“ช่างเลี่ยมพระ” ถือเป็นหนึ่งในอาชีพที่ไม่ต้องกังวลกับสภาพดินฟ้าอากาศ
และมีลูกค้าเข้ามาอย่างไม่ขาดสายโดยไม่ต้องดิ้นรนออกไปหาลูกค้า
แต่ก็ต้องอาศัยใจรัก มีทักษะฝีมือและความอดทนมากพอสมควร ดังเช่น
นายประพันธ์ ตันเจริญ หรือ “ช่างมีน” วัย 26 ปี
ช่างเลี่ยมพระพลาสติกประจำร้าน ป.เจริญศิลป์ (แป๊ะ) สนามพระวัดราชนัดดา
กรุงเทพฯ เล่าถึงจุดเริ่มต้นของการประกอบอาชีพนี้ว่า พ่อผมชื่อ นายธนกร
ตันเจริญ หรือ “ช่างแป๊ะ”
มีอาชีพเป็นช่างเลี่ยมพระกรอบพลาสติกและเปิดร้านรับใส่กรอบพระทั้งกรอบ
พลาสติก กรอบสเตนเลส กรอบลาย กรอบไมครอนเงินและทอง จำหน่ายเศียรทุกชนิด
รูปปั้นพระ หลอดตะกรุด สร้อยคอ รับสั่งทำล็อกเกต
ปั๊มเหรียญและแม่พิมพ์พระต่าง ๆ
จึงได้มีโอกาสเห็นพ่อนั่งเลี่ยมพระกรอบพลาสติกมาตั้งแต่วัยเด็ก
ทำให้รู้สึกชื่นชอบงานด้านนี้ไปด้วยโดยเฉพาะเมื่อลูกค้าชมพ่อว่าเลี่ยมพระ
ได้สวยงามก็อดภูมิใจลึก ๆ แทนพ่อไม่ได้
ครั้น “ช่างมีน” เรียนจบปวช.สาขาช่างยนต์ วิทยาลัยเทคนิคจุฬาภรณ์ (ลาดขวาง) จ.ฉะเชิงเทราและไปทำงานด้านช่างยนต์มาระยะหนึ่ง แต่ก็เปลี่ยนใจหันมาประกอบอาชีพช่างเลี่ยมพระกรอบพลาสติกโดยได้รับการถ่าย ทอดวิชาเลี่ยมพระจากพ่อในช่วงปลายปีพ.ศ. 2549 เนื่องจากมีใจรักงานด้านนี้และต้องการสืบทอดกิจการของพ่อ
การเลี่ยมพระใส่กรอบเป็นงานพิถีพิถัน เริ่มแรกต้องทำแบบพิมพ์ก่อน และทำพลาสติกไส้กลาง หลังจากนั้นก็ทำกรอบพลาสติกด้านหน้าและด้านหลัง จากนั้นก็นำพระมาเข้าไว้ในพลาสติกไส้กลางแล้วนำมาประกบกันและฉีดน้ำยาเข้าไป โดยต้องไม่ให้ถูกเนื้อพระ และขั้นตอนสุดท้ายเจียขอบพระที่เลี่ยมพลาสติกให้ได้รูปตามที่ต้องการและตะไบ หูให้สวยงาม ซึ่งหากเป็นเซียนพระนิยมให้ทำเป็นหูกลม
อย่างไรก็ตาม “ช่างมีน” ยอมรับว่า งานเลี่ยมพระกรอบพลาสติกซึ่งต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษคือ พระผง เนื่องจากต้องระมัดระวังไม่ให้เนื้อพระแตกบิ่น ซึ่งจากประสบการณ์เลี่ยมพระเจองานชิ้นที่หินสุด ๆเป็นการเลี่ยมพระของขวัญวัดปากน้ำรุ่น 2 เนื่องจากขอบพระบางมาก ๆ โดยเฉลี่ยแต่ละวันจะมีงานเข้ามาอยู่ที่วันละ 7-8 ชิ้น และคิดค่าเลี่ยมอยู่ที่ชิ้นละ 100 บาท แต่หากเป็นพระที่มีขนาดใหญ่ค่าเลี่ยมอยู่ที่ชิ้นละ 150-200 บาท ใช้เวลาเลี่ยม 50 นาที-1 ชั่วโมง หรือฝากพระไว้ให้เลี่ยมก็ใช้เวลา 1-2 วัน และมีรายได้ประมาณเดือนละ 24,000 บาท
“ผมชอบอาชีพนี้เพราะเป็นงานศิลป์และเป็นอาชีพอิสระ ไม่ต้องเป็นลูกจ้างใคร ผมเรียนรู้วิชาชีพนี้จากพ่อ หัดงานอัดกรอบพระธรรมดาอยู่กับบ้านนาน 1 ปี จากนั้นจึงฝึกเลี่ยมพระกรอบพลาสติกอีก 1 ปี ฝีมือจึงเข้าที่เข้าทาง ผมพยายามพัฒนาฝีมือและเทคนิคการเลี่ยมพระให้ดีขึ้นเรื่อย ๆ เช่น การนำเอาปืนแก๊ปมาลนพลาสติกไส้กลาง การกดกรอบพลาสติกด้านหน้าและด้านหลังให้โป่งได้รูปก่อนที่จะนำไปอัดเข้ารูป กับพลาสติกไส้กลาง การนำพลาสติกที่เลี่ยมพระมาล้างน้ำ ช่วยให้การเลี่ยมพระกรอบพลาสติกมีความสวยงามและใสมากขึ้น บางครั้งผมก็ใช้วิธีครูพักลักจำจากช่างเลี่ยมพระฝีมือดีคนอื่น ๆ เพื่อให้ได้เทคนิคใหม่ ๆ ที่ทันสมัย” ช่างมีนเล่าถึงการทำงาน
“ช่างมีน” บอกทิ้งท้ายว่า การทำงานนั้นยึดหลัก 2 ข้อคือ “ถ้าทำดีงานจะมีมาตลอด รวมทั้งจะต้องหมั่นขวนขวายหาความรู้จากช่างคนอื่น ๆ และดูว่าวงการพระเครื่องมีการพัฒนาไปถึงไหนเพื่อพัฒนาทักษะฝีมือและเทคนิค การเลี่ยมพระให้มีความสวยงามและเข้ากับยุคสมัยอยู่เสมอ” ซึ่งรู้สึกภาคภูมิใจทุกครั้งเมื่อลูกค้าชมว่าเลี่ยมพระได้สวยงามและเชื่อว่า การที่ลูกค้าได้พระที่เลี่ยมสวย ๆ ไปขึ้นคอ จะช่วยชักนำจิตใจให้ลูกค้าประพฤติตนเป็นคนดีอยู่ในครรลองแห่งศีลธรรม
ทั้งนี้ พบกับ “ช่างมีน” ได้ที่ร้าน ป.เจริญศิลป์ (แป๊ะ) แผงที่ 104-105 วัดราชนัดดาราม ถนนมหาไชย แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพฯ ทุกวันจันทร์-อาทิตย์ เวลา 08.00-18.00 น. ติดต่อโทร.0-2224-3188, 0-2685-4716, ช่างแป๊ะ โทร. 08-5152-2455, ช่างมีน โทร. 08-4076-4468.
credit by : http://www.dailynews.co.th/article/376/164377
ครั้น “ช่างมีน” เรียนจบปวช.สาขาช่างยนต์ วิทยาลัยเทคนิคจุฬาภรณ์ (ลาดขวาง) จ.ฉะเชิงเทราและไปทำงานด้านช่างยนต์มาระยะหนึ่ง แต่ก็เปลี่ยนใจหันมาประกอบอาชีพช่างเลี่ยมพระกรอบพลาสติกโดยได้รับการถ่าย ทอดวิชาเลี่ยมพระจากพ่อในช่วงปลายปีพ.ศ. 2549 เนื่องจากมีใจรักงานด้านนี้และต้องการสืบทอดกิจการของพ่อ
การเลี่ยมพระใส่กรอบเป็นงานพิถีพิถัน เริ่มแรกต้องทำแบบพิมพ์ก่อน และทำพลาสติกไส้กลาง หลังจากนั้นก็ทำกรอบพลาสติกด้านหน้าและด้านหลัง จากนั้นก็นำพระมาเข้าไว้ในพลาสติกไส้กลางแล้วนำมาประกบกันและฉีดน้ำยาเข้าไป โดยต้องไม่ให้ถูกเนื้อพระ และขั้นตอนสุดท้ายเจียขอบพระที่เลี่ยมพลาสติกให้ได้รูปตามที่ต้องการและตะไบ หูให้สวยงาม ซึ่งหากเป็นเซียนพระนิยมให้ทำเป็นหูกลม
อย่างไรก็ตาม “ช่างมีน” ยอมรับว่า งานเลี่ยมพระกรอบพลาสติกซึ่งต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษคือ พระผง เนื่องจากต้องระมัดระวังไม่ให้เนื้อพระแตกบิ่น ซึ่งจากประสบการณ์เลี่ยมพระเจองานชิ้นที่หินสุด ๆเป็นการเลี่ยมพระของขวัญวัดปากน้ำรุ่น 2 เนื่องจากขอบพระบางมาก ๆ โดยเฉลี่ยแต่ละวันจะมีงานเข้ามาอยู่ที่วันละ 7-8 ชิ้น และคิดค่าเลี่ยมอยู่ที่ชิ้นละ 100 บาท แต่หากเป็นพระที่มีขนาดใหญ่ค่าเลี่ยมอยู่ที่ชิ้นละ 150-200 บาท ใช้เวลาเลี่ยม 50 นาที-1 ชั่วโมง หรือฝากพระไว้ให้เลี่ยมก็ใช้เวลา 1-2 วัน และมีรายได้ประมาณเดือนละ 24,000 บาท
“ผมชอบอาชีพนี้เพราะเป็นงานศิลป์และเป็นอาชีพอิสระ ไม่ต้องเป็นลูกจ้างใคร ผมเรียนรู้วิชาชีพนี้จากพ่อ หัดงานอัดกรอบพระธรรมดาอยู่กับบ้านนาน 1 ปี จากนั้นจึงฝึกเลี่ยมพระกรอบพลาสติกอีก 1 ปี ฝีมือจึงเข้าที่เข้าทาง ผมพยายามพัฒนาฝีมือและเทคนิคการเลี่ยมพระให้ดีขึ้นเรื่อย ๆ เช่น การนำเอาปืนแก๊ปมาลนพลาสติกไส้กลาง การกดกรอบพลาสติกด้านหน้าและด้านหลังให้โป่งได้รูปก่อนที่จะนำไปอัดเข้ารูป กับพลาสติกไส้กลาง การนำพลาสติกที่เลี่ยมพระมาล้างน้ำ ช่วยให้การเลี่ยมพระกรอบพลาสติกมีความสวยงามและใสมากขึ้น บางครั้งผมก็ใช้วิธีครูพักลักจำจากช่างเลี่ยมพระฝีมือดีคนอื่น ๆ เพื่อให้ได้เทคนิคใหม่ ๆ ที่ทันสมัย” ช่างมีนเล่าถึงการทำงาน
“ช่างมีน” บอกทิ้งท้ายว่า การทำงานนั้นยึดหลัก 2 ข้อคือ “ถ้าทำดีงานจะมีมาตลอด รวมทั้งจะต้องหมั่นขวนขวายหาความรู้จากช่างคนอื่น ๆ และดูว่าวงการพระเครื่องมีการพัฒนาไปถึงไหนเพื่อพัฒนาทักษะฝีมือและเทคนิค การเลี่ยมพระให้มีความสวยงามและเข้ากับยุคสมัยอยู่เสมอ” ซึ่งรู้สึกภาคภูมิใจทุกครั้งเมื่อลูกค้าชมว่าเลี่ยมพระได้สวยงามและเชื่อว่า การที่ลูกค้าได้พระที่เลี่ยมสวย ๆ ไปขึ้นคอ จะช่วยชักนำจิตใจให้ลูกค้าประพฤติตนเป็นคนดีอยู่ในครรลองแห่งศีลธรรม
ทั้งนี้ พบกับ “ช่างมีน” ได้ที่ร้าน ป.เจริญศิลป์ (แป๊ะ) แผงที่ 104-105 วัดราชนัดดาราม ถนนมหาไชย แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพฯ ทุกวันจันทร์-อาทิตย์ เวลา 08.00-18.00 น. ติดต่อโทร.0-2224-3188, 0-2685-4716, ช่างแป๊ะ โทร. 08-5152-2455, ช่างมีน โทร. 08-4076-4468.
จ๊อบแมน
job_man28@yahoo.co.th
job_man28@yahoo.co.th
ขายของได้ทุกที่ บนรถขายขายของเคลื่อนที่ ได้ทั้งของกินและเครื่องดื่ม
ตัวอย่างอาชีพค้าขายที่ไม่ง้อทำเล(รูป)ตอน 1-12
download ...http://bit.ly/2kYAKOt
ตัวอย่างอาชีพค้าขายที่ไม่ง้อทำเล(รูป)ตอน 1-12
download ...http://bit.ly/2kYAKOt
Adv