วัสดุเหลือใช้ถือเป็นวัตถุดิบยอดฮิตที่มักถูกคนมีไอเดียนำมา
พัฒนา และใช้เป็น ’ช่องทางทำกิน“ ได้อย่างดี
กับวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรอย่าง ’ซังข้าว“ ที่มักถูกทิ้งอย่างไร้ค่านั้น
ก็มีคนหัวดี หยิบจับนำมาพัฒนาจนกลายเป็นงานฝีมือ
หรือเกิดเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่ม
วันนี้ทีม ’ช่องทางทำกิน“ มีข้อมูลมานำเสนอให้พิจารณา กับงาน ’ดอกไม้จากซังข้าว“
สุกัญญา ชอบสำโรง เจ้าของชิ้นงานดอกไม้จากซังข้าว เล่าว่า คิดสนใจที่จะนำวัสดุเหลือใช้อย่างซังข้าวมาพัฒนาเพื่อให้มีมูลค่าเพิ่ม เนื่องจากมองว่า ในแต่ละปีจะมีซังข้าวเหลือทิ้งจากการเกษตรเป็นจำนวนมาก โดยส่วนใหญ่เกษตรกรมักจะนิยมเผาซังข้าวดังกล่าวทิ้ง จะได้ไม่เสียเวลาในการขจัดซังข้าวเหล่านี้ และสะดวกต่อการเตรียมดินเพื่อเพาะปลูกในฤดูทำนาครั้งต่อไป จึงเกิดความคิดว่า หากนำวัสดุที่ถูกทิ้ง หรือถูกมองว่าไร้ประโยชน์เหล่านี้มาพัฒนา ก็น่าจะช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับซังข้าวเหล่านี้ได้ จนสุดท้ายกลายเป็น “วัตถุดิบ” สำหรับใช้ในงานประดิษฐ์ โดยผลิตเป็น “ดอกกล้วยไม้จากซังข้าว” อย่างที่เห็นในปัจจุบัน...
’คิดว่าซังข้าวน่าจะใช้ประโยชน์ได้ จึงพัฒนาจนออกมาเป็นชิ้นงานอย่างที่เห็นเพิ่มความแตกต่างให้กับงานประดิษฐ์ ดอกไม้ ซึ่งซังข้าวถือเป็นวัสดุใหม่ นอกเหนือไปจากวัสดุอย่าง รังไหม ต้นโสน เปลือกข้าวโพด ใบตองแห้ง ที่มีคนทำมาก่อนอยู่แล้ว”... สุกัญญา กล่าว
ทุนเบื้องต้น ใช้เงินลงทุนประมาณ 1,000 บาท ส่วนใหญ่เป็นค่าอุปกรณ์กับเครื่องมือที่ต้องใช้ โดยที่ใช้ทุนไม่มากก็เพราะวัสดุหลักอย่างเช่นซังข้าวนั้น สามารถหาได้หลังจากการเก็บเกี่ยว และเป็นวัสดุที่แทบไม่ต้องซื้อ ทุนวัสดุ อยู่ที่ประมาณ 40% จากราคา ซึ่งราคาขายอยู่ที่ต้นละ 2,000 บาท วัสดุอุปกรณ์ ประกอบด้วย... กระดาษทิซชู, ด้ายเบอร์ 60, กาวลาเท็กซ์, ฟลอร่าเทป, ลวดเบอร์ 22, ก้านลวดสำเร็จรูป, สีอะคริลิก, สีย้อมกก, รากไม้และต้นไม้ สำหรับตกแต่ง และกรรไกร
ขั้นตอนการทำ “การเตรียมซังข้าว” เริ่มจากโดยการเลือกซังข้าวควรเลือกที่สมบูรณ์ไม่แตกหัก นำไปทำความสะอาด โดยนำส่วนที่เป็นซังข้าวมาตัดเปลือกที่หุ้มลำต้นออกแบ่งเป็นท่อน ๆ จากนั้นนำสีย้อมกกมาผสมกับนํ้าสะอาดในอัตราส่วน 1 ช้อนชาต่อนํ้า 1 ถ้วย ต้มจนนํ้าเดือดแล้วนำซังข้าวที่เตรียมไว้ลงย้อม เพื่อให้ซังข้าวติดสี ย้อมทิ้งไว้ประมาณ 1 นาที หลังจากย้อมสีแล้วซังข้าวจะเปลี่ยนเป็นสีเข้ม จากนั้นนำมาผึ่งให้แห้ง เมื่อซังข้าวที่ย้อมสีแห้งแล้ว สีบนซังข้าวจะเปลี่ยนจากสีเข้มเป็น สีที่อ่อนมากขึ้น ทำการคลี่ออกเป็นแผ่น ๆ หรือใช้เตารีดทำการรีดซังข้าวเพื่อให้ตรงก็ได้ หลังจากได้ซังข้าวย้อมสีแล้ว ให้นำมาตัดขึ้นรูปเป็นกลีบดอกกล้วย ไม้ ซึ่งดอกกล้วยไม้ที่ทำนั้นเป็นพันธุ์ “เอื้องเสือโคร่ง” สำหรับการตัดกลีบต้องตัด 3 แบบคือ ปากดอก กลีบเลี้ยงบน และกลีบด้านข้าง เมื่อตัดจนได้กลีบดอกกล้วยไม้แล้ว ให้ทำการรีดกลีบให้โค้งงอ เลียนแบบความพลิ้วไหวของดอกกล้วยไม้
หลังจากได้กลีบดอกครบ 3 แบบ แล้วนำมาประกอบเป็นดอกกล้วยไม้ เริ่มจากนำซังข้าวมาพันทับหุ้มก้านลวดสำเร็จรูป จากนั้นพับทบปลาย ทำการมัดด้วยด้าย นำกลีบปากดอกมาประกบใต้รอยพับเข้ากับก้านดอก ทำการมัดให้แน่น นำกลีบเลี้ยงบนมาประกบกับปากดอก นำกลีบดอกมาประกบเข้าด้านซ้าย-ขวาให้อยู่ตรงข้ามกัน แล้วนำกลีบเลี้ยงมาประกบเฉียงลงด้านล่างมัดให้แน่น โดยเมื่อประกอบดอกเสร็จแล้วให้ใช้สีอะคริลิกทำการตกแต่งลวดลาย
“การทำใบ” นำซังข้าวที่เตรียมไว้มาตัดเป็นท่อน ๆ นำฟลอร่าเทปวางทาบบนซังข้าว จากนั้นให้ทำเหมือนกันจำนวน 2 ชิ้น ใช้กาวลาเท็กซ์ทาด้านที่ไม่ได้ทาบฟลอร่าเทป นำทั้ง 2 ชิ้นมาประกบกัน ใช้กรรไกรตัดขึ้นรูปใบ นำฟลอร่าเทปพันด้านข้าง โดยใช้ลวดเบอร์ 22 ยึดประกบเข้ากับลำต้นของกล้วยไม้
“การทำลำต้น” ใช้กระดาษทิซชูพันติดกับก้านลวดสำเร็จรูปให้มีลักษณะเป็นปล้อง ๆ เหมือนลำต้นกล้วยไม้ ใช้กาวลาเท็กซ์ยึดติด ระหว่างกระดาษทิซชูกับก้านลวด นำซังข้าวมาหุ้มที่ก้านลวดโดยใช้ด้ายเบอร์ 60 มัดให้เป็นปล้องตาม จากนั้นให้ทำการพันด้วยฟลอร่าเทป โดยเริ่มพันจากฟลอร่าเทปสีเขียวเข้มก่อน เสร็จแล้วให้ใช้ฟลอร่าเทปสีเขียวอ่อนพันทับอีกชั้น ทำการเคลือบด้วยกาวลาเท็กซ์ให้ผิวมันวาว จากนั้นทำการเข้าช่อดอก ด้วยการนำกระดาษทิซชูมาปั้นให้เป็นรูปดอกตูม ใช้ฟลอร่าเทปสีเขียวอ่อนพันหุ้ม นำดอกตูมที่ได้มาเข้าช่อ โดยนำดอกกล้วยไม้ที่เตรียมไว้พันเข้ากับก้านดอก พันด้วยฟลอร่าเทปอีกครั้ง ซึ่งในการเข้าช่อให้หันหน้าดอกกล้วยไม้ไปทิศทางเดียวกัน นำช่อดอก ใบ มาประกอบกับลำต้นกล้วยไม้ เป็นอันเสร็จขั้นตอนการทำ...
’การประดิษฐ์ดอกกล้วยไม้จากซังข้าวนั้น ต้องดูว่าควรใช้กล้วยไม้พันธุ์ไหนที่นำมาทำแล้วเข้ากับวัสดุที่ใช้มากที่สุด โดยซังข้าวที่นำมาใช้เป็นวัสดุ เป็นซังข้าวนาปี เนื่องจากมีความกว้างของซังข้าวเพียงพอที่จะนำมาใช้ทำกลีบดอก และควรเป็นซังข้าวที่ตัดมาใหม่ ๆ เพราะจะเหนียว และมีสีสันกว่าซังข้าวเก่า ก่อนที่จะนำมาใช้งานควรพรมนํ้าเล็กน้อย เพื่อให้นิ่ม ไม่แตกง่าย แต่หลังจากพรมนํ้า ควรผึ่งให้แห้ง เพื่อป้องกันการเกิดเชื้อรา“...เป็นคำแนะนำจากสุกัญญา และนี่ก็เป็นอีกกรณี ’ช่องทางทำกิน“ งานประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้ที่น่าสนใจ
สนใจ ’งานดอกกล้วยไม้ซังข้าว“ ติดต่อที่ โทร.08-9041-5883 ซึ่งนี่ก็เป็นงานฝีมืออีกชนิด ที่นำเอาวัสดุเหลือใช้มาพัฒนาเพิ่มมูลค่าให้ชิ้นงาน และเป็นอีกหนึ่ง ’ช่องทางทำกิน“ ที่น่าพิจารณา...
บดินทร์ ศักดาเยี่ยงยงค์ : รายงาน
http://www.dailynews.co.th/Content/Article/237856/‘ดอกไม้ซังข้าว’+เพิ่มค่า+‘วัสดุเหลือใช้’
วันนี้ทีม ’ช่องทางทำกิน“ มีข้อมูลมานำเสนอให้พิจารณา กับงาน ’ดอกไม้จากซังข้าว“
สุกัญญา ชอบสำโรง เจ้าของชิ้นงานดอกไม้จากซังข้าว เล่าว่า คิดสนใจที่จะนำวัสดุเหลือใช้อย่างซังข้าวมาพัฒนาเพื่อให้มีมูลค่าเพิ่ม เนื่องจากมองว่า ในแต่ละปีจะมีซังข้าวเหลือทิ้งจากการเกษตรเป็นจำนวนมาก โดยส่วนใหญ่เกษตรกรมักจะนิยมเผาซังข้าวดังกล่าวทิ้ง จะได้ไม่เสียเวลาในการขจัดซังข้าวเหล่านี้ และสะดวกต่อการเตรียมดินเพื่อเพาะปลูกในฤดูทำนาครั้งต่อไป จึงเกิดความคิดว่า หากนำวัสดุที่ถูกทิ้ง หรือถูกมองว่าไร้ประโยชน์เหล่านี้มาพัฒนา ก็น่าจะช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับซังข้าวเหล่านี้ได้ จนสุดท้ายกลายเป็น “วัตถุดิบ” สำหรับใช้ในงานประดิษฐ์ โดยผลิตเป็น “ดอกกล้วยไม้จากซังข้าว” อย่างที่เห็นในปัจจุบัน...
’คิดว่าซังข้าวน่าจะใช้ประโยชน์ได้ จึงพัฒนาจนออกมาเป็นชิ้นงานอย่างที่เห็นเพิ่มความแตกต่างให้กับงานประดิษฐ์ ดอกไม้ ซึ่งซังข้าวถือเป็นวัสดุใหม่ นอกเหนือไปจากวัสดุอย่าง รังไหม ต้นโสน เปลือกข้าวโพด ใบตองแห้ง ที่มีคนทำมาก่อนอยู่แล้ว”... สุกัญญา กล่าว
ทุนเบื้องต้น ใช้เงินลงทุนประมาณ 1,000 บาท ส่วนใหญ่เป็นค่าอุปกรณ์กับเครื่องมือที่ต้องใช้ โดยที่ใช้ทุนไม่มากก็เพราะวัสดุหลักอย่างเช่นซังข้าวนั้น สามารถหาได้หลังจากการเก็บเกี่ยว และเป็นวัสดุที่แทบไม่ต้องซื้อ ทุนวัสดุ อยู่ที่ประมาณ 40% จากราคา ซึ่งราคาขายอยู่ที่ต้นละ 2,000 บาท วัสดุอุปกรณ์ ประกอบด้วย... กระดาษทิซชู, ด้ายเบอร์ 60, กาวลาเท็กซ์, ฟลอร่าเทป, ลวดเบอร์ 22, ก้านลวดสำเร็จรูป, สีอะคริลิก, สีย้อมกก, รากไม้และต้นไม้ สำหรับตกแต่ง และกรรไกร
ขั้นตอนการทำ “การเตรียมซังข้าว” เริ่มจากโดยการเลือกซังข้าวควรเลือกที่สมบูรณ์ไม่แตกหัก นำไปทำความสะอาด โดยนำส่วนที่เป็นซังข้าวมาตัดเปลือกที่หุ้มลำต้นออกแบ่งเป็นท่อน ๆ จากนั้นนำสีย้อมกกมาผสมกับนํ้าสะอาดในอัตราส่วน 1 ช้อนชาต่อนํ้า 1 ถ้วย ต้มจนนํ้าเดือดแล้วนำซังข้าวที่เตรียมไว้ลงย้อม เพื่อให้ซังข้าวติดสี ย้อมทิ้งไว้ประมาณ 1 นาที หลังจากย้อมสีแล้วซังข้าวจะเปลี่ยนเป็นสีเข้ม จากนั้นนำมาผึ่งให้แห้ง เมื่อซังข้าวที่ย้อมสีแห้งแล้ว สีบนซังข้าวจะเปลี่ยนจากสีเข้มเป็น สีที่อ่อนมากขึ้น ทำการคลี่ออกเป็นแผ่น ๆ หรือใช้เตารีดทำการรีดซังข้าวเพื่อให้ตรงก็ได้ หลังจากได้ซังข้าวย้อมสีแล้ว ให้นำมาตัดขึ้นรูปเป็นกลีบดอกกล้วย ไม้ ซึ่งดอกกล้วยไม้ที่ทำนั้นเป็นพันธุ์ “เอื้องเสือโคร่ง” สำหรับการตัดกลีบต้องตัด 3 แบบคือ ปากดอก กลีบเลี้ยงบน และกลีบด้านข้าง เมื่อตัดจนได้กลีบดอกกล้วยไม้แล้ว ให้ทำการรีดกลีบให้โค้งงอ เลียนแบบความพลิ้วไหวของดอกกล้วยไม้
หลังจากได้กลีบดอกครบ 3 แบบ แล้วนำมาประกอบเป็นดอกกล้วยไม้ เริ่มจากนำซังข้าวมาพันทับหุ้มก้านลวดสำเร็จรูป จากนั้นพับทบปลาย ทำการมัดด้วยด้าย นำกลีบปากดอกมาประกบใต้รอยพับเข้ากับก้านดอก ทำการมัดให้แน่น นำกลีบเลี้ยงบนมาประกบกับปากดอก นำกลีบดอกมาประกบเข้าด้านซ้าย-ขวาให้อยู่ตรงข้ามกัน แล้วนำกลีบเลี้ยงมาประกบเฉียงลงด้านล่างมัดให้แน่น โดยเมื่อประกอบดอกเสร็จแล้วให้ใช้สีอะคริลิกทำการตกแต่งลวดลาย
“การทำใบ” นำซังข้าวที่เตรียมไว้มาตัดเป็นท่อน ๆ นำฟลอร่าเทปวางทาบบนซังข้าว จากนั้นให้ทำเหมือนกันจำนวน 2 ชิ้น ใช้กาวลาเท็กซ์ทาด้านที่ไม่ได้ทาบฟลอร่าเทป นำทั้ง 2 ชิ้นมาประกบกัน ใช้กรรไกรตัดขึ้นรูปใบ นำฟลอร่าเทปพันด้านข้าง โดยใช้ลวดเบอร์ 22 ยึดประกบเข้ากับลำต้นของกล้วยไม้
“การทำลำต้น” ใช้กระดาษทิซชูพันติดกับก้านลวดสำเร็จรูปให้มีลักษณะเป็นปล้อง ๆ เหมือนลำต้นกล้วยไม้ ใช้กาวลาเท็กซ์ยึดติด ระหว่างกระดาษทิซชูกับก้านลวด นำซังข้าวมาหุ้มที่ก้านลวดโดยใช้ด้ายเบอร์ 60 มัดให้เป็นปล้องตาม จากนั้นให้ทำการพันด้วยฟลอร่าเทป โดยเริ่มพันจากฟลอร่าเทปสีเขียวเข้มก่อน เสร็จแล้วให้ใช้ฟลอร่าเทปสีเขียวอ่อนพันทับอีกชั้น ทำการเคลือบด้วยกาวลาเท็กซ์ให้ผิวมันวาว จากนั้นทำการเข้าช่อดอก ด้วยการนำกระดาษทิซชูมาปั้นให้เป็นรูปดอกตูม ใช้ฟลอร่าเทปสีเขียวอ่อนพันหุ้ม นำดอกตูมที่ได้มาเข้าช่อ โดยนำดอกกล้วยไม้ที่เตรียมไว้พันเข้ากับก้านดอก พันด้วยฟลอร่าเทปอีกครั้ง ซึ่งในการเข้าช่อให้หันหน้าดอกกล้วยไม้ไปทิศทางเดียวกัน นำช่อดอก ใบ มาประกอบกับลำต้นกล้วยไม้ เป็นอันเสร็จขั้นตอนการทำ...
’การประดิษฐ์ดอกกล้วยไม้จากซังข้าวนั้น ต้องดูว่าควรใช้กล้วยไม้พันธุ์ไหนที่นำมาทำแล้วเข้ากับวัสดุที่ใช้มากที่สุด โดยซังข้าวที่นำมาใช้เป็นวัสดุ เป็นซังข้าวนาปี เนื่องจากมีความกว้างของซังข้าวเพียงพอที่จะนำมาใช้ทำกลีบดอก และควรเป็นซังข้าวที่ตัดมาใหม่ ๆ เพราะจะเหนียว และมีสีสันกว่าซังข้าวเก่า ก่อนที่จะนำมาใช้งานควรพรมนํ้าเล็กน้อย เพื่อให้นิ่ม ไม่แตกง่าย แต่หลังจากพรมนํ้า ควรผึ่งให้แห้ง เพื่อป้องกันการเกิดเชื้อรา“...เป็นคำแนะนำจากสุกัญญา และนี่ก็เป็นอีกกรณี ’ช่องทางทำกิน“ งานประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้ที่น่าสนใจ
สนใจ ’งานดอกกล้วยไม้ซังข้าว“ ติดต่อที่ โทร.08-9041-5883 ซึ่งนี่ก็เป็นงานฝีมืออีกชนิด ที่นำเอาวัสดุเหลือใช้มาพัฒนาเพิ่มมูลค่าให้ชิ้นงาน และเป็นอีกหนึ่ง ’ช่องทางทำกิน“ ที่น่าพิจารณา...
บดินทร์ ศักดาเยี่ยงยงค์ : รายงาน
http://www.dailynews.co.th/Content/Article/237856/‘ดอกไม้ซังข้าว’+เพิ่มค่า+‘วัสดุเหลือใช้’
ขายของได้ทุกที่ บนรถขายขายของเคลื่อนที่ ได้ทั้งของกินและเครื่องดื่ม
ตัวอย่างอาชีพค้าขายที่ไม่ง้อทำเล(รูป)ตอน 1-12
download ...http://bit.ly/2kYAKOt
ตัวอย่างอาชีพค้าขายที่ไม่ง้อทำเล(รูป)ตอน 1-12
download ...http://bit.ly/2kYAKOt
Adv