“รองเท้าแฮนด์เมด”
นับว่าเป็นสินค้างานฝีมือที่หลายคนใช้ทำเงินและสร้างอาชีพได้
ยิ่งถ้าหากรู้จักคิด-รู้จักพัฒนาไอเดีย
ทำให้ชิ้นงานโดดเด่นไม่ซ้ำแบบใครด้วยแล้ว โอกาสอยู่รอดก็มีสูง อย่างเช่น
“ณัฐวุฒิ สายะสมิต”
ที่พยายามคิดสร้างสรรค์และออกแบบสินค้ารองเท้าแฮนด์เมดให้มีลวดลายโดดเด่น
โดนใจ จนกลายเป็น “ช่องทางทำกิน” ได้อย่างน่าสนใจ ที่วันนี้
คอลัมน์นี้ก็มีข้อมูลมานำเสนอให้พิจารณากัน...
ณัฐวุฒิ เจ้าของชิ้นงาน เล่าว่า ยึดอาชีพผลิตรองเท้าแฮนด์เมดนี้มานานกว่า 3 ปีแล้ว โดยไม่เคยคิดมาก่อนว่าจะยึดงานฝีมือตัวนี้ทำเป็นอาชีพ เนื่องจากก่อนหน้านี้มีงานประจำทำอยู่แล้ว จนต่อมาได้แรงบันดาลใจหลังจากไปเดินเล่นตามตลาดนัดหลายแห่ง ก็ได้เกิดความชอบ จึงซื้อมาลองใส่ และขยายต่อมาจนทำเป็นอาชีพโดยเริ่มจากการรับรองเท้ามาจำหน่ายก่อน ต่อมาเมื่อร้านที่เคยรับสินค้ามาขายนั้นเลิกกิจการ แต่เขาคิดว่าธุรกิจตรงจุดนี้ยังไปต่อได้ จึงตัดสินใจผลิตรองเท้าแฮนด์เมดขึ้นเอง จนพัฒนากลายมาเป็นชิ้นงานที่จำหน่ายอยู่ในปัจจุบันนี้...
’ตอนแรกก็รับสินค้ามาขายต่อ จนร้านที่ผลิตเขาเลิกทำ และพอดีได้มารู้จักกับช่างทำรองเท้าคนหนึ่งซึ่งเป็นพ่อของเพื่อน เราก็เลยหันมาผลิตรองเท้าแฮนด์เมดของตัวเองเต็มตัวตั้งแต่นั้น“...เจ้าของ ชิ้นงานกล่าว พร้อมย้ำว่า รูปทรงและแบบรองเท้าที่ทำขึ้นนั้น เขาจะออกแบบเองทั้งหมด และเน้นเลือกใช้ผ้าที่มีลวดลายสดใส เพราะกลุ่มเป้าหมายของรองเท้าแฮนด์เมดส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มวัยรุ่น นักเรียน-นักศึกษา และพนักงานออฟฟิศ
ทุนเบื้องต้น ใช้เงินลงทุนประมาณ 50,000 บาท ส่วนใหญ่จะเป็นค่าวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ในงานทำรองเท้า ทุนวัสดุ อยู่ที่ประมาณ 50% จากราคา ซึ่งราคาขายอยู่ที่คู่ละ 280 บาท วัสดุอุปกรณ์ ประกอบด้วย ผ้าชนิดต่าง ๆ เช่น ผ้าแคนวาส หรือจะเป็นผ้าชนิดอื่นก็ได้ แต่ขอให้ผ้ามีความยืดหยุ่น, ปั๊มลม, เครื่องอัดลม, เครื่องเจีย, จักรเย็บผ้า, หุ่นรองเท้า, พื้นรองเท้าสำเร็จรูป, พื้นรองด้านในรองเท้า, เชือกปอถัก, คีม, ค้อน, ตะปู, กรรไกร, มีด, กาวยาง
ขั้นตอนการทำ เริ่มจากการทำแบบแพตเทิร์นของรองเท้าก่อน โดยแพตเทิร์นมีอยู่ 2 ส่วนคือ ส่วนหัวรองเท้าและส่วนตัวรองเท้า เมื่อได้แพตเทิร์นแล้วให้เลือกผ้าที่จะนำมาทำ เลือกได้แล้วก็ให้นำแพตเทิร์นรองเท้าวางทาบลงบนผืนผ้า จากนั้นทำการตัดผ้าตามแบบแพตเทิร์น เมื่อตัดเสร็จแล้วจะได้ส่วนหัวรองเท้าและส่วนตัวรองเท้า
ขั้นตอนต่อมา ให้นำส่วนที่เป็นตัวรองเท้าเย็บยางยืดไว้ที่บริเวณขอบด้านในรองเท้า ซึ่งเป็นจุดที่จะใช้สำหรับสวมใส่ จากนั้นนำผ้าที่เป็นส่วนของตัวรองเท้ามาทำการเย็บติดเข้าไว้ด้วยกันเพื่อ ขึ้นทรงของรองเท้า ซึ่งหลังจากที่เย็บทั้ง 2 ส่วนติดกันแล้ว ก็ให้นำชิ้นส่วนดังกล่าวมาขึ้นที่หุ่นรองเท้า ซึ่งทำการติดพื้นรองด้านในไว้ใต้หุ่นรองเท้าไว้ก่อนแล้ว โดยใช้ตะปูตอกยึดให้ติดกับหุ่นรองเท้าไว้ เมื่อเสร็จสิ้นขั้นตอนดังกล่าวแล้ว ก็ให้นำมาสวมลงบนหุ่นรองเท้า และใช้กาวยางทาให้ทั่วบริเวณตรงขอบใต้พื้นรองเท้า จากนั้นทิ้งไว้เพื่อรอให้กาวแห้งสนิท
เมื่อกาวแห้งดีแล้วให้นำคีมที่เตรียมไว้มาทำการดึงเพื่อขึงตัวรองเท้าให้ เข้ารูปกับหุ่นรองเท้า โดยให้ทำแบบนี้ไปเรื่อย ๆ ทั้งนี้ ขั้นตอนนี้ทำเพื่อให้ขอบของรองเท้าเรียบไม่เป็นลอนเป็นคลื่น จากนั้นให้นำเชือกปอถักมาทากาวยางติดที่ขอบโดยติดให้รอบขอบรองเท้า ขั้นตอนต่อไป นำพื้นรองเท้าสำเร็จรูปไปขัดผิวให้เรียบ จากนั้นใช้กาวยางทาที่พื้นรองเท้าแล้วขัดผิวให้ทั่วอีกครั้ง ทากาวยางที่พื้นรองเท้าที่ขึงไว้กับหุ่นเท้า รอจนกาวแห้งดีแล้วก็ให้นำพื้นรองเท้ามาติดเข้ากับรองเท้าที่ขึงไว้ นำไปเข้าเครื่องอัดลมเพื่อให้พื้นรองเท้าติดกันสนิทมากยิ่งขึ้น
และนี่ก็เป็นขั้นตอนหลัก ๆ ของการทำรองเท้าแฮนด์เมด ที่สามารถนำไปปรับใช้เพื่อเป็น “ช่องทางทำกิน” ได้...
’เราพยายามคิดแบบและคิดลายใหม่ ๆ ให้ออกมาเรื่อย ๆ เพื่อทำให้ร้านดูไม่นิ่งเกินไปนัก และพยายามติดตามกระแสความนิยมของลูกค้าว่า ช่วงนี้ชอบหรือนิยมลวดลายแบบไหน จากนั้นก็นำมาปรับให้เข้ากับสไตล์ที่เป็นแนวทางเฉพาะของเรา นอกจากนี้ก็ยังเสริมในเรื่องของบริการหลังการขาย คือรับประกันสินค้า และรับซ่อมแซมรองเท้าให้ลูกค้าอีกด้วย ซึ่งจุดนี้ร้านอื่น ๆ ยังไม่ค่อยมีใครทำกัน“ … ณัฐวุฒิ กล่าว
สนใจงาน ’รองเท้าแฮนด์เมด“ โทร. 08-3802-2141 ทั้งนี้ งานรองเท้าแฮนด์เมดนั้น คอลัมน์ “ช่องทางทำกิน” ได้เคยนำเสนอมาบ้างแล้ว แต่ก็ยังมีคนทำออกมาขายได้เรื่อย ๆ เพราะถือเป็นงานฝีมือที่ไม่มีรูปแบบตายตัว สามารถพลิกแพลงพัฒนาเพื่อทำเป็น ’ช่องทางทำกิน“ กันได้ตลอด เหมือนอย่างเช่นผู้ผลิตชิ้นงานรายนี้...
....................................................................................
คู่มือลงทุน...รองเท้าแฮนด์เมด
ทุนเบื้องต้น ประมาณ 50,000 บาท
ทุนวัตถุดิบ ประมาณ 50% จากราคา
รายได้ ราคา 280 บาทต่อคู่
แรงงาน 1 คนขึ้นไป
ตลาด ตลาดนัด ผลิตเพื่อขายส่ง
จุดน่าสนใจ ทำเป็นอาชีพเสริมได้
บดินทร์ ศักดาเยี่ยงยงค์ : เรื่อง/วรพรรณ เลอสิทธิศักดิ์ : ภาพ
credit by : http://www.dailynews.co.th/Content/Article/242956/‘รองเท้าแฮนด์เมด’+สีเด่น%2Bลายโดน..ทำเงิน!
ณัฐวุฒิ เจ้าของชิ้นงาน เล่าว่า ยึดอาชีพผลิตรองเท้าแฮนด์เมดนี้มานานกว่า 3 ปีแล้ว โดยไม่เคยคิดมาก่อนว่าจะยึดงานฝีมือตัวนี้ทำเป็นอาชีพ เนื่องจากก่อนหน้านี้มีงานประจำทำอยู่แล้ว จนต่อมาได้แรงบันดาลใจหลังจากไปเดินเล่นตามตลาดนัดหลายแห่ง ก็ได้เกิดความชอบ จึงซื้อมาลองใส่ และขยายต่อมาจนทำเป็นอาชีพโดยเริ่มจากการรับรองเท้ามาจำหน่ายก่อน ต่อมาเมื่อร้านที่เคยรับสินค้ามาขายนั้นเลิกกิจการ แต่เขาคิดว่าธุรกิจตรงจุดนี้ยังไปต่อได้ จึงตัดสินใจผลิตรองเท้าแฮนด์เมดขึ้นเอง จนพัฒนากลายมาเป็นชิ้นงานที่จำหน่ายอยู่ในปัจจุบันนี้...
’ตอนแรกก็รับสินค้ามาขายต่อ จนร้านที่ผลิตเขาเลิกทำ และพอดีได้มารู้จักกับช่างทำรองเท้าคนหนึ่งซึ่งเป็นพ่อของเพื่อน เราก็เลยหันมาผลิตรองเท้าแฮนด์เมดของตัวเองเต็มตัวตั้งแต่นั้น“...เจ้าของ ชิ้นงานกล่าว พร้อมย้ำว่า รูปทรงและแบบรองเท้าที่ทำขึ้นนั้น เขาจะออกแบบเองทั้งหมด และเน้นเลือกใช้ผ้าที่มีลวดลายสดใส เพราะกลุ่มเป้าหมายของรองเท้าแฮนด์เมดส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มวัยรุ่น นักเรียน-นักศึกษา และพนักงานออฟฟิศ
ทุนเบื้องต้น ใช้เงินลงทุนประมาณ 50,000 บาท ส่วนใหญ่จะเป็นค่าวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ในงานทำรองเท้า ทุนวัสดุ อยู่ที่ประมาณ 50% จากราคา ซึ่งราคาขายอยู่ที่คู่ละ 280 บาท วัสดุอุปกรณ์ ประกอบด้วย ผ้าชนิดต่าง ๆ เช่น ผ้าแคนวาส หรือจะเป็นผ้าชนิดอื่นก็ได้ แต่ขอให้ผ้ามีความยืดหยุ่น, ปั๊มลม, เครื่องอัดลม, เครื่องเจีย, จักรเย็บผ้า, หุ่นรองเท้า, พื้นรองเท้าสำเร็จรูป, พื้นรองด้านในรองเท้า, เชือกปอถัก, คีม, ค้อน, ตะปู, กรรไกร, มีด, กาวยาง
ขั้นตอนการทำ เริ่มจากการทำแบบแพตเทิร์นของรองเท้าก่อน โดยแพตเทิร์นมีอยู่ 2 ส่วนคือ ส่วนหัวรองเท้าและส่วนตัวรองเท้า เมื่อได้แพตเทิร์นแล้วให้เลือกผ้าที่จะนำมาทำ เลือกได้แล้วก็ให้นำแพตเทิร์นรองเท้าวางทาบลงบนผืนผ้า จากนั้นทำการตัดผ้าตามแบบแพตเทิร์น เมื่อตัดเสร็จแล้วจะได้ส่วนหัวรองเท้าและส่วนตัวรองเท้า
ขั้นตอนต่อมา ให้นำส่วนที่เป็นตัวรองเท้าเย็บยางยืดไว้ที่บริเวณขอบด้านในรองเท้า ซึ่งเป็นจุดที่จะใช้สำหรับสวมใส่ จากนั้นนำผ้าที่เป็นส่วนของตัวรองเท้ามาทำการเย็บติดเข้าไว้ด้วยกันเพื่อ ขึ้นทรงของรองเท้า ซึ่งหลังจากที่เย็บทั้ง 2 ส่วนติดกันแล้ว ก็ให้นำชิ้นส่วนดังกล่าวมาขึ้นที่หุ่นรองเท้า ซึ่งทำการติดพื้นรองด้านในไว้ใต้หุ่นรองเท้าไว้ก่อนแล้ว โดยใช้ตะปูตอกยึดให้ติดกับหุ่นรองเท้าไว้ เมื่อเสร็จสิ้นขั้นตอนดังกล่าวแล้ว ก็ให้นำมาสวมลงบนหุ่นรองเท้า และใช้กาวยางทาให้ทั่วบริเวณตรงขอบใต้พื้นรองเท้า จากนั้นทิ้งไว้เพื่อรอให้กาวแห้งสนิท
เมื่อกาวแห้งดีแล้วให้นำคีมที่เตรียมไว้มาทำการดึงเพื่อขึงตัวรองเท้าให้ เข้ารูปกับหุ่นรองเท้า โดยให้ทำแบบนี้ไปเรื่อย ๆ ทั้งนี้ ขั้นตอนนี้ทำเพื่อให้ขอบของรองเท้าเรียบไม่เป็นลอนเป็นคลื่น จากนั้นให้นำเชือกปอถักมาทากาวยางติดที่ขอบโดยติดให้รอบขอบรองเท้า ขั้นตอนต่อไป นำพื้นรองเท้าสำเร็จรูปไปขัดผิวให้เรียบ จากนั้นใช้กาวยางทาที่พื้นรองเท้าแล้วขัดผิวให้ทั่วอีกครั้ง ทากาวยางที่พื้นรองเท้าที่ขึงไว้กับหุ่นเท้า รอจนกาวแห้งดีแล้วก็ให้นำพื้นรองเท้ามาติดเข้ากับรองเท้าที่ขึงไว้ นำไปเข้าเครื่องอัดลมเพื่อให้พื้นรองเท้าติดกันสนิทมากยิ่งขึ้น
และนี่ก็เป็นขั้นตอนหลัก ๆ ของการทำรองเท้าแฮนด์เมด ที่สามารถนำไปปรับใช้เพื่อเป็น “ช่องทางทำกิน” ได้...
’เราพยายามคิดแบบและคิดลายใหม่ ๆ ให้ออกมาเรื่อย ๆ เพื่อทำให้ร้านดูไม่นิ่งเกินไปนัก และพยายามติดตามกระแสความนิยมของลูกค้าว่า ช่วงนี้ชอบหรือนิยมลวดลายแบบไหน จากนั้นก็นำมาปรับให้เข้ากับสไตล์ที่เป็นแนวทางเฉพาะของเรา นอกจากนี้ก็ยังเสริมในเรื่องของบริการหลังการขาย คือรับประกันสินค้า และรับซ่อมแซมรองเท้าให้ลูกค้าอีกด้วย ซึ่งจุดนี้ร้านอื่น ๆ ยังไม่ค่อยมีใครทำกัน“ … ณัฐวุฒิ กล่าว
สนใจงาน ’รองเท้าแฮนด์เมด“ โทร. 08-3802-2141 ทั้งนี้ งานรองเท้าแฮนด์เมดนั้น คอลัมน์ “ช่องทางทำกิน” ได้เคยนำเสนอมาบ้างแล้ว แต่ก็ยังมีคนทำออกมาขายได้เรื่อย ๆ เพราะถือเป็นงานฝีมือที่ไม่มีรูปแบบตายตัว สามารถพลิกแพลงพัฒนาเพื่อทำเป็น ’ช่องทางทำกิน“ กันได้ตลอด เหมือนอย่างเช่นผู้ผลิตชิ้นงานรายนี้...
....................................................................................
คู่มือลงทุน...รองเท้าแฮนด์เมด
ทุนเบื้องต้น ประมาณ 50,000 บาท
ทุนวัตถุดิบ ประมาณ 50% จากราคา
รายได้ ราคา 280 บาทต่อคู่
แรงงาน 1 คนขึ้นไป
ตลาด ตลาดนัด ผลิตเพื่อขายส่ง
จุดน่าสนใจ ทำเป็นอาชีพเสริมได้
บดินทร์ ศักดาเยี่ยงยงค์ : เรื่อง/วรพรรณ เลอสิทธิศักดิ์ : ภาพ
credit by : http://www.dailynews.co.th/Content/Article/242956/‘รองเท้าแฮนด์เมด’+สีเด่น%2Bลายโดน..ทำเงิน!
ขายของได้ทุกที่ บนรถขายขายของเคลื่อนที่ ได้ทั้งของกินและเครื่องดื่ม
ตัวอย่างอาชีพค้าขายที่ไม่ง้อทำเล(รูป)ตอน 1-12
download ...http://bit.ly/2kYAKOt
ตัวอย่างอาชีพค้าขายที่ไม่ง้อทำเล(รูป)ตอน 1-12
download ...http://bit.ly/2kYAKOt
Adv