วิกฤติการณ์ท่อส่งน้ำมันรั่วกลางทะเล เมื่อเกือบ 1 เดือนที่ผ่านมา
ส่งผลกระทบทั้งในแง่ความเชื่อมั่น เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม นิเวศทางทะเล
และวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน
ถึงแม้ขณะนี้สถานการณ์จะคลี่คลายไปแล้ว แต่ก็ยังไม่มีใครยืนยันได้ว่า เหตุการณ์ครั้งนั้นจะส่งผลระยะยาวอย่างไร หรือในอนาคตจะเกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นอีกหรือไม่ และเพื่อเป็น
อีกแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) โดยวิทยาลัยนาโนเทคโนโลยีพระจอมเกล้าลาดกระบัง ได้ใช้ความรู้นาโนเทคโนโลยีธรรมชาติ ชู 3 วัสดุนาโนทางธรรมชาติ อันได้แก่ ฟางข้าว กากมะพร้าวกักน้ำมันเคลือบสารนาโน โดยวัสดุทางธรรมชาติ 2 ชนิดนี้ เมื่อดูดซับน้ำมันมาแล้ว
จะสามารถนำกลับมาใช้เป็นเชื้อเพลิงได้อีกครั้งพร้อมการค้นพบครั้งแรก ในการนำดอกของต้นธูปฤาษีมากำจัดคราบน้ำมันดิบ โดยน้ำหนักของดอกต้นธูปฤาษีประมาณ 100 กรัม สามารถกำจัดคราบน้ำมันได้มากกว่า 1 ลิตร ปัจจุบันต้นธูปฤาษีเป็นวัชพืชที่มีจำนวนมากในประเทศไทย จะขึ้นตามที่รกร้าง
ศาสตราจารย์จิติ หนูแก้ว คณบดีวิทยาลัยนาโนเทคโนโลยีพระจอมเกล้าลาดกระบัง กล่าวว่า วิธีการแก้ไขปัญหาน้ำมันรั่วในทะเลตามหลักสากลมีหลายวิธี เช่น การปล่อยให้น้ำมันสลายตัวไปเอง การกักหรือเก็บโดยใช้ทุ่น การใช้สารเคมีขจัดคราบน้ำมัน การเผา และการทำความสะอาดชายฝั่งโดยจะต้องมีการวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ เพื่อหาวิธีการที่เหมาะสมในการขจัดน้ำมัน อาทิ ชนิดของน้ำมัน ปริมาณน้ำมันที่รั่วไหล ทิศทางและความเร็วของกระแสน้ำ กระแสลม สภาพอากาศ ลักษณะทางภูมิศาสตร์และสิ่งแวดล้อม เป็นต้น ซึ่งวิธีการดังกล่าวเป็นวิธีการช่วยเหลือในวงกว้างเท่านั้น แต่สำหรับการช่วยเหลือภาคของประชาชน ดร.อภิลักษณ์ เอียดเอื้อ อาจารย์ผู้วิจัยวัชพืชเก็บน้ำมัน สจล. เสนองานวิจัยที่ช่วยในการกักเก็บน้ำมันบริเวณชายฝั่ง โดยการใช้ฟางข้าวกักน้ำมัน และกากมะพร้าวกักน้ำมัน เป็นต้น วัสดุบางอย่างเช่นฟางข้าวกักน้ำมันยังสามารถแปรรูปเป็นเชื้อเพลิงได้อีกด้วย อนึ่ง งานวิจัยอยู่บนพื้นฐานขององค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีนาโน สารนาโนรวมถึงการผลิตผ่านกระบวนการนาโน ซึ่งสารนาโนหรือกระบวนการผลิตนาโนนี้จะไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เหมือนกับสารเคมีตัวอื่น ๆ
การนำฟางข้าวหรือวัสดุประเภทกากมะพร้าว นำมาผ่านกระบวนการนาโน และเคลือบสารคาร์บอน เพื่อให้ฟางข้าวสามารถกักเก็บหรือดูดซับน้ำมันได้ดียิ่งขึ้นกว่าคุณสมบัติ ดั้งเดิมของตัวมันเอง ทั้งนี้ฟางข้าวกักน้ำมัน เมื่อดูดซับน้ำมันมาแล้ว จะสามารถนำกลับมาใช้เป็นเชื้อเพลิงได้อีกครั้ง โดยการนำฟางข้าวหรือกากมะพร้าวที่ดูดซับน้ำมันมาแล้ว ไปตากแห้งและไปเข้าเตาเผา เพื่อแปรสภาพให้คล้ายกับถ่านหุงต้ม
ส่วนดอกของต้นธูปฤาษี ในการกำจัดคราบน้ำมันดิบ ดอกธูปฤาษีปริมาณ 1 กรัม สามารถกำจัดคราบน้ำมันปริมาตร 10 มิลลิลิตรได้อย่างหมดจดและมีประสิทธิภาพสูงมาก โดยหลังจากการใช้ดอกต้นธูปฤาษีในการกำจัด พบว่าคราบน้ำมันจะจับกันเป็นก้อนสีดำและลอยอยู่เหนือน้ำ สามารถนำขึ้นมาได้ง่าย ซึ่งดอกของต้นธูปฤาษีสามารถกำจัดคราบน้ำมันได้เป็นอย่างดี โดยน้ำหนักของดอกต้นธูปฤาษีประมาณ 100 กรัม สามารถกำจัดคราบน้ำมันได้มากกว่า 1 ลิตร
อย่างไรก็ตาม ยังมีวัสดุนาโนทางธรรมชาติอีกหลายชนิด ที่มีความสามารถในการดูดซับน้ำมันได้ โดยมีหลักการเลือกวัสดุในธรรมชาติเพื่อกำจัดคราบน้ำมัน ดังนี้ 1. มีขนหรือหนามเล็ก ๆ หรือเป็นเส้นใยฝอย ทำให้มีพื้นที่ผิวมาก 2. ไม่เปียกน้ำหรือนํ้าไม่เกาะ ทำให้ดูดซับน้ำมันได้ดี 3. มีนํ้าหนักเบาทำให้ลอยนํ้าอยู่ได้เพื่อตักไปกำจัดทิ้ง โดยในปัจจุบันนาโนเทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเครื่องสำอาง เครื่องใช้ไฟฟ้า รวมถึงสินค้าอุปโภค บริโภค ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิต โดยปัจจุบันความรู้ด้านนาโนเทคโนโลยีในประเทศไทยนั้นยังไม่เป็นที่แพร่หลาย นัก
ศาสตราจารย์จิติ กล่าวว่า สจล.ตั้งเป้าในการนำนาโนเทคโนโลยีมาเผยแพร่สู่ชุมชนท้องถิ่นและเยาวชนไทย เพื่อนำนาโนเทคโนโลยีไปช่วยแก้ปัญหาในชุมชนได้อย่างสร้างสรรค์ อีกทั้งยังเป็นการผลักดันให้เยาวชนไทยสามารถนำความรู้ที่ได้ไปพัฒนาประเทศ ชาติได้ต่อไปในอนาคต
สำหรับผู้สนใจ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง โทรศัพท์ 0-2329-8400 ถึง 8411 ต่อ 285, 286.
นภาพร พานิชชาติ
napapornp@dailynews.co.th
credit by : http://www.dailynews.co.th/article/2567/226758
ถึงแม้ขณะนี้สถานการณ์จะคลี่คลายไปแล้ว แต่ก็ยังไม่มีใครยืนยันได้ว่า เหตุการณ์ครั้งนั้นจะส่งผลระยะยาวอย่างไร หรือในอนาคตจะเกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นอีกหรือไม่ และเพื่อเป็น
อีกแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) โดยวิทยาลัยนาโนเทคโนโลยีพระจอมเกล้าลาดกระบัง ได้ใช้ความรู้นาโนเทคโนโลยีธรรมชาติ ชู 3 วัสดุนาโนทางธรรมชาติ อันได้แก่ ฟางข้าว กากมะพร้าวกักน้ำมันเคลือบสารนาโน โดยวัสดุทางธรรมชาติ 2 ชนิดนี้ เมื่อดูดซับน้ำมันมาแล้ว
จะสามารถนำกลับมาใช้เป็นเชื้อเพลิงได้อีกครั้งพร้อมการค้นพบครั้งแรก ในการนำดอกของต้นธูปฤาษีมากำจัดคราบน้ำมันดิบ โดยน้ำหนักของดอกต้นธูปฤาษีประมาณ 100 กรัม สามารถกำจัดคราบน้ำมันได้มากกว่า 1 ลิตร ปัจจุบันต้นธูปฤาษีเป็นวัชพืชที่มีจำนวนมากในประเทศไทย จะขึ้นตามที่รกร้าง
ศาสตราจารย์จิติ หนูแก้ว คณบดีวิทยาลัยนาโนเทคโนโลยีพระจอมเกล้าลาดกระบัง กล่าวว่า วิธีการแก้ไขปัญหาน้ำมันรั่วในทะเลตามหลักสากลมีหลายวิธี เช่น การปล่อยให้น้ำมันสลายตัวไปเอง การกักหรือเก็บโดยใช้ทุ่น การใช้สารเคมีขจัดคราบน้ำมัน การเผา และการทำความสะอาดชายฝั่งโดยจะต้องมีการวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ เพื่อหาวิธีการที่เหมาะสมในการขจัดน้ำมัน อาทิ ชนิดของน้ำมัน ปริมาณน้ำมันที่รั่วไหล ทิศทางและความเร็วของกระแสน้ำ กระแสลม สภาพอากาศ ลักษณะทางภูมิศาสตร์และสิ่งแวดล้อม เป็นต้น ซึ่งวิธีการดังกล่าวเป็นวิธีการช่วยเหลือในวงกว้างเท่านั้น แต่สำหรับการช่วยเหลือภาคของประชาชน ดร.อภิลักษณ์ เอียดเอื้อ อาจารย์ผู้วิจัยวัชพืชเก็บน้ำมัน สจล. เสนองานวิจัยที่ช่วยในการกักเก็บน้ำมันบริเวณชายฝั่ง โดยการใช้ฟางข้าวกักน้ำมัน และกากมะพร้าวกักน้ำมัน เป็นต้น วัสดุบางอย่างเช่นฟางข้าวกักน้ำมันยังสามารถแปรรูปเป็นเชื้อเพลิงได้อีกด้วย อนึ่ง งานวิจัยอยู่บนพื้นฐานขององค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีนาโน สารนาโนรวมถึงการผลิตผ่านกระบวนการนาโน ซึ่งสารนาโนหรือกระบวนการผลิตนาโนนี้จะไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เหมือนกับสารเคมีตัวอื่น ๆ
การนำฟางข้าวหรือวัสดุประเภทกากมะพร้าว นำมาผ่านกระบวนการนาโน และเคลือบสารคาร์บอน เพื่อให้ฟางข้าวสามารถกักเก็บหรือดูดซับน้ำมันได้ดียิ่งขึ้นกว่าคุณสมบัติ ดั้งเดิมของตัวมันเอง ทั้งนี้ฟางข้าวกักน้ำมัน เมื่อดูดซับน้ำมันมาแล้ว จะสามารถนำกลับมาใช้เป็นเชื้อเพลิงได้อีกครั้ง โดยการนำฟางข้าวหรือกากมะพร้าวที่ดูดซับน้ำมันมาแล้ว ไปตากแห้งและไปเข้าเตาเผา เพื่อแปรสภาพให้คล้ายกับถ่านหุงต้ม
ส่วนดอกของต้นธูปฤาษี ในการกำจัดคราบน้ำมันดิบ ดอกธูปฤาษีปริมาณ 1 กรัม สามารถกำจัดคราบน้ำมันปริมาตร 10 มิลลิลิตรได้อย่างหมดจดและมีประสิทธิภาพสูงมาก โดยหลังจากการใช้ดอกต้นธูปฤาษีในการกำจัด พบว่าคราบน้ำมันจะจับกันเป็นก้อนสีดำและลอยอยู่เหนือน้ำ สามารถนำขึ้นมาได้ง่าย ซึ่งดอกของต้นธูปฤาษีสามารถกำจัดคราบน้ำมันได้เป็นอย่างดี โดยน้ำหนักของดอกต้นธูปฤาษีประมาณ 100 กรัม สามารถกำจัดคราบน้ำมันได้มากกว่า 1 ลิตร
อย่างไรก็ตาม ยังมีวัสดุนาโนทางธรรมชาติอีกหลายชนิด ที่มีความสามารถในการดูดซับน้ำมันได้ โดยมีหลักการเลือกวัสดุในธรรมชาติเพื่อกำจัดคราบน้ำมัน ดังนี้ 1. มีขนหรือหนามเล็ก ๆ หรือเป็นเส้นใยฝอย ทำให้มีพื้นที่ผิวมาก 2. ไม่เปียกน้ำหรือนํ้าไม่เกาะ ทำให้ดูดซับน้ำมันได้ดี 3. มีนํ้าหนักเบาทำให้ลอยนํ้าอยู่ได้เพื่อตักไปกำจัดทิ้ง โดยในปัจจุบันนาโนเทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเครื่องสำอาง เครื่องใช้ไฟฟ้า รวมถึงสินค้าอุปโภค บริโภค ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิต โดยปัจจุบันความรู้ด้านนาโนเทคโนโลยีในประเทศไทยนั้นยังไม่เป็นที่แพร่หลาย นัก
ศาสตราจารย์จิติ กล่าวว่า สจล.ตั้งเป้าในการนำนาโนเทคโนโลยีมาเผยแพร่สู่ชุมชนท้องถิ่นและเยาวชนไทย เพื่อนำนาโนเทคโนโลยีไปช่วยแก้ปัญหาในชุมชนได้อย่างสร้างสรรค์ อีกทั้งยังเป็นการผลักดันให้เยาวชนไทยสามารถนำความรู้ที่ได้ไปพัฒนาประเทศ ชาติได้ต่อไปในอนาคต
สำหรับผู้สนใจ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง โทรศัพท์ 0-2329-8400 ถึง 8411 ต่อ 285, 286.
นภาพร พานิชชาติ
napapornp@dailynews.co.th
credit by : http://www.dailynews.co.th/article/2567/226758
ขายของได้ทุกที่ บนรถขายขายของเคลื่อนที่ ได้ทั้งของกินและเครื่องดื่ม
ตัวอย่างอาชีพค้าขายที่ไม่ง้อทำเล(รูป)ตอน 1-12
download ...http://bit.ly/2kYAKOt
ตัวอย่างอาชีพค้าขายที่ไม่ง้อทำเล(รูป)ตอน 1-12
download ...http://bit.ly/2kYAKOt
Adv