การผลิตกระเป๋าหนังแท้นี้เป็นการสร้างอาชีพในชุมชนจักรสุภา ที่ส่วนมากคนในชุมชนจะทำงานโรงงาน และช่วงที่เศรษฐกิจไม่ดีก็จะตกงานเสียส่วนมาก ดังนั้น จึงมีการรวมกลุ่มขึ้นมา ทำอาชีพเย็บกระเป๋าจากหนังแท้
การผลิตสินค้าให้สามารถขายได้ในราคาไม่แพง ได้รับความนิยมเพราะมีแบบเฉพาะ หรือเอกลักษณ์ของตนเอง และยังสามารถตามแฟชั่นได้ นอกจากความสามารถในการออกแบบแล้ว การใช้วัสดุหรือวัตถุดิบที่มีคุณภาพอย่างมีประสิทธิภาพก็เป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งทีม ช่องทางทำกิน ได้พบตัวอย่างหรือต้นแบบของหลักคิดดังกล่าว และนำมาเล่าสู่กันฟัง กับสินค้า กระเป๋าจากเศษหนังปทุมทิพย์ เอี่ยมสะอาด ประธานกลุ่มอาชีพผลิตกระเป๋าหนังแท้-ชุมชนจักรสุภา อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี เล่าว่า การผลิตกระเป๋าหนังแท้นี้เป็นการสร้างอาชีพในชุมชนจักรสุภา ที่ส่วนมากคนในชุมชนจะทำงานโรงงาน และช่วงที่เศรษฐกิจไม่ดีก็จะตกงานเสียส่วนมาก ดังนั้น จึงมีการรวมกลุ่มขึ้นมา โดยมีแกนนำคือ คุณป้าวิมล เดชะบุญ ประธานกลุ่มฯ คนเดิม ซึ่งทำอาชีพเย็บกระเป๋าจากหนังแท้
ด้วยความที่จะต้องการขายกระเป๋าในราคาไม่แพง พร้อม ๆ ไปกับการมีลวดลายการออกแบบเป็นของตนเอง จึงใช้เศษหนังแท้แทนหนังที่เป็นแผ่นใหญ่ ๆ เพื่อเป็นการประหยัดต้นทุน โดยมีเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนจังหวัด เจ้าหน้าที่อุตสาหกรรมจังหวัด เข้ามาช่วยอบรม รวมไปถึงช่วยด้านการตลาดด้วย เพราะส่วนมากจะขายสินค้าตามงานแสดงสินค้าต่าง ๆ ซึ่งส่วนราชการจะเป็นฝ่ายจัดหาให้ โดยกระเป๋าที่ทำนั้นมีหลายขนาด หลายแบบ และหลายราคา ตั้งแต่ 29-2,500 บาท แต่แบบที่ขายดีคือที่ราคาเฉลี่ย 29-59 บาท ด้วยราคาที่ไม่สูงจึงเป็นสินค้าที่ขายได้เรื่อย ๆ เหมาะทั้งกับการซื้อใช้เอง หรือเป็นของฝากได้ทุกเทศกาล จึงเป็นที่นิยม ขายได้เรื่อย ๆ
สำหรับการลงทุน-การจะทำอาชีพนี้ ปทุมทิพย์บอกว่า อย่างน้อยต้องพอมีฝีมือหรือทักษะทางช่างอยู่บ้าง เพราะอุปกรณ์ที่ใช้จะเป็นอุปกรณ์งานช่างต่าง ๆ รวมไปถึงจักรอุตสาหกรรมด้วย
ส่วนวัสดุผลิตกระเป๋านั้น หลัก ๆ ที่ใช้ ได้แก่ เศษหนังแท้ ซึ่งเป็นหนังวัวซื้อมาจากโรงงานผลิตกระเป๋าหนังย่านนวนคร ในราคา กก.ละ 35-150 บาท (ขึ้นกับขนาด), แผ่นโฟมทำพื้นกระเป๋าสีดำ ราคาแผ่นละ 28 บาท
วิธีทำ
เริ่มที่วาดแบบกระเป๋าลงบนโฟมซึ่งแบบกระเป๋า คล้าย ๆ แบบเสื้อผ้านั่นเอง จากนั้นทากาวลงบนแผ่นโฟมบาง ๆ แล้วค่อย ๆ วางเศษผ้าลงบนโฟม ซึ่งการวางเศษผ้าลงบนโฟมเป็นศิลปะอย่างหนึ่ง โดยมีหลักว่าจะต้องเรียงเศษผ้าในแนวยาว และจะต้องใช้ประโยชน์จากเศษผ้าให้มากที่สุด ตัดทิ้งให้น้อยที่สุดดังนั้น แม้ว่าแบบกระเป๋าจะเป็นแบบเดียวกัน แต่ลายกระเป๋าแต่ละใบก็จะไม่เหมือนกัน เพราะตกแต่งขึ้นมาด้วยเศษผ้าแต่ละชิ้น-แต่ละสีที่ไม่เหมือนกันนั่นเอง
เมื่อทำลายบนกระเป๋าได้เรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อมาคือ การแซกกระเป๋า ซึ่งขั้นตอนนี้จะต้องใช้จักรอุตสาหกรรมเพื่อเย็บริมขอบเศษผ้าให้เป็นลายดู สวยงาม และเป็นระเบียบเรียบร้อย โดยด้ายที่ใช้คือสีดำและสีน้ำตาลเท่านั้น รวมไปถึงขั้นตอนต่อไปคือ การเย็บผ้าซับใน, เจาะช่องซิป, ติดกระดุม, ใส่พวงกุญแจ และประกอบเป็นตัวกระเป๋า ซึ่งจะต้องใช้จักรอุตสาหกรรมอีกครั้งหนึ่ง
หลังจากประกอบตัวกระเป๋าแล้ว ก็ตรวจสอบความเรียบร้อยอีก ครั้งว่าจะต้องแก้ไขรายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ อะไรอีกหรือไม่ ถ้าไม่มีปัญหา ขั้นตอนสุดท้ายคือ ขัดน้ำยาเพื่อเคลือบเงากระเป๋า เท่านี้ก็เป็นอันเรียบร้อย
ปทุมทิพย์บอกว่า เศษหนัง 2.5 กก. จะทำกระเป๋าใบใหญ่ได้ 1 ใบ ถ้าเป็นกระเป๋าใบเล็ก เศษหนัง 1 กก.จะทำได้ประมาณ 15 ใบ ส่วนแผ่นโฟม 1 แผ่นทำกระเป๋าใบใหญ่ได้ 2 ใบ ทำกระเป๋าใบเล็กได้ราว 25 ใบ
ทั้งนี้ สำหรับเงินลงทุนในอาชีพนี้นั้น ถ้าทำเป็นกลุ่มใหญ่ในเบื้องต้นจะใช้ทุนอุปกรณ์ประมาณ 250,000 บาท ซึ่งเป็นต้นทุนสำหรับอุปกรณ์เครื่องมือช่าง และจักรอุตสาหกรรม โดยเป็นการลงทุนครั้งแรกและครั้งเดียว ใช้ได้ไปตลอด ส่วนจะคืนทุนเร็วหรือช้านั้นขึ้นอยู่กับปริมาณยอดขาย
ขณะที่เรื่องกำไรหลักหักค่าใช้จ่ายของกระเป๋าต่อใบนั้น ปทุมทิพย์บอกว่า อยู่ที่ประมาณ 40% จากราคาขาย ซึ่งก็นับว่าเป็นรายได้ที่ดี และเป็นอีกหนึ่ง ช่องทางทำกิน ที่น่าสนใจทีเดียว
ใครสนใจ กระเป๋าจากเศษหนัง ต้องการติดต่อกับ ปทุมทิพย์ เอี่ยมสะอาด ประธานกลุ่มอาชีพผลิตกระเป๋าหนังแท้ ก็ติดต่อได้ที่ 34/51 ชุมชนจักรสุภา หมู่ 2 ต.ลำผักกูด อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี โทร. 0-2957-0237, 0-2957-0007 และ 08-1485-5812.
ที่มา : เดลินิวส์
ขายของได้ทุกที่ บนรถขายขายของเคลื่อนที่ ได้ทั้งของกินและเครื่องดื่ม
ตัวอย่างอาชีพค้าขายที่ไม่ง้อทำเล(รูป)ตอน 1-12
download ...http://bit.ly/2kYAKOt
ตัวอย่างอาชีพค้าขายที่ไม่ง้อทำเล(รูป)ตอน 1-12
download ...http://bit.ly/2kYAKOt
Adv