“ผ้าไทย” อย่าง “ผ้าถุง” และ “โอ่งดิน” ที่ใส่น้ำ ขนาดใบย่อม ๆ
สามารถนำมาประดิษฐ์เข้ากันเป็น “โอ่งผ้าไทย”
เป็นของชำร่วยได้อย่างไม่น่าเชื่อ สามารถเพิ่มมูลค่าให้กับตัวสินค้าเดิม ๆ
และก็เป็น “ช่องทางทำกิน” ที่ยังมีตลาดรองรับการจำหน่าย
ซึ่งวันนี้ทีมคอลัมน์ “ช่องทางทำกิน” ก็มีข้อมูลงานประดิษฐ์แบบไทย ๆ
รูปแบบนี้มาให้พิจารณากัน...
เมื่อขัดโอ่งให้เนียนแล้ว ก็พักเตรียมไว้ จากนั้นทำการตัดผ้าถุงลายไทยเป็นชิ้น ๆ โดยตัดตามลายของผ้าให้แยกออกเป็นชิ้น ๆ โดยชิ้นผ้าแต่ละชิ้นจะตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยม ขนาดยาวด้านละ 2 ซม.
ขั้นต่อมาก็ทากาวลาเท็กซ์ที่ใต้ขอบฝาโอ่ง จากนั้นเตรียมชิ้นผ้าลายไทยที่ตัดแล้ว 4 ชิ้น นำมาตัดครึ่ง โดยชิ้นผ้าแต่ละชิ้นที่ถูกตัดออกมาจะกลายเป็นชิ้นผ้ารูปสามเหลี่ยม จะได้ชิ้นผ้าลายไทยทั้งหมด 8 ชิ้น เสร็จแล้วนำชิ้นผ้าไปแปะทีละชิ้นที่ใต้ฝาขอบโอ่ง โดยผ้าด้านขวางจะถูกติดใต้ขอบโอ่ง และผ้าด้านมุมจะอยู่ด้านล่าง
เมื่อติดไปจนครบรอบขอบโอ่ง ก็จะครบ 8 ชิ้นพอดี
เสร็จขั้นตอนที่ว่ามาข้างต้นแล้ว ก็ตัดผ้าเฉลียง รูปสี่เหลี่ยม ขนาดกว้าง 1.5 นิ้ว ยาว 5 นิ้ว จากนั้นทากาวรอบบริเวณขอบโอ่ง แล้วนำผ้าเฉลียงมาแปะปิดขอบโอ่งให้เรียบร้อย ทั้งในและนอกขอบโอ่ง
สำหรับบริเวณตัวโอ่งนั้น นำชิ้นผ้าลายไทยที่ตัดเตรียมไว้มาแปะบนตัวโอ่งได้เลย โดยเริ่มแปะที่บริเวณช่องว่างใต้ขอบโอ่งลงมา แปะลงมาเรื่อย ๆ ลงไปจนถึงก้นโอ่ง
อ.ชลอ บอกว่า ขั้นตอนการแปะผ้าลงบนโอ่งนี้จะค่อนข้างยาก ดังนั้นเวลาที่ติดผ้าลงตัวโอ่งก็ต้องอาศัยความประณีต และใช้สมาธิพอสมควร การแปะผ้าแต่ละชิ้นต้องหุ้มตัวโอ่งให้ตึง อย่าให้ผ้าเกยกัน เพราะจะดูไม่เรียบร้อย
ส่วนบริเวณฝาปิดโอ่ง ก็เริ่มแปะชิ้นผ้าจากขอบฝาขึ้นมาจนถึงบริเวณจุก วิธีการแปะผ้าก็คล้าย ๆ กับการแปะขอบฝาโอ่งที่อธิบายไปก่อนหน้านี้แล้ว
เมื่อแปะผ้าเสร็จแล้ว ก็ตกแต่งด้วยการผูกดิ้นเงินหรือดิ้นทองที่ฝาโอ่ง ให้ดูสวยงาม เท่านี้ก็เรียบร้อยแล้ว
“โอ่งผ้าลายไทยนี้ แรก ๆ ก็ทำค่อนข้างยากหน่อย ต้องฝึกไปเรื่อย ๆ จึงจะชิน และถนัดมือมากขึ้น ทำครั้งแรกต้องมีความละเอียด ต้องใจเย็น แต่พอทำเสร็จออกมาแล้วจะดูสวย ดูมีราคา” อ.ชลอ กล่าว
พร้อมยังบอกต่อไปว่า ช่วงที่ฝึกทำใหม่ ๆ อาจจะใช้เวลาในการทำ 2-3 ชั่วโมง ต่อ 1 ใบ แต่พอทำได้คล่องแล้วก็จะใช้เวลาน้อยลง พอเรารู้แบบ รู้ทักษะ รู้วิธีทำ รู้ว่าต้องทำอย่างไร ก็จะมีความคิดออกมาเองว่าจะทำอย่างไรให้เร็วขึ้น
Credit by..http://www.dailynews.co.th/article/384/183563
อ.ชลอ ทองสุข ชมรมบุคคลต้นแบบภูมิปัญญาฯ
ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุ จ.ปทุมธานี เล่าถึงความเป็นมาของ
“โอ่งผ้าไทย” ว่า ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ เห็นลูกหลานซื้อผ้าลายไทยไปไหว้ปู่
ย่า ตา ยาย พ่อ แม่ แล้วก็เห็นมีคนเอาผ้าไทยไปตากผึ่งแดดที่ขอบโอ่ง
ซึ่งดูไม่สวยงาม
แต่ก็ทำให้เกิดความคิดว่าถ้าทำโอ่งที่มีลวดลายเป็นผ้าไทยคงจะสวยไม่น้อย
จึงได้เริ่มคิดวิธีทำขึ้นมา
วัสดุ-อุปกรณ์
ที่ใช้ในการทำชิ้นงาน “โอ่งผ้าไทย” นั้น หลัก ๆ ก็มีโอ่งดิน
ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 5 นิ้ว สูงประมาณ 6 นิ้ว, กรรไกร, กาวลาเท็กซ์,
กระดาษทราย, ดิ้นเงิน-ดิ้นทอง และผ้าถุงที่เป็นผ้าลายไทย
วิธี
ทำ เริ่มที่การนำโอ่งไปแช่น้ำไว้ 2 ชั่วโมง นำขึ้นมาผึ่งลมให้แห้ง
เสร็จแล้วนำกระดาษทรายมาขัดโอ่งให้เนียน ซึ่งเหตุที่ต้องนำโอ่งไปแช่น้ำก่อน
เพราะถ้าไม่แช่ เวลาติดผ้าแล้วอาจจะหลุดได้ง่ายเมื่อขัดโอ่งให้เนียนแล้ว ก็พักเตรียมไว้ จากนั้นทำการตัดผ้าถุงลายไทยเป็นชิ้น ๆ โดยตัดตามลายของผ้าให้แยกออกเป็นชิ้น ๆ โดยชิ้นผ้าแต่ละชิ้นจะตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยม ขนาดยาวด้านละ 2 ซม.
ขั้นต่อมาก็ทากาวลาเท็กซ์ที่ใต้ขอบฝาโอ่ง จากนั้นเตรียมชิ้นผ้าลายไทยที่ตัดแล้ว 4 ชิ้น นำมาตัดครึ่ง โดยชิ้นผ้าแต่ละชิ้นที่ถูกตัดออกมาจะกลายเป็นชิ้นผ้ารูปสามเหลี่ยม จะได้ชิ้นผ้าลายไทยทั้งหมด 8 ชิ้น เสร็จแล้วนำชิ้นผ้าไปแปะทีละชิ้นที่ใต้ฝาขอบโอ่ง โดยผ้าด้านขวางจะถูกติดใต้ขอบโอ่ง และผ้าด้านมุมจะอยู่ด้านล่าง
เมื่อติดไปจนครบรอบขอบโอ่ง ก็จะครบ 8 ชิ้นพอดี
เสร็จขั้นตอนที่ว่ามาข้างต้นแล้ว ก็ตัดผ้าเฉลียง รูปสี่เหลี่ยม ขนาดกว้าง 1.5 นิ้ว ยาว 5 นิ้ว จากนั้นทากาวรอบบริเวณขอบโอ่ง แล้วนำผ้าเฉลียงมาแปะปิดขอบโอ่งให้เรียบร้อย ทั้งในและนอกขอบโอ่ง
สำหรับบริเวณตัวโอ่งนั้น นำชิ้นผ้าลายไทยที่ตัดเตรียมไว้มาแปะบนตัวโอ่งได้เลย โดยเริ่มแปะที่บริเวณช่องว่างใต้ขอบโอ่งลงมา แปะลงมาเรื่อย ๆ ลงไปจนถึงก้นโอ่ง
อ.ชลอ บอกว่า ขั้นตอนการแปะผ้าลงบนโอ่งนี้จะค่อนข้างยาก ดังนั้นเวลาที่ติดผ้าลงตัวโอ่งก็ต้องอาศัยความประณีต และใช้สมาธิพอสมควร การแปะผ้าแต่ละชิ้นต้องหุ้มตัวโอ่งให้ตึง อย่าให้ผ้าเกยกัน เพราะจะดูไม่เรียบร้อย
ส่วนบริเวณฝาปิดโอ่ง ก็เริ่มแปะชิ้นผ้าจากขอบฝาขึ้นมาจนถึงบริเวณจุก วิธีการแปะผ้าก็คล้าย ๆ กับการแปะขอบฝาโอ่งที่อธิบายไปก่อนหน้านี้แล้ว
เมื่อแปะผ้าเสร็จแล้ว ก็ตกแต่งด้วยการผูกดิ้นเงินหรือดิ้นทองที่ฝาโอ่ง ให้ดูสวยงาม เท่านี้ก็เรียบร้อยแล้ว
“โอ่งผ้าลายไทยนี้ แรก ๆ ก็ทำค่อนข้างยากหน่อย ต้องฝึกไปเรื่อย ๆ จึงจะชิน และถนัดมือมากขึ้น ทำครั้งแรกต้องมีความละเอียด ต้องใจเย็น แต่พอทำเสร็จออกมาแล้วจะดูสวย ดูมีราคา” อ.ชลอ กล่าว
พร้อมยังบอกต่อไปว่า ช่วงที่ฝึกทำใหม่ ๆ อาจจะใช้เวลาในการทำ 2-3 ชั่วโมง ต่อ 1 ใบ แต่พอทำได้คล่องแล้วก็จะใช้เวลาน้อยลง พอเรารู้แบบ รู้ทักษะ รู้วิธีทำ รู้ว่าต้องทำอย่างไร ก็จะมีความคิดออกมาเองว่าจะทำอย่างไรให้เร็วขึ้น
ในส่วนของราคาขาย “โอ่งผ้าไทย” นั้น อ.ชลอ บอกว่า ถ้าเป็นขนาดโอ่งดังที่กล่าวมาข้างต้น สามารถขายได้ในราคาใบละ 100-150 บาท โดยมีต้นทุนเฉพาะในส่วนวัสดุหลักอยู่ที่ใบละประมาณ 50 บาทขึ้นไป
“ต้นทุนน้อย ได้งานหรู ต่างชาตินิยมซื้อเป็นของฝาก” เป็นคำกล่าวของ อ.ชลอ เป็นคำกล่าวปิดท้ายถึงชิ้นงาน “โอ่งผ้าไทย”
ใครสนใจชิ้นงาน สนใจการประดิษฐ์ “โอ่งผ้าไทย” ต้องการติดต่อ อ.ชลอ ทองสุข ก็ติดต่อได้ที่ เลขที่ 48 หมู่ 2 ต.คูคต อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี โทร. 08-3037-5189 และ 08-6407-0377 ซึ่งนี่ก็เป็นตัวอย่าง เป็นกรณีศึกษา การนำวัสดุเดิม ๆ แบบไทย ๆ มาสร้างสรรค์เป็นชิ้นงาน เป็น “ช่องทางทำกิน” ได้อย่างน่าสนใจ.
“ต้นทุนน้อย ได้งานหรู ต่างชาตินิยมซื้อเป็นของฝาก” เป็นคำกล่าวของ อ.ชลอ เป็นคำกล่าวปิดท้ายถึงชิ้นงาน “โอ่งผ้าไทย”
ใครสนใจชิ้นงาน สนใจการประดิษฐ์ “โอ่งผ้าไทย” ต้องการติดต่อ อ.ชลอ ทองสุข ก็ติดต่อได้ที่ เลขที่ 48 หมู่ 2 ต.คูคต อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี โทร. 08-3037-5189 และ 08-6407-0377 ซึ่งนี่ก็เป็นตัวอย่าง เป็นกรณีศึกษา การนำวัสดุเดิม ๆ แบบไทย ๆ มาสร้างสรรค์เป็นชิ้นงาน เป็น “ช่องทางทำกิน” ได้อย่างน่าสนใจ.
สุภารัตน์ ยอดศิริวิชัยกุล / แสงจันทร์ สนั่นเอื้อ รายงาน
ขายของได้ทุกที่ บนรถขายขายของเคลื่อนที่ ได้ทั้งของกินและเครื่องดื่ม
ตัวอย่างอาชีพค้าขายที่ไม่ง้อทำเล(รูป)ตอน 1-12
download ...http://bit.ly/2kYAKOt
ตัวอย่างอาชีพค้าขายที่ไม่ง้อทำเล(รูป)ตอน 1-12
download ...http://bit.ly/2kYAKOt
Adv