“กะลามะพร้าว” ที่เคยไม่มีค่า หลัง ๆ
มีการนำมาใช้ประโยชน์-สร้างมูลค่าได้หลากหลายรูปแบบ ซึ่งถ้านำมาสร้างสรรค์
หรือใส่ไอเดียดี ๆ แล้ว...วัสดุที่เคยถูกทิ้งและไม่มีราคา
อย่างเช่นกะลามะพร้าวก็อาจจะกลายเป็นชิ้นงานที่ “มีคุณค่า-มีราคา”
ขึ้นมาได้เช่นกัน อย่างเช่น “โคมไฟกะลามะพร้าว” ที่ทีม ’ช่องทางทำกิน“
มีข้อมูลมานำเสนอในวันนี้...
วันชัย หนูเทศ-ละเอียด อินทรสมบัติ สองสามีภรรยา เจ้าของชิ้นงาน เล่าว่า...ยึดอาชีพผลิตชิ้นงานจากกะลามะพร้าวมาตั้งแต่ปี 2547 โดยเริ่มจากการผลิตกระเป๋า ก่อนที่จะต่อยอดพัฒนาชิ้นงานให้หลากหลายมากขึ้น โดยปัจจุบันนี้ นอกจากงานกระเป๋าแล้ว ก็ยังมีชิ้นงานอื่น ๆ อาทิ กระปุกออมสิน ตะกร้า ชุดขันโตก และงานโคมไฟจากกะลามะพร้าว...โดยชิ้นงานทั้งหมดจำหน่ายในชื่อ “บ้านกะลาบาติก” ซึ่งก็ได้รับการตอบรับอย่างดีจากลูกค้าที่ชื่นชอบงานฝีมือจากวัสดุธรรมชาติ
สำหรับ “โคมไฟกะลามะพร้าว” ที่ทำอยู่ ซึ่งถือเป็นชิ้นงานโดดเด่นของทางร้านนั้น จุดเด่นอยู่ที่ “ไอเดียการออกแบบ” โดยชิ้นงานที่ผลิตขึ้นมีทั้งโคมไฟรูปสัตว์ และรูปดอกไม้ ซึ่งลูกค้าที่เคยอุดหนุนจะทราบว่า จะมีเอกลักษณ์ไม่ซ้ำใคร ทำให้ลูกค้าจำผลงานของทางร้านได้ หรือศัพท์ในกลุ่มผู้ผลิตงานฝีมือจะเรียกว่ามี “ลายเซ็น” เฉพาะของตัวเอง...
“โคมไฟที่ทำขึ้นจะออกแบบเองทั้งหมด โดยเน้นให้ชิ้นงานมีเอกลักษณ์ของที่ร้าน เพื่อให้ลูกค้าจำได้ว่า สินค้าชิ้นไหนเป็นผลงานของเรา อีกทั้งยังช่วยให้ลูก
ค้ามีตัวเลือกที่หลากหลายขึ้นด้วย ทั้งนี้ ก็ไม่ใช่ว่าจะย่ำอยู่กับที่ แต่ก็มีการคิดรูปแบบใหม่ ๆ ออกแบบลวดลายใหม่ ๆ ออกมาเรื่อย ๆ เพื่อเป็นการหนีคู่แข่งด้วย” ... เจ้าของผลงานกล่าว นี่ก็เป็นอีกแนวทางหนึ่งที่ผู้ผลิตชิ้นงานน่าจะนำไปใช้เป็นกรณีศึกษา “ช่องทางทำกิน” ที่เกี่ยวกับงานประดิษฐ์-งานฝีมือ
ทุนเบื้องต้น สำหรับคนที่จะทำอาชีพนี้ ใช้เงินลงทุนประมาณ 50,000 บาท ส่วนใหญ่เป็นค่าวัสดุและอุปกรณ์ ทุนวัสดุ อยู่ที่ 60% จากราคา ซึ่งราคาขายอยู่ที่ 300-3,000 บาท ขึ้นอยู่กับความยากง่ายของชิ้นงานที่ทำขึ้น วัสดุอุปกรณ์ ที่จำเป็นต้องใช้ประกอบด้วย กะลามะพร้าว, จั่นมะพร้าว หรือช่อดอกมะพร้าว, เครื่องตัดไฟฟ้า, สว่านไฟฟ้า, เลื่อยฉลุไฟฟ้า, กระดาษทราย, ไม้, หลอดไฟ, สายไฟ, สวิตช์ไฟ, กาวร้อน, แล็กเกอร์ และสีทาไม้
ขั้นตอนการทำ ยกตัวอย่างการทำโคมไฟกะลาตัวไก่ เริ่มจากนำมะพร้าวมาปอกเปลือกให้เหลือแต่ส่วนที่เป็นกะลาทั้งใบไว้ ใช้สว่านไฟฟ้าเจาะรูด้านล่างของกะลา ทำการขูดเนื้อมะพร้าวด้านในออกให้หมด และขัดด้านในกะลาให้สะอาด จากนั้นนำกะลามาขัดผิวด้านนอกให้เรียบ สังเกตว่าลูบแล้วผิวกะลาจะมีลักษณะลื่นมือ นำกะลามาเจาะรูให้ทั่วทั้งใบ เพื่อให้แสงไฟสามารถลอดผ่านออกมาได้ โดยกะระยะแต่ละรูให้ห่างเท่า ๆ กัน นำมาขัดด้วยกระดาษทรายให้ผิวเรียบ
ต่อมาเป็นการทำในส่วนหัวไก่-คอไก่ โดยนำไม้ที่เตรียมไว้มาตัดด้วยเครื่องตัดไฟฟ้า ขัดผิวให้เรียบด้วยกระดาษทราย นำเอาจั่นมะพร้าวที่เตรียมไว้มาติดตกแต่งลงบนหัวไก่สำหรับทำเป็นขนช่วงคอไก่ เมื่อทำการตกแต่งเรียบร้อยแล้ว ให้นำมาประกอบกับกะลาที่เจาะรูไว้ โดยใช้ฝุ่นผงกะลาโรยลงก่อน โดยหยดกาวร้อนลงไปตามรอยต่อจะช่วยทำให้ชิ้นส่วนติดแน่นมากขึ้น จากนั้นนำกะลาผ่าซีก 2 ชิ้นมาประกอบเข้าด้วยกัน เพื่อใช้ทำเป็นส่วนหางของไก่และส่วนปีกของไก่ ส่วนขา เล็บ และเดือยไก่นั้น ให้ใช้ไม้มาทำการตัดขึ้นรูป เมื่อได้ส่วนประกอบทั้งหมดแล้ว ให้นำมาติดยึดเข้ากับลำตัวไก่ ยึดติดให้สนิทด้วยกาวร้อน
ขั้นตอนต่อไปเป็นการทำขอนไม้สำหรับให้ไก่ยืน เริ่มจากนำขอนไม้ที่เตรียมไว้มาขัดผิวให้เรียบ นำตัวไก่ที่ประกอบเสร็จแล้วมาติดลงบนขอนไม้ ทำการยึดด้วยกาวร้อน จากนั้นทาสีให้ทั่ว ทิ้งไว้ให้แห้ง และเคลือบผิวด้วยน้ำยาแล็กเกอร์อีกครั้ง ทิ้งให้แห้ง จึงทำการติดชุดไฟ ก็เป็นอันเสร็จขั้นตอนการทำ...
’กะลามะพร้าวที่จะนำมาใช้ทำเป็นโคมไฟนั้น จะเลือกใช้มะพร้าวลูก โดยนำมาปอกเปลือกให้หมดจนเหลือเพียงแต่กะลา จากนั้นจึงคัดกะลาที่มีขนาดพอเหมาะ สำหรับการทำโคมไฟ ซึ่งขนาดของกะลาที่จะใช้นั้น ขึ้นอยู่กับขนาดของโคมไฟที่ต้องการทำ“...เจ้าของชิ้นงานโคมไฟจากกะลา กล่าว
สนใจไปชมได้ที่ บ้านกะลาบาติก เลขที่ 1 แขวงบางมด เขตทุ่ง ครุ กทม. (โทร. 08-1268-6588) หรือสามารถเข้าไปดูได้ที่ facebook : บ้านกะลาบาติก สำหรับงานประดิษฐ์จากวัสดุธรรมชาติอย่างเช่นกะลามะพร้าวนี้ คอลัมน์ ’ช่องทางทำกิน“ เองก็ได้เคยนำเสนอไปแล้วบ้าง แต่ก็ยังมีคนหัวใสคิดประดิษฐ์ทำชิ้นงานจากวัสดุดังกล่าวออกมาอย่างต่อเนื่อง และกับชิ้นงาน ’โคมไฟกะลามะพร้าว“ ของผู้ผลิตรายนี้ ก็เป็นอีกหนึ่งชิ้นงานที่น่าสนใจ.
บดินทร์ ศักดาเยี่ยงยงค์ : รายงาน
คู่มือลงทุน...โคมไฟกะลา
ทุนเบื้องต้น ประมาณ 50,000 บาท
ทุนวัสดุ 60% จากราคา
รายได้ 300-3,000 บาท/ชุด
แรงงาน 1 คนขึ้นไป
ตลาด กลุ่มของตกแต่ง
จุดน่าสนใจ เพิ่มมูลค่าด้วยการออกแบบ
credit by : http://www.dailynews.co.th/Content/Article/241295/‘โคมไฟกะลา’+ไอเดียดี..ยิ่งมีมูลค่า!
วันชัย หนูเทศ-ละเอียด อินทรสมบัติ สองสามีภรรยา เจ้าของชิ้นงาน เล่าว่า...ยึดอาชีพผลิตชิ้นงานจากกะลามะพร้าวมาตั้งแต่ปี 2547 โดยเริ่มจากการผลิตกระเป๋า ก่อนที่จะต่อยอดพัฒนาชิ้นงานให้หลากหลายมากขึ้น โดยปัจจุบันนี้ นอกจากงานกระเป๋าแล้ว ก็ยังมีชิ้นงานอื่น ๆ อาทิ กระปุกออมสิน ตะกร้า ชุดขันโตก และงานโคมไฟจากกะลามะพร้าว...โดยชิ้นงานทั้งหมดจำหน่ายในชื่อ “บ้านกะลาบาติก” ซึ่งก็ได้รับการตอบรับอย่างดีจากลูกค้าที่ชื่นชอบงานฝีมือจากวัสดุธรรมชาติ
สำหรับ “โคมไฟกะลามะพร้าว” ที่ทำอยู่ ซึ่งถือเป็นชิ้นงานโดดเด่นของทางร้านนั้น จุดเด่นอยู่ที่ “ไอเดียการออกแบบ” โดยชิ้นงานที่ผลิตขึ้นมีทั้งโคมไฟรูปสัตว์ และรูปดอกไม้ ซึ่งลูกค้าที่เคยอุดหนุนจะทราบว่า จะมีเอกลักษณ์ไม่ซ้ำใคร ทำให้ลูกค้าจำผลงานของทางร้านได้ หรือศัพท์ในกลุ่มผู้ผลิตงานฝีมือจะเรียกว่ามี “ลายเซ็น” เฉพาะของตัวเอง...
“โคมไฟที่ทำขึ้นจะออกแบบเองทั้งหมด โดยเน้นให้ชิ้นงานมีเอกลักษณ์ของที่ร้าน เพื่อให้ลูกค้าจำได้ว่า สินค้าชิ้นไหนเป็นผลงานของเรา อีกทั้งยังช่วยให้ลูก
ค้ามีตัวเลือกที่หลากหลายขึ้นด้วย ทั้งนี้ ก็ไม่ใช่ว่าจะย่ำอยู่กับที่ แต่ก็มีการคิดรูปแบบใหม่ ๆ ออกแบบลวดลายใหม่ ๆ ออกมาเรื่อย ๆ เพื่อเป็นการหนีคู่แข่งด้วย” ... เจ้าของผลงานกล่าว นี่ก็เป็นอีกแนวทางหนึ่งที่ผู้ผลิตชิ้นงานน่าจะนำไปใช้เป็นกรณีศึกษา “ช่องทางทำกิน” ที่เกี่ยวกับงานประดิษฐ์-งานฝีมือ
ทุนเบื้องต้น สำหรับคนที่จะทำอาชีพนี้ ใช้เงินลงทุนประมาณ 50,000 บาท ส่วนใหญ่เป็นค่าวัสดุและอุปกรณ์ ทุนวัสดุ อยู่ที่ 60% จากราคา ซึ่งราคาขายอยู่ที่ 300-3,000 บาท ขึ้นอยู่กับความยากง่ายของชิ้นงานที่ทำขึ้น วัสดุอุปกรณ์ ที่จำเป็นต้องใช้ประกอบด้วย กะลามะพร้าว, จั่นมะพร้าว หรือช่อดอกมะพร้าว, เครื่องตัดไฟฟ้า, สว่านไฟฟ้า, เลื่อยฉลุไฟฟ้า, กระดาษทราย, ไม้, หลอดไฟ, สายไฟ, สวิตช์ไฟ, กาวร้อน, แล็กเกอร์ และสีทาไม้
ขั้นตอนการทำ ยกตัวอย่างการทำโคมไฟกะลาตัวไก่ เริ่มจากนำมะพร้าวมาปอกเปลือกให้เหลือแต่ส่วนที่เป็นกะลาทั้งใบไว้ ใช้สว่านไฟฟ้าเจาะรูด้านล่างของกะลา ทำการขูดเนื้อมะพร้าวด้านในออกให้หมด และขัดด้านในกะลาให้สะอาด จากนั้นนำกะลามาขัดผิวด้านนอกให้เรียบ สังเกตว่าลูบแล้วผิวกะลาจะมีลักษณะลื่นมือ นำกะลามาเจาะรูให้ทั่วทั้งใบ เพื่อให้แสงไฟสามารถลอดผ่านออกมาได้ โดยกะระยะแต่ละรูให้ห่างเท่า ๆ กัน นำมาขัดด้วยกระดาษทรายให้ผิวเรียบ
ต่อมาเป็นการทำในส่วนหัวไก่-คอไก่ โดยนำไม้ที่เตรียมไว้มาตัดด้วยเครื่องตัดไฟฟ้า ขัดผิวให้เรียบด้วยกระดาษทราย นำเอาจั่นมะพร้าวที่เตรียมไว้มาติดตกแต่งลงบนหัวไก่สำหรับทำเป็นขนช่วงคอไก่ เมื่อทำการตกแต่งเรียบร้อยแล้ว ให้นำมาประกอบกับกะลาที่เจาะรูไว้ โดยใช้ฝุ่นผงกะลาโรยลงก่อน โดยหยดกาวร้อนลงไปตามรอยต่อจะช่วยทำให้ชิ้นส่วนติดแน่นมากขึ้น จากนั้นนำกะลาผ่าซีก 2 ชิ้นมาประกอบเข้าด้วยกัน เพื่อใช้ทำเป็นส่วนหางของไก่และส่วนปีกของไก่ ส่วนขา เล็บ และเดือยไก่นั้น ให้ใช้ไม้มาทำการตัดขึ้นรูป เมื่อได้ส่วนประกอบทั้งหมดแล้ว ให้นำมาติดยึดเข้ากับลำตัวไก่ ยึดติดให้สนิทด้วยกาวร้อน
ขั้นตอนต่อไปเป็นการทำขอนไม้สำหรับให้ไก่ยืน เริ่มจากนำขอนไม้ที่เตรียมไว้มาขัดผิวให้เรียบ นำตัวไก่ที่ประกอบเสร็จแล้วมาติดลงบนขอนไม้ ทำการยึดด้วยกาวร้อน จากนั้นทาสีให้ทั่ว ทิ้งไว้ให้แห้ง และเคลือบผิวด้วยน้ำยาแล็กเกอร์อีกครั้ง ทิ้งให้แห้ง จึงทำการติดชุดไฟ ก็เป็นอันเสร็จขั้นตอนการทำ...
’กะลามะพร้าวที่จะนำมาใช้ทำเป็นโคมไฟนั้น จะเลือกใช้มะพร้าวลูก โดยนำมาปอกเปลือกให้หมดจนเหลือเพียงแต่กะลา จากนั้นจึงคัดกะลาที่มีขนาดพอเหมาะ สำหรับการทำโคมไฟ ซึ่งขนาดของกะลาที่จะใช้นั้น ขึ้นอยู่กับขนาดของโคมไฟที่ต้องการทำ“...เจ้าของชิ้นงานโคมไฟจากกะลา กล่าว
สนใจไปชมได้ที่ บ้านกะลาบาติก เลขที่ 1 แขวงบางมด เขตทุ่ง ครุ กทม. (โทร. 08-1268-6588) หรือสามารถเข้าไปดูได้ที่ facebook : บ้านกะลาบาติก สำหรับงานประดิษฐ์จากวัสดุธรรมชาติอย่างเช่นกะลามะพร้าวนี้ คอลัมน์ ’ช่องทางทำกิน“ เองก็ได้เคยนำเสนอไปแล้วบ้าง แต่ก็ยังมีคนหัวใสคิดประดิษฐ์ทำชิ้นงานจากวัสดุดังกล่าวออกมาอย่างต่อเนื่อง และกับชิ้นงาน ’โคมไฟกะลามะพร้าว“ ของผู้ผลิตรายนี้ ก็เป็นอีกหนึ่งชิ้นงานที่น่าสนใจ.
บดินทร์ ศักดาเยี่ยงยงค์ : รายงาน
คู่มือลงทุน...โคมไฟกะลา
ทุนเบื้องต้น ประมาณ 50,000 บาท
ทุนวัสดุ 60% จากราคา
รายได้ 300-3,000 บาท/ชุด
แรงงาน 1 คนขึ้นไป
ตลาด กลุ่มของตกแต่ง
จุดน่าสนใจ เพิ่มมูลค่าด้วยการออกแบบ
credit by : http://www.dailynews.co.th/Content/Article/241295/‘โคมไฟกะลา’+ไอเดียดี..ยิ่งมีมูลค่า!
ขายของได้ทุกที่ บนรถขายขายของเคลื่อนที่ ได้ทั้งของกินและเครื่องดื่ม
ตัวอย่างอาชีพค้าขายที่ไม่ง้อทำเล(รูป)ตอน 1-12
download ...http://bit.ly/2kYAKOt
ตัวอย่างอาชีพค้าขายที่ไม่ง้อทำเล(รูป)ตอน 1-12
download ...http://bit.ly/2kYAKOt
Adv