หลังจากมีข่าวเจ้าหน้าที่ตำรวจรวบแก๊งไฮเทคโจรกรรมเงินทางอินเทอร์เน็ต
โดยล้วงข้อมูลจากสลิปตู้เอทีเอ็มที่เราชอบทิ้ง ๆ ขว้าง ๆ
กันหลังจากกดเงินแล้ว
ซึ่งถือเป็นความพยายามอย่างยิ่งยวดของโจรสมัยนี้ที่มีการพัฒนาความร้ายกาจ
มากขึ้นเรื่อย ๆ
แต่ถึงกระนั้นก็ยังไม่รอดพ้นเงื้อมมือของเจ้าหน้าที่ตำรวจไทยไปได้!!
พล.ต.ต.สุทธิพงษ์ วงศ์ปิ่น ผบก.สส.ภ.7 และ พ.ต.ท.สำราญ กลั่นมา รอง ผกก.สส.1 บก.สส.ภ.7 ร่วมกันให้ข้อมูลว่า หากย้อนกลับไปดูในช่วงแรก ๆ รูปแบบการโจรกรรมเงินทางอินเทอร์เน็ต เริ่มมาจากการให้บริการธนาคารอิเล็กทรอนิกส์หรืออีแบงกิ้ง (e-banking) ของธนาคารต่าง ๆ เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายให้ลูกค้า ซึ่งการให้บริการการทำธุรกรรมทางการเงินต่าง ๆ ผ่านอุปกรณ์หรือระบบอิเล็กทรอนิกส์ เช่น โทรศัพท์มือถือหรือในอินเทอร์เน็ตนี้ในส่วนของอีแบงกิ้ง สามารถรวมบัญชีของผู้ใช้บริการได้ ซึ่งผู้เปิดบัญชีคนเดียวกันถึงจะมีบัญชีต่างสาขาแต่เป็นธนาคารเดียวกันก็ สามารถรวมกันได้ แต่อาจจะมีเงื่อนไขให้ส่งโค้ดผ่านทางโทรศัพท์มือถือหรือทางอีเมล หรือบางธนาคารก็ให้ไปรับโค้ดที่ธนาคารเลยเพื่อเป็นการป้องกัน
ต่อมารูปแบบมีการพัฒนามากขึ้น ผู้ใช้บริการสามารถรับข้อมูลผ่านทางออน ไลน์ได้ จึงเป็นช่องโหว่ให้กลุ่มคนร้ายก่อการโจรกรรมขึ้น ซึ่งในช่วงแรกกลุ่มของคนร้ายจะใช้วิธีเอาบัญชีธนาคารเลข 10 หลักของคนรู้จักที่ทำธุรกรรมทางการเงินร่วมกัน ที่มีการโอนถ่ายเงิน ไม่ว่าจะเป็นการซื้อขายรถหรือซื้อขายของต่าง ๆ ซึ่งในอดีตการจะหาหมายเลขบัญชีค่อนข้างยาก แต่ปัจจุบันไม่ต้องเอาหมายเลขบัญชีคนรู้จักแล้ว เพราะตอนนี้มีการพัฒนาจากการเก็บสลิปที่ถูกทิ้งเกลื่อนตามตู้เอทีเอ็ม
ปกติแล้วเลขบัญชีธนาคารมี 10 หลัก แต่ในสลิปบางธนาคารจะมีการปิดบังไว้ 3-4 หลักหน้าหรือ 3-4 หลักหลัง ซึ่งคนร้ายเองก็มีการพัฒนาศึกษาจนทราบว่าเลข 3 หลักหน้าเกี่ยวกับสาขาธนาคาร ส่วนหลักที่ 4 เกี่ยวกับบัญชีออมทรัพย์หรือกระแสรายวัน แต่ในบรรดาตัวเลข 6 หลักที่โชว์อยู่ในสลิปเป็นตัวเลขตายตัวอยู่แล้วว่าเป็นหมายเลขบัญชีธนาคาร การหาเลขที่เหลือแค่ 001-009 นั้นสามารถหาในอินเทอร์เน็ตได้ และเมื่อได้เลขที่บัญชีแล้วคนร้ายก็จะไปโอนเงินหลอกเพื่อให้ได้ชื่อของเจ้า ของบัญชีที่แท้จริง!
เมื่อได้มาแล้วก็นำมาปลอมเป็นตัวเจ้าของบัญชีเพื่อที่จะไปเปิดบัญชีใหม่ แต่เป็นข้อมูลเก่าของเจ้าของบัญชีเดิม จากนั้นปลอมเป็นบัตรข้าราชการและตัดรูปหน้าคนร้ายเองใส่ลงไปในบัตร ส่วนข้อมูลบัตรเป็นชื่อของเจ้าของบัญชีเดิมพร้อมกับใส่ยศและตำแหน่งให้น่า เชื่อถือ จากนั้นก็นำไปเปิดบัญชีธนาคารใหม่ เมื่อเปิดบัญชีธนาคารได้แล้วก็สมัครบริการอีแบงกิ้ง รวมทั้งเปิดใช้บัตรเอทีเอ็ม ซึ่งการสมัครอีแบงกิ้งต้องโทรฯ ไปเปิดที่ศูนย์ของธนาคาร โดยจะมีการถามข้อมูลเล็ก ๆ น้อย ๆ เกี่ยวกับเลขบัตรประชาชน 13 หลัก วันเดือนปีเกิด คนร้ายสามารถตอบได้หมด เพราะมีข้อมูลตรงนี้อยู่แล้ว จากนั้นเข้าอินเทอร์เน็ตออนไลน์เชื่อมบัญชีได้เลย
การสืบหาตัวคนร้ายเริ่มจากเมื่อประมาณต้นปี 2556 มีผู้เสียหายอาศัยอยู่ที่หาดใหญ่ถูกคนร้ายโจรกรรมเงินในบัญชีไปประมาณ 500,000 บาท หลังจากมีการตรวจเช็กข้อมูลพบว่าคนร้ายมีการกดเงินจากตู้เอทีเอ็มในพื้นที่ จังหวัดนครปฐม จากนั้นได้เกิดเหตุซํ้า ๆ ลักษณะนี้ขึ้นอีก ทำให้มีผู้เสียหายเกือบทุกธนาคารเพิ่มขึ้นในจังหวัดนครปฐมและพื้นที่ใกล้ เคียงในปริมณฑล จึงเชื่อว่ากลุ่มคนร้ายมีศูนย์กลางอยู่ในจังหวัดนครปฐม และมีการสืบสวนติดตามจนทราบว่าบางครั้งคนร้ายจะไม่ใช้วิธีถอนเงินสดจากบัญชี ธนาคารโดยตรง แต่จะใช้วิธีถ่ายโอนเงิน เช่น โอนจากบัญชีผู้เสียหายเข้าบัญชีที่ปลอมมาแล้วและมีการถ่ายโอนต่อไปยังบัญชี ที่ 3 ซึ่งบัญชีที่ 3 ส่วนมากจะเป็นข้อมูลที่แท้จริง ทำให้เราทราบกลุ่มและใบหน้าคนร้าย และได้ข้อมูลจากการตรวจสอบภาพวงจรปิดที่คนร้ายไปแสดงเอกสารปลอมให้เจ้า หน้าที่ธนาคาร รวมทั้งภาพถ่ายระหว่างนำรถหรือยานพาหนะที่ใช้ก่อเหตุเข้าไปจอดที่ลานจอดรถ ของธนาคารด้วย
จากข้อมูลต่าง ๆ ที่สามารถรวบรวมได้จนนำไปสู่การจับกุมตัวคนร้าย และจากการสอบสวนคนร้ายทำให้ทราบว่าหลังจากคนร้ายเลือกสลิปที่มียอดบัญชีเงิน ที่เหลือจำนวนมาก ๆ แล้วจะมีการเดาหมายเลขบัญชีและโอนเงินหลอกให้ได้ชื่อและนามสกุลจริง คือเมื่อได้ชื่อแล้วก็กดยกเลิกไม่โอนเงิน บางครั้งได้ชื่อมาแล้วก็ไปเสิร์ชหาชื่อในอินเทอร์เน็ต ทำให้ทราบว่าเจ้าของบัญชีมีตัวตนอย่างไร อาจจะมีเฟซบุ๊ก ที่ระบุวันเดือนปีเกิด ซึ่งเป็นข้อมูลจริง ๆ แต่ถ้าไม่ได้ตรงนี้ก็ไปขอคัดสำเนาที่ทะเบียนราษฎร โดยการปลอมบัตรตัวเองเป็นข้าราชการเพื่อขอคัดบัตร
เมื่อทางอำเภอตรวจดูว่าเป็นข้าราช การซึ่งน่าเชื่อถือจึงอนุญาตให้คัดเอกสารไป หรือบางครั้งคนร้ายก็ใส่ชื่อบุคคลที่จะไปเปิดบัญชี เมื่อได้ข้อมูลชื่อ เลขที่บัตรประชาชน 13 หลัก ที่อยู่ ชื่อพ่อแม่ ซึ่งเป็นข้อมูลหลักในการทำธุรกรรมทางการเงินที่ทางธนาคารจะสอบถามแล้ว ยังเอาไว้ใช้เวลาที่อยากทราบรายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูลของบัญชีของผู้เสีย หายก็สามารถโทรฯ ไปสอบถามได้ที่คอลเซ็นเตอร์ของธนาคาร เช่น ยอดเงินในบัญชีและการสมัคร อีแบงกิ้ง เมื่อคนร้ายสอบถามเป็นที่แน่นอนแล้วว่าผู้เสียหายมียอดเงินถึง 100,000 ขึ้นไป หรือบางครั้งจะทราบตั้งแต่เห็นในสลิปแล้ว จากนั้นคนร้ายก็จะไปเปิดบัญชีใหม่ สมัครทำบัตรเอทีเอ็ม และสมัคร อีแบงกิ้งทันที แต่บางธนาคารก็ให้นำเอทีเอ็มไปสมัครที่ตู้เอทีเอ็ม มีการส่งโค้ด และแจ้งหมายเลขโทรศัพท์ เมื่อถึงขั้นตอนนี้ก็ไม่ยากแล้วสามารถเชื่อมบัญชีเข้าด้วยและมีการถ่ายโอน เงินของผู้เสียหายไปอย่างง่ายดาย
ขณะนี้เชื่อว่ามีผู้เสียหายอีกเยอะ ที่ยังไม่ทราบว่าเงินในบัญชีตัวเองหายไป เพราะล่าสุดเคสที่จับได้คนร้ายสารภาพว่าทำไปแล้ว 4 เคส และยังมีที่สอบสวนอยู่อีก เช่น มีการตกลงกันไม่ได้ระหว่างผู้เสียหายกับทางธนาคาร ซึ่งทางตำรวจเองก็ยังไม่มีการพูดคุยกันในเรื่องการป้องกันของธนาคาร จึงอยากแนะนำว่าให้ทางธนาคารมีการเข้มงวดในเรื่องของการเปิดบัญชี เพื่อเป็นการตัดตอนการโจรกรรมเงินของลูกค้า เพราะจากคำสารภาพทุกอย่างที่คนร้ายทำมาก็เพื่อต้องการไปเปิดบัญชีเพียงอย่าง เดียว รวมทั้งการปล่อยข้อมูลทางคอลเซ็นเตอร์ก็ต้องปล่อยด้วยความรอบคอบ
สำหรับประชาชนทั่วไปเวลาไปกดเงินที่ตู้เอทีเอ็ม ทางธนาคารจะมีคำถามว่าต้องการรับสลิปหรือไม่ ถ้าไม่จำเป็นก็ไม่ต้องกดรับเพื่อพิมพ์ออกมา หรือถ้ามีความจำเป็นที่ต้องใช้สลิปเมื่อพิมพ์ออกมาแล้วควรเก็บไว้กับตัวแล้ว ไปทำลายทิ้งที่บ้านหรือที่อื่นที่ห่างไกลจากตู้เอทีเอ็ม โดยเฉพาะคนที่มียอดเงินเหลือจำนวนมาก ๆ ควรจะเก็บไว้ให้ดีที่สุดไม่ควรทิ้ง ๆ ขว้าง ๆ เพราะบางครั้งเราไม่ทราบว่าคนร้ายจะสามารถ นำไปปลอมแปลงเอกสารเปิดบัญชีและโจรกรรมเงินของเราไปได้ และยังมีอีกข้อมูลหนึ่งที่เพิ่งทราบเพราะคนร้ายยอมเปิดปากบอกว่ามีการเสิร์ ชหาข้อมูลส่วนตัวของผู้เสียหายทางอินเทอร์เน็ต และนำไปปลอมแปลงเอกสารได้ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลหรือรูปถ่าย การปลอมแปลงบัตรก็เอารูปจากในอินเทอร์เน็ตมาตัดต่อโดยใช้โฟโต้ช็อป เช่น พรินต์รูปผู้เสียหายมาตัดรูปหน้าและใส่ในบัตร จึงควรระมัดระวังด้วยในการโพสต์ข้อมูลส่วนตัวในเว็บต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเฟซบุ๊ก อินสตาแกรม เพื่อความปลอดภัยของตัวเองและทรัพย์สิน
นอกจากนี้คนร้ายยังรับสารภาพด้วยว่า 4 เคสที่ทำมาได้เงินมาประมาณ 1 ล้านกว่าบาท มีการแบ่งเงินและแยกย้ายกันไปใช้จ่ายด้วยการเล่นการพนัน เที่ยวเตร่จนเงินหมดไปอย่างรวดเร็ว โดยแต่ละเคสที่ทำมาใช้เวลาไม่กี่วัน บางเคสเจ้าของไม่เคยสมัครอีแบงกิ้ง เลยยิ่งง่ายมาก เพราะไม่มีการส่งเอสเอ็มเอส ไปบอกตามหมายเลขโทรศัพท์ แต่ถ้ามีก็สามารถทำได้ คือแจ้งยกเลิกเปลี่ยนเบอร์โทรศัพท์ใหม่ แค่นี้เจ้าของเดิมก็ไม่ทราบแล้ว
ดังนั้นหลังจากนี้ไปเราควรหมั่นตรวจเช็กข่าวสารถึงพัฒนาการของโจรเพื่อ ป้องกันทรัพย์สินของตัวเองไม่ให้ถูกขโมยไปใช้ได้ง่าย ๆ และตรวจสอบยอดเงินในบัญชีของตัวเองด้วยว่าสูญหายไปหรือไม่ ถ้าพบว่าสูญหายไปต้องรีบไปแจ้งความโรงพักในพื้นที่ที่ตัวเองอยู่ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ตำรวจประสานงานกันในการจับกุมคนร้าย ที่สำคัญไม่ควรทิ้ง ๆ ขว้าง ๆ สลิปจากตู้เอทีเอ็มเพราะมันจะกลายเป็นอีกช่องทางหนึ่งของคนร้ายที่จะนำไปสู่ การโจรกรรมเงินในบัญชีของเราได้.
...................................................................................................
ธนาคารวางมาตรการลดเลขบัญชีในสลิปเพื่อความปลอดภัย
พงษ์สิทธิ์ ชัยฉัตรพรสุข ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ สายบริหารการป้องกันการทุจริต ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า จากกรณีนี้พบว่าขั้นตอนการทำค่อนข้างยุ่งยาก แต่คนร้ายมีความพยายามหาช่องทางเป็นอย่างมาก เพราะทางธนาคารมีการอุดช่องโหว่ไว้หมดแล้ว แต่ก็ต้องมีมาตรการเพิ่มขึ้นหลังจากเกิดการโจรกรรมดังกล่าวขึ้นแล้ว คือในส่วนแรกเป็นส่วนของสลิป ที่คนร้ายรับสารภาพว่าเก็บสลิปไปทดลองเดาหมายเลขบัญชีดู ซึ่งทางธนาคารใส่ข้อมูลไป 7 ตัวเพื่อให้ลูกค้าทราบว่าเป็นหมายเลขบัญชีของตนเอง แต่ที่เหลือคนร้ายก็ไปเดาเอาว่า 3 ตัวแรกเป็นเลขของสาขา เราจึงต้องมีการลดข้อมูลในสลิปลง ไม่ว่าจะเป็นการถอนเงิน โอนเงิน เหลือเลข 4 ตัว ถึงแม้ทางธนาคารจะลดข้อมูลในส่วนนี้ลงก็ตาม ถ้าคนร้ายมีความจงใจจะพยายามก็จะเดาตัวเลขได้อยู่ดี พอได้ข้อมูลหมายเลขบัญชีแล้วก็จะไปหาข้อมูลอื่น ๆ ของเจ้าของบัญชี ซึ่งถือว่าคนร้ายมีความพยายามมาก จึงต้องมีมาตรการในส่วนที่ 2 คือ การสมัครเปิดบัญชีใหม่ ซึ่งการเปิดบัญชีต่าง ๆ หากเป็นข้าราชการจะใช้บัตรข้าราชการกับทะเบียนบ้าน ไม่ได้ใช้บัตรประชาชน หากจะมีการปรับการเปิดบัญชีนี้เชื่อว่าจะกระทบข้าราชการจำนวนเป็นแสนคน ซึ่งหากต้องใช้บัตรประชาชนก็เชื่อว่าคนร้ายสามารถปลอมแปลงได้อีกเช่นกัน ขณะนี้เราจึงกำลังหาวิธีการตรวจสอบลูกค้าให้ได้แม่นยำที่สุดอยู่
สำหรับคำแนะนำในเรื่องของสลิปนั้นทางธนาคารไม่เคยสื่อสารกับประชาชนเลยว่า สลิปมีความเสี่ยง เนื่องจากไม่เคยคิดว่าคนร้ายจะพยายามทำแบบนี้ จึงอยากฝากไปถึงประชาชนที่ใช้ตู้เอทีเอ็มว่า ระบบในตู้เอทีเอ็มมีการระบุอยู่แล้วว่าต้องการรับหรือไม่รับสลิป หากท่านที่ต้องการรับสลิปควรเก็บกลับไปด้วยทุกครั้ง อย่าทิ้งไว้ที่ตู้เอทีเอ็ม โดยเฉพาะลูกค้าที่อยู่ในพื้นที่นั้น ๆ เพราะง่ายต่อการคาดเดา จึงควรระมัดระวังให้มาก.
ทีมวาไรตี้
credit by : http://www.dailynews.co.th/article/224/228907
พล.ต.ต.สุทธิพงษ์ วงศ์ปิ่น ผบก.สส.ภ.7 และ พ.ต.ท.สำราญ กลั่นมา รอง ผกก.สส.1 บก.สส.ภ.7 ร่วมกันให้ข้อมูลว่า หากย้อนกลับไปดูในช่วงแรก ๆ รูปแบบการโจรกรรมเงินทางอินเทอร์เน็ต เริ่มมาจากการให้บริการธนาคารอิเล็กทรอนิกส์หรืออีแบงกิ้ง (e-banking) ของธนาคารต่าง ๆ เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายให้ลูกค้า ซึ่งการให้บริการการทำธุรกรรมทางการเงินต่าง ๆ ผ่านอุปกรณ์หรือระบบอิเล็กทรอนิกส์ เช่น โทรศัพท์มือถือหรือในอินเทอร์เน็ตนี้ในส่วนของอีแบงกิ้ง สามารถรวมบัญชีของผู้ใช้บริการได้ ซึ่งผู้เปิดบัญชีคนเดียวกันถึงจะมีบัญชีต่างสาขาแต่เป็นธนาคารเดียวกันก็ สามารถรวมกันได้ แต่อาจจะมีเงื่อนไขให้ส่งโค้ดผ่านทางโทรศัพท์มือถือหรือทางอีเมล หรือบางธนาคารก็ให้ไปรับโค้ดที่ธนาคารเลยเพื่อเป็นการป้องกัน
ต่อมารูปแบบมีการพัฒนามากขึ้น ผู้ใช้บริการสามารถรับข้อมูลผ่านทางออน ไลน์ได้ จึงเป็นช่องโหว่ให้กลุ่มคนร้ายก่อการโจรกรรมขึ้น ซึ่งในช่วงแรกกลุ่มของคนร้ายจะใช้วิธีเอาบัญชีธนาคารเลข 10 หลักของคนรู้จักที่ทำธุรกรรมทางการเงินร่วมกัน ที่มีการโอนถ่ายเงิน ไม่ว่าจะเป็นการซื้อขายรถหรือซื้อขายของต่าง ๆ ซึ่งในอดีตการจะหาหมายเลขบัญชีค่อนข้างยาก แต่ปัจจุบันไม่ต้องเอาหมายเลขบัญชีคนรู้จักแล้ว เพราะตอนนี้มีการพัฒนาจากการเก็บสลิปที่ถูกทิ้งเกลื่อนตามตู้เอทีเอ็ม
ปกติแล้วเลขบัญชีธนาคารมี 10 หลัก แต่ในสลิปบางธนาคารจะมีการปิดบังไว้ 3-4 หลักหน้าหรือ 3-4 หลักหลัง ซึ่งคนร้ายเองก็มีการพัฒนาศึกษาจนทราบว่าเลข 3 หลักหน้าเกี่ยวกับสาขาธนาคาร ส่วนหลักที่ 4 เกี่ยวกับบัญชีออมทรัพย์หรือกระแสรายวัน แต่ในบรรดาตัวเลข 6 หลักที่โชว์อยู่ในสลิปเป็นตัวเลขตายตัวอยู่แล้วว่าเป็นหมายเลขบัญชีธนาคาร การหาเลขที่เหลือแค่ 001-009 นั้นสามารถหาในอินเทอร์เน็ตได้ และเมื่อได้เลขที่บัญชีแล้วคนร้ายก็จะไปโอนเงินหลอกเพื่อให้ได้ชื่อของเจ้า ของบัญชีที่แท้จริง!
เมื่อได้มาแล้วก็นำมาปลอมเป็นตัวเจ้าของบัญชีเพื่อที่จะไปเปิดบัญชีใหม่ แต่เป็นข้อมูลเก่าของเจ้าของบัญชีเดิม จากนั้นปลอมเป็นบัตรข้าราชการและตัดรูปหน้าคนร้ายเองใส่ลงไปในบัตร ส่วนข้อมูลบัตรเป็นชื่อของเจ้าของบัญชีเดิมพร้อมกับใส่ยศและตำแหน่งให้น่า เชื่อถือ จากนั้นก็นำไปเปิดบัญชีธนาคารใหม่ เมื่อเปิดบัญชีธนาคารได้แล้วก็สมัครบริการอีแบงกิ้ง รวมทั้งเปิดใช้บัตรเอทีเอ็ม ซึ่งการสมัครอีแบงกิ้งต้องโทรฯ ไปเปิดที่ศูนย์ของธนาคาร โดยจะมีการถามข้อมูลเล็ก ๆ น้อย ๆ เกี่ยวกับเลขบัตรประชาชน 13 หลัก วันเดือนปีเกิด คนร้ายสามารถตอบได้หมด เพราะมีข้อมูลตรงนี้อยู่แล้ว จากนั้นเข้าอินเทอร์เน็ตออนไลน์เชื่อมบัญชีได้เลย
การสืบหาตัวคนร้ายเริ่มจากเมื่อประมาณต้นปี 2556 มีผู้เสียหายอาศัยอยู่ที่หาดใหญ่ถูกคนร้ายโจรกรรมเงินในบัญชีไปประมาณ 500,000 บาท หลังจากมีการตรวจเช็กข้อมูลพบว่าคนร้ายมีการกดเงินจากตู้เอทีเอ็มในพื้นที่ จังหวัดนครปฐม จากนั้นได้เกิดเหตุซํ้า ๆ ลักษณะนี้ขึ้นอีก ทำให้มีผู้เสียหายเกือบทุกธนาคารเพิ่มขึ้นในจังหวัดนครปฐมและพื้นที่ใกล้ เคียงในปริมณฑล จึงเชื่อว่ากลุ่มคนร้ายมีศูนย์กลางอยู่ในจังหวัดนครปฐม และมีการสืบสวนติดตามจนทราบว่าบางครั้งคนร้ายจะไม่ใช้วิธีถอนเงินสดจากบัญชี ธนาคารโดยตรง แต่จะใช้วิธีถ่ายโอนเงิน เช่น โอนจากบัญชีผู้เสียหายเข้าบัญชีที่ปลอมมาแล้วและมีการถ่ายโอนต่อไปยังบัญชี ที่ 3 ซึ่งบัญชีที่ 3 ส่วนมากจะเป็นข้อมูลที่แท้จริง ทำให้เราทราบกลุ่มและใบหน้าคนร้าย และได้ข้อมูลจากการตรวจสอบภาพวงจรปิดที่คนร้ายไปแสดงเอกสารปลอมให้เจ้า หน้าที่ธนาคาร รวมทั้งภาพถ่ายระหว่างนำรถหรือยานพาหนะที่ใช้ก่อเหตุเข้าไปจอดที่ลานจอดรถ ของธนาคารด้วย
จากข้อมูลต่าง ๆ ที่สามารถรวบรวมได้จนนำไปสู่การจับกุมตัวคนร้าย และจากการสอบสวนคนร้ายทำให้ทราบว่าหลังจากคนร้ายเลือกสลิปที่มียอดบัญชีเงิน ที่เหลือจำนวนมาก ๆ แล้วจะมีการเดาหมายเลขบัญชีและโอนเงินหลอกให้ได้ชื่อและนามสกุลจริง คือเมื่อได้ชื่อแล้วก็กดยกเลิกไม่โอนเงิน บางครั้งได้ชื่อมาแล้วก็ไปเสิร์ชหาชื่อในอินเทอร์เน็ต ทำให้ทราบว่าเจ้าของบัญชีมีตัวตนอย่างไร อาจจะมีเฟซบุ๊ก ที่ระบุวันเดือนปีเกิด ซึ่งเป็นข้อมูลจริง ๆ แต่ถ้าไม่ได้ตรงนี้ก็ไปขอคัดสำเนาที่ทะเบียนราษฎร โดยการปลอมบัตรตัวเองเป็นข้าราชการเพื่อขอคัดบัตร
เมื่อทางอำเภอตรวจดูว่าเป็นข้าราช การซึ่งน่าเชื่อถือจึงอนุญาตให้คัดเอกสารไป หรือบางครั้งคนร้ายก็ใส่ชื่อบุคคลที่จะไปเปิดบัญชี เมื่อได้ข้อมูลชื่อ เลขที่บัตรประชาชน 13 หลัก ที่อยู่ ชื่อพ่อแม่ ซึ่งเป็นข้อมูลหลักในการทำธุรกรรมทางการเงินที่ทางธนาคารจะสอบถามแล้ว ยังเอาไว้ใช้เวลาที่อยากทราบรายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูลของบัญชีของผู้เสีย หายก็สามารถโทรฯ ไปสอบถามได้ที่คอลเซ็นเตอร์ของธนาคาร เช่น ยอดเงินในบัญชีและการสมัคร อีแบงกิ้ง เมื่อคนร้ายสอบถามเป็นที่แน่นอนแล้วว่าผู้เสียหายมียอดเงินถึง 100,000 ขึ้นไป หรือบางครั้งจะทราบตั้งแต่เห็นในสลิปแล้ว จากนั้นคนร้ายก็จะไปเปิดบัญชีใหม่ สมัครทำบัตรเอทีเอ็ม และสมัคร อีแบงกิ้งทันที แต่บางธนาคารก็ให้นำเอทีเอ็มไปสมัครที่ตู้เอทีเอ็ม มีการส่งโค้ด และแจ้งหมายเลขโทรศัพท์ เมื่อถึงขั้นตอนนี้ก็ไม่ยากแล้วสามารถเชื่อมบัญชีเข้าด้วยและมีการถ่ายโอน เงินของผู้เสียหายไปอย่างง่ายดาย
ขณะนี้เชื่อว่ามีผู้เสียหายอีกเยอะ ที่ยังไม่ทราบว่าเงินในบัญชีตัวเองหายไป เพราะล่าสุดเคสที่จับได้คนร้ายสารภาพว่าทำไปแล้ว 4 เคส และยังมีที่สอบสวนอยู่อีก เช่น มีการตกลงกันไม่ได้ระหว่างผู้เสียหายกับทางธนาคาร ซึ่งทางตำรวจเองก็ยังไม่มีการพูดคุยกันในเรื่องการป้องกันของธนาคาร จึงอยากแนะนำว่าให้ทางธนาคารมีการเข้มงวดในเรื่องของการเปิดบัญชี เพื่อเป็นการตัดตอนการโจรกรรมเงินของลูกค้า เพราะจากคำสารภาพทุกอย่างที่คนร้ายทำมาก็เพื่อต้องการไปเปิดบัญชีเพียงอย่าง เดียว รวมทั้งการปล่อยข้อมูลทางคอลเซ็นเตอร์ก็ต้องปล่อยด้วยความรอบคอบ
สำหรับประชาชนทั่วไปเวลาไปกดเงินที่ตู้เอทีเอ็ม ทางธนาคารจะมีคำถามว่าต้องการรับสลิปหรือไม่ ถ้าไม่จำเป็นก็ไม่ต้องกดรับเพื่อพิมพ์ออกมา หรือถ้ามีความจำเป็นที่ต้องใช้สลิปเมื่อพิมพ์ออกมาแล้วควรเก็บไว้กับตัวแล้ว ไปทำลายทิ้งที่บ้านหรือที่อื่นที่ห่างไกลจากตู้เอทีเอ็ม โดยเฉพาะคนที่มียอดเงินเหลือจำนวนมาก ๆ ควรจะเก็บไว้ให้ดีที่สุดไม่ควรทิ้ง ๆ ขว้าง ๆ เพราะบางครั้งเราไม่ทราบว่าคนร้ายจะสามารถ นำไปปลอมแปลงเอกสารเปิดบัญชีและโจรกรรมเงินของเราไปได้ และยังมีอีกข้อมูลหนึ่งที่เพิ่งทราบเพราะคนร้ายยอมเปิดปากบอกว่ามีการเสิร์ ชหาข้อมูลส่วนตัวของผู้เสียหายทางอินเทอร์เน็ต และนำไปปลอมแปลงเอกสารได้ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลหรือรูปถ่าย การปลอมแปลงบัตรก็เอารูปจากในอินเทอร์เน็ตมาตัดต่อโดยใช้โฟโต้ช็อป เช่น พรินต์รูปผู้เสียหายมาตัดรูปหน้าและใส่ในบัตร จึงควรระมัดระวังด้วยในการโพสต์ข้อมูลส่วนตัวในเว็บต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเฟซบุ๊ก อินสตาแกรม เพื่อความปลอดภัยของตัวเองและทรัพย์สิน
นอกจากนี้คนร้ายยังรับสารภาพด้วยว่า 4 เคสที่ทำมาได้เงินมาประมาณ 1 ล้านกว่าบาท มีการแบ่งเงินและแยกย้ายกันไปใช้จ่ายด้วยการเล่นการพนัน เที่ยวเตร่จนเงินหมดไปอย่างรวดเร็ว โดยแต่ละเคสที่ทำมาใช้เวลาไม่กี่วัน บางเคสเจ้าของไม่เคยสมัครอีแบงกิ้ง เลยยิ่งง่ายมาก เพราะไม่มีการส่งเอสเอ็มเอส ไปบอกตามหมายเลขโทรศัพท์ แต่ถ้ามีก็สามารถทำได้ คือแจ้งยกเลิกเปลี่ยนเบอร์โทรศัพท์ใหม่ แค่นี้เจ้าของเดิมก็ไม่ทราบแล้ว
ดังนั้นหลังจากนี้ไปเราควรหมั่นตรวจเช็กข่าวสารถึงพัฒนาการของโจรเพื่อ ป้องกันทรัพย์สินของตัวเองไม่ให้ถูกขโมยไปใช้ได้ง่าย ๆ และตรวจสอบยอดเงินในบัญชีของตัวเองด้วยว่าสูญหายไปหรือไม่ ถ้าพบว่าสูญหายไปต้องรีบไปแจ้งความโรงพักในพื้นที่ที่ตัวเองอยู่ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ตำรวจประสานงานกันในการจับกุมคนร้าย ที่สำคัญไม่ควรทิ้ง ๆ ขว้าง ๆ สลิปจากตู้เอทีเอ็มเพราะมันจะกลายเป็นอีกช่องทางหนึ่งของคนร้ายที่จะนำไปสู่ การโจรกรรมเงินในบัญชีของเราได้.
...................................................................................................
ธนาคารวางมาตรการลดเลขบัญชีในสลิปเพื่อความปลอดภัย
พงษ์สิทธิ์ ชัยฉัตรพรสุข ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ สายบริหารการป้องกันการทุจริต ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า จากกรณีนี้พบว่าขั้นตอนการทำค่อนข้างยุ่งยาก แต่คนร้ายมีความพยายามหาช่องทางเป็นอย่างมาก เพราะทางธนาคารมีการอุดช่องโหว่ไว้หมดแล้ว แต่ก็ต้องมีมาตรการเพิ่มขึ้นหลังจากเกิดการโจรกรรมดังกล่าวขึ้นแล้ว คือในส่วนแรกเป็นส่วนของสลิป ที่คนร้ายรับสารภาพว่าเก็บสลิปไปทดลองเดาหมายเลขบัญชีดู ซึ่งทางธนาคารใส่ข้อมูลไป 7 ตัวเพื่อให้ลูกค้าทราบว่าเป็นหมายเลขบัญชีของตนเอง แต่ที่เหลือคนร้ายก็ไปเดาเอาว่า 3 ตัวแรกเป็นเลขของสาขา เราจึงต้องมีการลดข้อมูลในสลิปลง ไม่ว่าจะเป็นการถอนเงิน โอนเงิน เหลือเลข 4 ตัว ถึงแม้ทางธนาคารจะลดข้อมูลในส่วนนี้ลงก็ตาม ถ้าคนร้ายมีความจงใจจะพยายามก็จะเดาตัวเลขได้อยู่ดี พอได้ข้อมูลหมายเลขบัญชีแล้วก็จะไปหาข้อมูลอื่น ๆ ของเจ้าของบัญชี ซึ่งถือว่าคนร้ายมีความพยายามมาก จึงต้องมีมาตรการในส่วนที่ 2 คือ การสมัครเปิดบัญชีใหม่ ซึ่งการเปิดบัญชีต่าง ๆ หากเป็นข้าราชการจะใช้บัตรข้าราชการกับทะเบียนบ้าน ไม่ได้ใช้บัตรประชาชน หากจะมีการปรับการเปิดบัญชีนี้เชื่อว่าจะกระทบข้าราชการจำนวนเป็นแสนคน ซึ่งหากต้องใช้บัตรประชาชนก็เชื่อว่าคนร้ายสามารถปลอมแปลงได้อีกเช่นกัน ขณะนี้เราจึงกำลังหาวิธีการตรวจสอบลูกค้าให้ได้แม่นยำที่สุดอยู่
สำหรับคำแนะนำในเรื่องของสลิปนั้นทางธนาคารไม่เคยสื่อสารกับประชาชนเลยว่า สลิปมีความเสี่ยง เนื่องจากไม่เคยคิดว่าคนร้ายจะพยายามทำแบบนี้ จึงอยากฝากไปถึงประชาชนที่ใช้ตู้เอทีเอ็มว่า ระบบในตู้เอทีเอ็มมีการระบุอยู่แล้วว่าต้องการรับหรือไม่รับสลิป หากท่านที่ต้องการรับสลิปควรเก็บกลับไปด้วยทุกครั้ง อย่าทิ้งไว้ที่ตู้เอทีเอ็ม โดยเฉพาะลูกค้าที่อยู่ในพื้นที่นั้น ๆ เพราะง่ายต่อการคาดเดา จึงควรระมัดระวังให้มาก.
ทีมวาไรตี้
credit by : http://www.dailynews.co.th/article/224/228907
ขายของได้ทุกที่ บนรถขายขายของเคลื่อนที่ ได้ทั้งของกินและเครื่องดื่ม
ตัวอย่างอาชีพค้าขายที่ไม่ง้อทำเล(รูป)ตอน 1-12
download ...http://bit.ly/2kYAKOt
ตัวอย่างอาชีพค้าขายที่ไม่ง้อทำเล(รูป)ตอน 1-12
download ...http://bit.ly/2kYAKOt
Adv