ข้อดีของอาชีพทำงานประดิษฐ์คือความไม่ตายตัว
เพราะเป็นอาชีพที่คนคิดงาน-คนจัดทำสามารถพลิกแพลงต่อยอดพัฒนาลูกเล่นได้หลาก
หลาย ไม่ต้องยึดติดกับรูปแบบคงที่ บางชิ้นงานก็นำ 2 ชนิดงาน หรือ 3
ชนิดงาน มาผสานผสมกันได้อย่างลงตัว จนเกิดเป็นเอกลักษณ์
เป็นจุดเด่นของสินค้า อย่างเช่นงาน ’ลวดดัด+ลูกปัด“ เป็น ’ตุ๊กตา“...
“อัศนี นุ้ยเครือ” เล่าว่า อาชีพหลักคือรับราชการ แต่ด้วยความที่สนใจงานฝีมือ-งานประดิษฐ์เป็นทุนเดิม จึงมักขวนขวายหาความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอ โดยเฉพาะงานที่เกี่ยวกับลูกปัดและงานลวดดัดที่ทำอยู่นี้ เมื่อเริ่มชำนาญขึ้นจึงลองคิดประดิษฐ์ชิ้นงานของตนเองขึ้น โดยอาศัยเวลาว่างจากงานประจำในวันหยุดเสาร์ อาทิตย์ โดยปัจจุบันทำจำหน่ายผ่านเว็บไซต์ในชื่อ www.siricha.com นอกจากนี้ก็ยังนำไปฝากวางขายที่ตลาดนัดจตุจักร เพื่อหารายได้เสริม
แรงบันดาลใจในการคิดประดิษฐ์ชิ้นงานลวดดัดกับลูกปัดจนเกิดเป็นรูปแบบตัว สัตว์ที่หลากหลายนี้ เริ่มจากการที่เห็นว่างานลูกปัดส่วนใหญ่มักเป็นสินค้าประเภทเครื่องประดับ อาทิ สร้อย เข็มกลัด หรือกำไล จึงคิดว่าน่าจะลองทำรูปแบบอื่น ๆ จึงลองทำเป็นรูปสัตว์ขึ้นมา
อัศนีเล่าต่อไปว่า ชิ้นงานที่ทำขึ้น ลูกค้ามักจะเรียกว่า ’ตุ๊กตาสัตว์ร้อยลูกปัด“ แต่ถ้าหากเป็นชาวต่างชาติที่เป็นกลุ่มลูกค้าหลักของสินค้าก็มักจะเรียกว่า เป็นชิ้นงานประเภท ’แอนิมอลบีด“ ปัจจุบันชิ้นงานมีหลายแบบ อาทิ แมงมุม, กบ, ปลาทอง, เต่า, นก โดยรูปแบบที่ลูกค้านิยมและชื่นชอบเป็นพิเศษ คือ ตุ๊กตากิ้งก่าลูกปัด โดยเน้นรูปแบบที่คล้ายจริง เน้นสีสัน และลวดลาย ที่เกิดขึ้นจากการร้อยลูกปัดในรูปแบบต่าง ๆ
“จุดเด่นที่ลูกค้าชื่นชอบคือ รายละเอียดและความประณีตของชิ้นงาน โดยลวดลายที่เกิดขึ้น เกิดจากการจัดวางรูปแบบการร้อยลูกปัดให้เกิดเป็นลวดลายหลากหลาย สินค้าส่วนใหญ่จะเป็นที่รู้จักในกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างประเทศ เพราะลูกค้ากลุ่มนี้จะสนใจและให้คุณค่ากับงานฝีมือประเภทนี้มากกว่าลูกค้าใน ประเทศ” อัศนีกล่าว
ทุนเบื้องต้นสำหรับการทำงานลักษณะนี้ ใช้ประมาณ 4,500 บาท ส่วนใหญ่เป็นค่าวัตถุดิบและวัสดุ โดยทุนวัตถุดิบ-วัสดุอยู่ที่ประมาณ 30% จากราคาขาย ที่เริ่มตั้งแต่ชิ้นละ 100 บาท ไปจนถึง 1,000 บาท ขึ้นกับขนาดและความยากง่ายของการทำชิ้นงาน ซึ่งวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้หลัก ๆ ก็มี คีมตัดลวด, ลวดสำหรับดัดขึ้นโครง, ลวดเส้นบางสำหรับร้อยลูกปัด, ลูกปัดสี โดยแหล่งซื้อวัสดุคือตลาดสำเพ็ง ซึ่งมีอุปกรณ์งานลวดดัดและงานลูกปัดจำหน่ายหลากหลาย
ขั้นตอนการทำ เริ่มจากการออกแบบรูปสัตว์ที่จะทำ เมื่อได้รูปสัตว์ที่จะทำแล้วจึงทำการขึ้นโครงร่างด้วยการใช้ลวดดัดขึ้นโครง ร่างเป็นรูปสัตว์ที่ออกแบบไว้ก่อน หากยังไม่ชำนาญแนะนำว่าควรใช้วิธีการวาดลงบนกระดาษเพื่อกำหนดจุดที่จะทำก่อน ที่จะขึ้นชิ้นงาน เพราะหากขึ้นชิ้นงานแล้ว การจะกลับไปแก้ไขรายละเอียดใหม่จะค่อนข้างทำได้ยาก
เมื่อได้โครงลวดที่ดัดเป็นรูปตัวสัตว์แล้ว ก็ทำการเริ่มต้นร้อยลูกปัด โดยนำลูกปัดสีที่เลือกไว้มาร้อยด้วยลวดเส้นบาง การร้อยให้เริ่มจากตรงส่วนหัวก่อน โดยร้อยต่อไปเรื่อย ๆ จนครบหมดทั้งตัว สำหรับลวดลายนั้นขึ้นอยู่กับว่าต้องการลายแบบไหน โดยใช้สีสันจากลูกปัดเป็นตัวเสริมให้ลวดลายดูโดดเด่นขึ้น จากนั้นทำการตกแต่งตามต้องการ เป็นอันเสร็จขั้นตอนการทำ ทั้งนี้ กรณีจะทำเป็นงานตุ๊กตาลูกปัดแบบลอยตัว จะใช้เวลาทำนานกว่า โดยต้องทำการร้อยลูกปัดทั้งตัว
“วิธีการทำมีไม่มาก แต่ค่อนข้างจะต้องใช้เวลาและความอดทนในการทำ ถ้าใครอยากทำงานแบบนี้ ต้องเริ่มการมีความคิดสร้างสรรค์ รู้จักนำจินตนาการของตัวเองมาประยุกต์ใช้ เพื่อให้เกิดเป็นชิ้นงานที่มีเอกลักษณ์ของตนเอง สิ่งสำคัญคือต้องรู้สึกภูมิใจในผลงานของตัวเองด้วย เพราะอาชีพนี้เป็นงานที่ไม่สามารถผลิตได้ทีละมาก ๆ ถ้ารับตรงนี้ได้ ก็ถือว่าพร้อม” เป็นคำแนะนำทิ้งท้ายจากผู้ผลิตชิ้นงานจากลวดดัดผสมงานลูกปัดรายนี้
ใครสนใจ ’ตุ๊กตาสัตว์ร้อยลูกปัด“ คลิกเข้าไปดูรูปแบบชิ้นงานได้ตามที่อยู่เว็บไซต์ที่ระบุไว้ในตอนต้น หรือไปเดินดูได้ที่ตลาดนัดจตุจักร โครงการ 25 ซอย 2/2 หรือถ้าต้องการติดต่ออัศนี ก็ติดต่อได้ที่ โทร. 0-2410-2188, 08-6093-1130 ซึ่งนี่ก็เป็นอีก ’ช่องทางทำกิน“ ที่เกิดจากการผสานงาน 2 ชนิดเข้าไว้ด้วยกัน จนเกิดเป็นสินค้าที่สะดุดตาลูกค้า.
ศิริโรจน์ ศิริแพทย์ เรื่อง - ภาพ
cerdit by : http://www.dailynews.co.th/article/384/165735
“อัศนี นุ้ยเครือ” เล่าว่า อาชีพหลักคือรับราชการ แต่ด้วยความที่สนใจงานฝีมือ-งานประดิษฐ์เป็นทุนเดิม จึงมักขวนขวายหาความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอ โดยเฉพาะงานที่เกี่ยวกับลูกปัดและงานลวดดัดที่ทำอยู่นี้ เมื่อเริ่มชำนาญขึ้นจึงลองคิดประดิษฐ์ชิ้นงานของตนเองขึ้น โดยอาศัยเวลาว่างจากงานประจำในวันหยุดเสาร์ อาทิตย์ โดยปัจจุบันทำจำหน่ายผ่านเว็บไซต์ในชื่อ www.siricha.com นอกจากนี้ก็ยังนำไปฝากวางขายที่ตลาดนัดจตุจักร เพื่อหารายได้เสริม
แรงบันดาลใจในการคิดประดิษฐ์ชิ้นงานลวดดัดกับลูกปัดจนเกิดเป็นรูปแบบตัว สัตว์ที่หลากหลายนี้ เริ่มจากการที่เห็นว่างานลูกปัดส่วนใหญ่มักเป็นสินค้าประเภทเครื่องประดับ อาทิ สร้อย เข็มกลัด หรือกำไล จึงคิดว่าน่าจะลองทำรูปแบบอื่น ๆ จึงลองทำเป็นรูปสัตว์ขึ้นมา
อัศนีเล่าต่อไปว่า ชิ้นงานที่ทำขึ้น ลูกค้ามักจะเรียกว่า ’ตุ๊กตาสัตว์ร้อยลูกปัด“ แต่ถ้าหากเป็นชาวต่างชาติที่เป็นกลุ่มลูกค้าหลักของสินค้าก็มักจะเรียกว่า เป็นชิ้นงานประเภท ’แอนิมอลบีด“ ปัจจุบันชิ้นงานมีหลายแบบ อาทิ แมงมุม, กบ, ปลาทอง, เต่า, นก โดยรูปแบบที่ลูกค้านิยมและชื่นชอบเป็นพิเศษ คือ ตุ๊กตากิ้งก่าลูกปัด โดยเน้นรูปแบบที่คล้ายจริง เน้นสีสัน และลวดลาย ที่เกิดขึ้นจากการร้อยลูกปัดในรูปแบบต่าง ๆ
“จุดเด่นที่ลูกค้าชื่นชอบคือ รายละเอียดและความประณีตของชิ้นงาน โดยลวดลายที่เกิดขึ้น เกิดจากการจัดวางรูปแบบการร้อยลูกปัดให้เกิดเป็นลวดลายหลากหลาย สินค้าส่วนใหญ่จะเป็นที่รู้จักในกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างประเทศ เพราะลูกค้ากลุ่มนี้จะสนใจและให้คุณค่ากับงานฝีมือประเภทนี้มากกว่าลูกค้าใน ประเทศ” อัศนีกล่าว
ทุนเบื้องต้นสำหรับการทำงานลักษณะนี้ ใช้ประมาณ 4,500 บาท ส่วนใหญ่เป็นค่าวัตถุดิบและวัสดุ โดยทุนวัตถุดิบ-วัสดุอยู่ที่ประมาณ 30% จากราคาขาย ที่เริ่มตั้งแต่ชิ้นละ 100 บาท ไปจนถึง 1,000 บาท ขึ้นกับขนาดและความยากง่ายของการทำชิ้นงาน ซึ่งวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้หลัก ๆ ก็มี คีมตัดลวด, ลวดสำหรับดัดขึ้นโครง, ลวดเส้นบางสำหรับร้อยลูกปัด, ลูกปัดสี โดยแหล่งซื้อวัสดุคือตลาดสำเพ็ง ซึ่งมีอุปกรณ์งานลวดดัดและงานลูกปัดจำหน่ายหลากหลาย
ขั้นตอนการทำ เริ่มจากการออกแบบรูปสัตว์ที่จะทำ เมื่อได้รูปสัตว์ที่จะทำแล้วจึงทำการขึ้นโครงร่างด้วยการใช้ลวดดัดขึ้นโครง ร่างเป็นรูปสัตว์ที่ออกแบบไว้ก่อน หากยังไม่ชำนาญแนะนำว่าควรใช้วิธีการวาดลงบนกระดาษเพื่อกำหนดจุดที่จะทำก่อน ที่จะขึ้นชิ้นงาน เพราะหากขึ้นชิ้นงานแล้ว การจะกลับไปแก้ไขรายละเอียดใหม่จะค่อนข้างทำได้ยาก
เมื่อได้โครงลวดที่ดัดเป็นรูปตัวสัตว์แล้ว ก็ทำการเริ่มต้นร้อยลูกปัด โดยนำลูกปัดสีที่เลือกไว้มาร้อยด้วยลวดเส้นบาง การร้อยให้เริ่มจากตรงส่วนหัวก่อน โดยร้อยต่อไปเรื่อย ๆ จนครบหมดทั้งตัว สำหรับลวดลายนั้นขึ้นอยู่กับว่าต้องการลายแบบไหน โดยใช้สีสันจากลูกปัดเป็นตัวเสริมให้ลวดลายดูโดดเด่นขึ้น จากนั้นทำการตกแต่งตามต้องการ เป็นอันเสร็จขั้นตอนการทำ ทั้งนี้ กรณีจะทำเป็นงานตุ๊กตาลูกปัดแบบลอยตัว จะใช้เวลาทำนานกว่า โดยต้องทำการร้อยลูกปัดทั้งตัว
“วิธีการทำมีไม่มาก แต่ค่อนข้างจะต้องใช้เวลาและความอดทนในการทำ ถ้าใครอยากทำงานแบบนี้ ต้องเริ่มการมีความคิดสร้างสรรค์ รู้จักนำจินตนาการของตัวเองมาประยุกต์ใช้ เพื่อให้เกิดเป็นชิ้นงานที่มีเอกลักษณ์ของตนเอง สิ่งสำคัญคือต้องรู้สึกภูมิใจในผลงานของตัวเองด้วย เพราะอาชีพนี้เป็นงานที่ไม่สามารถผลิตได้ทีละมาก ๆ ถ้ารับตรงนี้ได้ ก็ถือว่าพร้อม” เป็นคำแนะนำทิ้งท้ายจากผู้ผลิตชิ้นงานจากลวดดัดผสมงานลูกปัดรายนี้
ใครสนใจ ’ตุ๊กตาสัตว์ร้อยลูกปัด“ คลิกเข้าไปดูรูปแบบชิ้นงานได้ตามที่อยู่เว็บไซต์ที่ระบุไว้ในตอนต้น หรือไปเดินดูได้ที่ตลาดนัดจตุจักร โครงการ 25 ซอย 2/2 หรือถ้าต้องการติดต่ออัศนี ก็ติดต่อได้ที่ โทร. 0-2410-2188, 08-6093-1130 ซึ่งนี่ก็เป็นอีก ’ช่องทางทำกิน“ ที่เกิดจากการผสานงาน 2 ชนิดเข้าไว้ด้วยกัน จนเกิดเป็นสินค้าที่สะดุดตาลูกค้า.
ศิริโรจน์ ศิริแพทย์ เรื่อง - ภาพ
cerdit by : http://www.dailynews.co.th/article/384/165735
ขายของได้ทุกที่ บนรถขายขายของเคลื่อนที่ ได้ทั้งของกินและเครื่องดื่ม
ตัวอย่างอาชีพค้าขายที่ไม่ง้อทำเล(รูป)ตอน 1-12
download ...http://bit.ly/2kYAKOt
ตัวอย่างอาชีพค้าขายที่ไม่ง้อทำเล(รูป)ตอน 1-12
download ...http://bit.ly/2kYAKOt
Adv