั้งในงานการเกษตร ผจญภัย ลุยป่า เรียกว่าทรีอินวัน สามารถใช้งานได้หลากหลาย นับว่าเป็นความบรรเจิดทางไอเดีย ที่สามารถสร้างสรรค์รองเท้านินจา ออกมาภายใต้ชื่อผลิต ภัณฑ์ใหม่ “ซี เอส ชู” (CS SHOES) ที่ทำรายได้ให้อักโขเลยทีเดียว
หลายปีมานี้ผลิตภัณฑ์รองเท้า “ซี เอส ชู” อยู่คู่กับชาวราชบุรีมานาน ได้รับความนิยมจากคนในพื้นที่อย่างกว้างขวาง เนื่องจากในกระบวนการผลิตนั้นเราสองคน พิถีพิถันในทุก ๆ ขั้นตอนการผลิต โดยเริ่มจากพื้นรองเท้า เน้นใช้ยางชนิดพิเศษ เพื่อเพิ่มความแข็งแรง คงทน ไม่ลื่น และป้องกันการทิ่มตำจากของมีคมต่าง ๆ ส่วนด้ายที่ใช้ตัดเย็บก็เป็นด้ายชนิดพิเศษ แข็งแรง ทนทาน ตัดเย็บให้ใส่แล้วเดินสบาย อีกทั้งไม่ต้องกังวลเรื่องหนามทิ่มตำ แม้แต่เศษไม้หรือเศษของมีคมต่าง ๆ ขณะสวมใส่รองเท้า “ซี เอส ชู” เดินบริเวณพื้นที่ขรุขระจะช่วยให้ผู้สวมใส่เกิดความคล่องตัว เพราะลักษณะของเท้าจะโน้มไปกับพื้นและไม่เกิดการกดทับ ทำให้ไม่รู้สึกเจ็บหรืออึดอัดเวลาที่ใส่รองเท้า “ซี เอส ชู” ของเรา
“ผลิตภัณฑ์ของเราถือเป็นการเปิดตลาดใหม่ที่ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี เพราะเป็นความแปลกใหม่ สินค้าไม่ซ้ำใคร ใช่ว่าจะมีขายทุกที่ เราต้องการทำให้แบรนด์นี้อยู่คู่จังหวัดราชบุรี ฉะนั้นสินค้าที่ทำออกมาจึงต้องตอบโจทย์การใช้งานไปพร้อม กับความทันสมัย มีแฟชั่นนิด ๆ ผสมความเท่หน่อย ๆ พอทำออกมาแล้วคนชอบขายได้ดี เราก็หายเหนื่อยเดี๋ยวนี้เราไม่ได้ขายเฉพาะในประเทศเท่านั้น แต่ยังส่งออกไปประเทศเพื่อนบ้านอย่าง ลาว มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ด้วย”
สินค้าภายใต้แบรนด์ “ซี เอส ชู” ไม่ได้ผลิตมาจากโรงงานอุตสาหกรรม ทุกขั้นตอนกระบวนการผลิตล้วนมาจากฝีมือกลุ่มชาวบ้านในพื้นที่ทั้งนั้น นี่เป็นความตั้งใจของเราตั้งแต่แรกที่คิดไว้ว่าถ้าทำให้ “ซี เอส ชู” เกิดขึ้นได้ เราก็อยากให้ชาวบ้านมีส่วนร่วมเป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจด้วย เพราะถือเป็นแบรนด์จังหวัดราชบุรีเหมือนกัน
“ยอมรับนะคะเป็นความภูมิใจ ที่ไม่เฉพาะเราที่มีรายได้ ชาวบ้านเองก็มีรายได้ไปด้วย เขาได้ทำงานในบ้านเกิด สามารถอยู่กับครอบครัว ไม่ต้องจากบ้านไปหางานทำไกล ๆ ทุกคนก็จะมีความสุข” รัตตินันท์ บอกด้วยใบหน้าเปื้อนรอยยิ้ม
เรื่องราวของ “ชัยวัฒน์-รัตตินันท์ สวัสดิวรนันท์” บอกเราว่า...การเป็นเจ้าของกิจการนั้นว่ายากแล้ว แต่การรักษาธุรกิจให้คงอยู่มันยากยิ่งกว่า ทว่าสิ่งที่สำคัญกว่านั้น ถ้าสามารถนำพาธุรกิจให้อยู่รอดได้ไปพร้อมกับคืนกำไรสู่ท้องถิ่นด้วยแล้ว ย่อมจะดีกว่ากันมาก
หากท่านอยากรู้ว่ารองเท้านินจาในรูปลักษณ์ “ซี เอส ชู” หน้าตาเป็นอย่างไร สวยงามแค่ไหน สามารถเข้ามาดูได้ที่ www.thaininja.com หรือโทรฯ สอบถาม 08-6307-4750, 08-0427-8513 (Line ID: csshoes)
‘จ๊อบแมน’
job_man28@yahoo.co.th
credit by : http://m.dailynews.co.th/Article.do?contentId=214517
“ชัยวัฒน์-รัตตินันท์ สวัสดิวรนันท์” สองสามีภรรยามองเห็นประโยชน์ของรองเท้านินจาและได้ต่อยอดไอเดีย นำมาประยุกต์เป็นสไตล์แบบไทย ๆ เพื่อใช้ได้ทั้งในงานการเกษตร ผจญภัย ลุยป่า เรียกว่าทรีอินวัน สามารถใช้งานได้หลากหลาย นับว่าเป็นความบรรเจิดทางไอเดีย ที่สามารถสร้างสรรค์รองเท้านินจา ออกมาภายใต้ชื่อผลิต ภัณฑ์ใหม่ “ซี เอส ชู” (CS SHOES) ที่ทำรายได้ให้อักโขเลยทีเดียว
หลายปีมานี้ผลิตภัณฑ์รองเท้า “ซี เอส ชู” อยู่คู่กับชาวราชบุรีมานาน ได้รับความนิยมจากคนในพื้นที่อย่างกว้างขวาง เนื่องจากในกระบวนการผลิตนั้นเราสองคน พิถีพิถันในทุก ๆ ขั้นตอนการผลิต โดยเริ่มจากพื้นรองเท้า เน้นใช้ยางชนิดพิเศษ เพื่อเพิ่มความแข็งแรง คงทน ไม่ลื่น และป้องกันการทิ่มตำจากของมีคมต่าง ๆ ส่วนด้ายที่ใช้ตัดเย็บก็เป็นด้ายชนิดพิเศษ แข็งแรง ทนทาน ตัดเย็บให้ใส่แล้วเดินสบาย อีกทั้งไม่ต้องกังวลเรื่องหนามทิ่มตำ แม้แต่เศษไม้หรือเศษของมีคมต่าง ๆ ขณะสวมใส่รองเท้า “ซี เอส ชู” เดินบริเวณพื้นที่ขรุขระจะช่วยให้ผู้สวมใส่เกิดความคล่องตัว เพราะลักษณะของเท้าจะโน้มไปกับพื้นและไม่เกิดการกดทับ ทำให้ไม่รู้สึกเจ็บหรืออึดอัดเวลาที่ใส่รองเท้า “ซี เอส ชู” ของเรา
“ผลิตภัณฑ์ของเราถือเป็นการเปิดตลาดใหม่ที่ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี เพราะเป็นความแปลกใหม่ สินค้าไม่ซ้ำใคร ใช่ว่าจะมีขายทุกที่ เราต้องการทำให้แบรนด์นี้อยู่คู่จังหวัดราชบุรี ฉะนั้นสินค้าที่ทำออกมาจึงต้องตอบโจทย์การใช้งานไปพร้อม กับความทันสมัย มีแฟชั่นนิด ๆ ผสมความเท่หน่อย ๆ พอทำออกมาแล้วคนชอบขายได้ดี เราก็หายเหนื่อยเดี๋ยวนี้เราไม่ได้ขายเฉพาะในประเทศเท่านั้น แต่ยังส่งออกไปประเทศเพื่อนบ้านอย่าง ลาว มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ด้วย”
สินค้าภายใต้แบรนด์ “ซี เอส ชู” ไม่ได้ผลิตมาจากโรงงานอุตสาหกรรม ทุกขั้นตอนกระบวนการผลิตล้วนมาจากฝีมือกลุ่มชาวบ้านในพื้นที่ทั้งนั้น นี่เป็นความตั้งใจของเราตั้งแต่แรกที่คิดไว้ว่าถ้าทำให้ “ซี เอส ชู” เกิดขึ้นได้ เราก็อยากให้ชาวบ้านมีส่วนร่วมเป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจด้วย เพราะถือเป็นแบรนด์จังหวัดราชบุรีเหมือนกัน
“ยอมรับนะคะเป็นความภูมิใจ ที่ไม่เฉพาะเราที่มีรายได้ ชาวบ้านเองก็มีรายได้ไปด้วย เขาได้ทำงานในบ้านเกิด สามารถอยู่กับครอบครัว ไม่ต้องจากบ้านไปหางานทำไกล ๆ ทุกคนก็จะมีความสุข” รัตตินันท์ บอกด้วยใบหน้าเปื้อนรอยยิ้ม
เรื่องราวของ “ชัยวัฒน์-รัตตินันท์ สวัสดิวรนันท์” บอกเราว่า...การเป็นเจ้าของกิจการนั้นว่ายากแล้ว แต่การรักษาธุรกิจให้คงอยู่มันยากยิ่งกว่า ทว่าสิ่งที่สำคัญกว่านั้น ถ้าสามารถนำพาธุรกิจให้อยู่รอดได้ไปพร้อมกับคืนกำไรสู่ท้องถิ่นด้วยแล้ว ย่อมจะดีกว่ากันมาก
หากท่านอยากรู้ว่ารองเท้านินจาในรูปลักษณ์ “ซี เอส ชู” หน้าตาเป็นอย่างไร สวยงามแค่ไหน สามารถเข้ามาดูได้ที่ www.thaininja.com หรือโทรฯ สอบถาม 08-6307-4750, 08-0427-8513 (Line ID: csshoes)
‘จ๊อบแมน’
job_man28@yahoo.co.th
credit by : http://m.dailynews.co.th/Article.do?contentId=214517
ขายของได้ทุกที่ บนรถขายขายของเคลื่อนที่ ได้ทั้งของกินและเครื่องดื่ม
ตัวอย่างอาชีพค้าขายที่ไม่ง้อทำเล(รูป)ตอน 1-12
download ...http://bit.ly/2kYAKOt
ตัวอย่างอาชีพค้าขายที่ไม่ง้อทำเล(รูป)ตอน 1-12
download ...http://bit.ly/2kYAKOt
Adv