“ผมคิดว่า อาชีพนี้เป็นอาชีพที่ไม่ตาย
แม้ว่าจะในช่วงที่เศรษฐกิจไม่ดีก็ตาม นับว่าเป็นจุดเด่นของอาชีพนี้เลยนะ”
เฮียงี้ หรือ นายนเรศ วงศ์วรมัยกุล เจ้าของบริษัท ธัญกิจเพนท์ จำกัด
เล่าด้วยน้ำเสียงแห่งความภาคภูมิใจถึงอาชีพนักผสมสี
ผู้อยู่เบื้องหลังสีสันต่าง ๆ ที่แต่งแต้มอยู่บนตัวรถ โดยให้เหตุผลว่า
แม้เศรษฐกิจไม่ดี คนก็ยังต้องใช้รถยนต์ อาจเกิดการเฉี่ยวชนกันบ้าง
จึงจำเป็นต้องใช้สีพ่นเพื่อแก้ไขรอยด่างที่เกิดขึ้น
ชื่อเสียงเรียงนามของเฮียงี้ ในวงการสีพ่นรถยนต์นั้นน้อยคนจะไม่รู้จัก เพราะฝีมือของเฮียงี้เป็นที่ประจักษ์แก่สายตาลูกค้าว่ามีความเที่ยงตรงและ แม่นยำขนาดไหน เพราะไม่ว่าลูกค้าต้องการสีใด เฮียงี้ก็สรรค์สร้าง “แต่งสี” ให้สวยสดโดนใจลูกค้านักต่อนัก ราวกับว่าถอดมาจากต้นแบบจริง ๆ
เฮียงี้เล่าว่า จุดเริ่มต้นที่ทำให้เลือกงานนี้ คือ แต่ก่อนเศรษฐกิจทางบ้านไม่เอื้ออำนวย ก็เลยต้องหาอาชีพที่สามารถเลี้ยงเราได้ตลอดชีวิต จึงมองไปที่อาชีพช่าง ซึ่งเป็นอาชีพยอดนิยมในสมัยนั้น แต่พอทำไปได้สักปีกว่า ๆ ทางเจ้าของอู่เขาก็ให้เราย้ายไปทำฝ่ายสี ซึ่งเราก็ต้องเรียนรู้ด้วยตนเองใหม่ทั้งหมด แต่เราก็ยังไม่ชอบเรื่องสี จึงไปสมัครงานที่อื่น เขาก็ให้เราทำเรื่องสีอีกและด้วยความโชคดีเขาก็ยกบริษัทให้เราก็เลยยึดอาชีพ นี้ตั้งแต่นั้นมา และด้วยความที่เราต้องอยู่กับมันทุกๆ วัน ก็กลับทำให้เรารักอาชีพนี้ขึ้นมา และตอนนี้ก็ทำงานด้านนี้มากว่า 30 ปีแล้ว
ส่วนลักษณะงานของช่างผสมสีพ่นรถยนต์ เริ่มจากรับชิ้นส่วนรถมาจากอู่ซ่อมรถ ซึ่งชิ้นส่วนนี้จะเป็นส่วนของฝาช่องเติมน้ำมันรถเพราะมีขนาดเล็กและถอดง่าย โดยจะมีสีต้นแบบและสูตรของสีนั้นแนบมาด้วย แล้วเราก็ผสมตามนั้น ค่อยๆขึ้นสีทีละนิด จนสีคล้ายที่สุด แล้วก็นำมาพ่นทดลองเพื่อดูสี แต่สีที่ได้นี้จะไม่มีทางเหมือนสีต้นฉบับ 100% เมื่อได้สีแล้วเราก็จะประสานงานกับทางช่างพ่นสีว่าต้องพ่นแบบไหน สีจึงจะออกมาสวยที่สุด
เรื่องการผสมสีให้เหมือนต้นฉบับมากที่สุดนั้น เฮียงี้ บอกว่า ทักษะที่จำเป็นสำหรับอาชีพนี้คือ ต้องรู้ภาษาอังกฤษ พอที่จะอ่านตัวอักษรออก ไม่ต้องถึงขั้นพูดได้ และก็ต้องคิดคำนวณเลขเป็นเพราะในสูตรสีจะใช้รหัสเป็นภาษาอังกฤษและมีตัว เลขบอกปริมาณจึงจำเป็นต้องรู้วิธีการคิดเลขเพื่อลดหรือเพิ่มปริมาณสีตามสูตร
แต่การผสมสีนี้ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะกว่าจะรู้ว่าสีที่เราผสมนั้นเพี้ยนหรือไม่ มีเคล็ดลับง่าย ๆ คือ หมั่นฝึกฝนทำบ่อย ๆ จนเกิดทักษะ เกิดความชำนาญ เพราะงานผสมสีเป็นงานที่ใช้สายตาวัดคุณภาพของผลงาน ดังนั้นต้องอาศัยประสบการณ์สูง สมัยก่อนเมื่อตอนอยู่ที่อู่ ก็ไม่มีใครสอนเรา เราต้องเรียนรู้เองด้วยการเปิดสูตรสีดูแล้วทำตาม เพราะสูตรจะมีบอกว่าแต่ละสีประกอบด้วยแม่สีอะไรบ้าง พอมีความชำนาญแล้ว เมื่อหยิบสีมาหนึ่งสี เราก็จะรู้แล้วว่าสีนี้ประกอบด้วยสีอะไรบ้าง
เฮียงี้เล่าถึงเคล็ดลับในการทำธุรกิจว่า เราใช้ใจบริการลูกค้า เพราะทุกวันนี้เราอยู่ได้ไม่ใช่เพราะตัวเราเอง แต่เป็นเพราะลูกค้าต่างหาก โดยมองว่าทุกคนที่ใช้สินค้าของเราคือนายจ้างเราทั้งสิ้น ดังนั้น เราจะต้องทำให้ถูกใจเขาที่สุด และใช้ความซื่อสัตย์ ไม่มีการโกหกลูกค้าเด็ดขาด มอบความเชื่อใจให้แก่กันและกัน ธุรกิจของเราก็จะดำเนินต่อไปได้
แม้อาชีพนักผสมสีจะเป็นเพียงอาชีพเล็ก ๆ ในสังคม แต่ก็เป็นอาชีพที่สร้างความสุขให้แก่คนรักรถยนต์เป็นจำนวนมาก
หากท่านใดสนใจหรือต้องการแลกเปลี่ยนความรู้เรื่องของสี ติดต่อพูดคุยได้โดยตรงที่ 44/8-9 ถนนสุขุมวิท 21 (อโศก) แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ โทร. 0-2664-1720, 0-2258-3631.
จันทร์พร พนัสเจริญ
Credit by http://www.dailynews.co.th/article/376/201797
ชื่อเสียงเรียงนามของเฮียงี้ ในวงการสีพ่นรถยนต์นั้นน้อยคนจะไม่รู้จัก เพราะฝีมือของเฮียงี้เป็นที่ประจักษ์แก่สายตาลูกค้าว่ามีความเที่ยงตรงและ แม่นยำขนาดไหน เพราะไม่ว่าลูกค้าต้องการสีใด เฮียงี้ก็สรรค์สร้าง “แต่งสี” ให้สวยสดโดนใจลูกค้านักต่อนัก ราวกับว่าถอดมาจากต้นแบบจริง ๆ
เฮียงี้เล่าว่า จุดเริ่มต้นที่ทำให้เลือกงานนี้ คือ แต่ก่อนเศรษฐกิจทางบ้านไม่เอื้ออำนวย ก็เลยต้องหาอาชีพที่สามารถเลี้ยงเราได้ตลอดชีวิต จึงมองไปที่อาชีพช่าง ซึ่งเป็นอาชีพยอดนิยมในสมัยนั้น แต่พอทำไปได้สักปีกว่า ๆ ทางเจ้าของอู่เขาก็ให้เราย้ายไปทำฝ่ายสี ซึ่งเราก็ต้องเรียนรู้ด้วยตนเองใหม่ทั้งหมด แต่เราก็ยังไม่ชอบเรื่องสี จึงไปสมัครงานที่อื่น เขาก็ให้เราทำเรื่องสีอีกและด้วยความโชคดีเขาก็ยกบริษัทให้เราก็เลยยึดอาชีพ นี้ตั้งแต่นั้นมา และด้วยความที่เราต้องอยู่กับมันทุกๆ วัน ก็กลับทำให้เรารักอาชีพนี้ขึ้นมา และตอนนี้ก็ทำงานด้านนี้มากว่า 30 ปีแล้ว
ส่วนลักษณะงานของช่างผสมสีพ่นรถยนต์ เริ่มจากรับชิ้นส่วนรถมาจากอู่ซ่อมรถ ซึ่งชิ้นส่วนนี้จะเป็นส่วนของฝาช่องเติมน้ำมันรถเพราะมีขนาดเล็กและถอดง่าย โดยจะมีสีต้นแบบและสูตรของสีนั้นแนบมาด้วย แล้วเราก็ผสมตามนั้น ค่อยๆขึ้นสีทีละนิด จนสีคล้ายที่สุด แล้วก็นำมาพ่นทดลองเพื่อดูสี แต่สีที่ได้นี้จะไม่มีทางเหมือนสีต้นฉบับ 100% เมื่อได้สีแล้วเราก็จะประสานงานกับทางช่างพ่นสีว่าต้องพ่นแบบไหน สีจึงจะออกมาสวยที่สุด
เรื่องการผสมสีให้เหมือนต้นฉบับมากที่สุดนั้น เฮียงี้ บอกว่า ทักษะที่จำเป็นสำหรับอาชีพนี้คือ ต้องรู้ภาษาอังกฤษ พอที่จะอ่านตัวอักษรออก ไม่ต้องถึงขั้นพูดได้ และก็ต้องคิดคำนวณเลขเป็นเพราะในสูตรสีจะใช้รหัสเป็นภาษาอังกฤษและมีตัว เลขบอกปริมาณจึงจำเป็นต้องรู้วิธีการคิดเลขเพื่อลดหรือเพิ่มปริมาณสีตามสูตร
แต่การผสมสีนี้ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะกว่าจะรู้ว่าสีที่เราผสมนั้นเพี้ยนหรือไม่ มีเคล็ดลับง่าย ๆ คือ หมั่นฝึกฝนทำบ่อย ๆ จนเกิดทักษะ เกิดความชำนาญ เพราะงานผสมสีเป็นงานที่ใช้สายตาวัดคุณภาพของผลงาน ดังนั้นต้องอาศัยประสบการณ์สูง สมัยก่อนเมื่อตอนอยู่ที่อู่ ก็ไม่มีใครสอนเรา เราต้องเรียนรู้เองด้วยการเปิดสูตรสีดูแล้วทำตาม เพราะสูตรจะมีบอกว่าแต่ละสีประกอบด้วยแม่สีอะไรบ้าง พอมีความชำนาญแล้ว เมื่อหยิบสีมาหนึ่งสี เราก็จะรู้แล้วว่าสีนี้ประกอบด้วยสีอะไรบ้าง
เฮียงี้เล่าถึงเคล็ดลับในการทำธุรกิจว่า เราใช้ใจบริการลูกค้า เพราะทุกวันนี้เราอยู่ได้ไม่ใช่เพราะตัวเราเอง แต่เป็นเพราะลูกค้าต่างหาก โดยมองว่าทุกคนที่ใช้สินค้าของเราคือนายจ้างเราทั้งสิ้น ดังนั้น เราจะต้องทำให้ถูกใจเขาที่สุด และใช้ความซื่อสัตย์ ไม่มีการโกหกลูกค้าเด็ดขาด มอบความเชื่อใจให้แก่กันและกัน ธุรกิจของเราก็จะดำเนินต่อไปได้
แม้อาชีพนักผสมสีจะเป็นเพียงอาชีพเล็ก ๆ ในสังคม แต่ก็เป็นอาชีพที่สร้างความสุขให้แก่คนรักรถยนต์เป็นจำนวนมาก
หากท่านใดสนใจหรือต้องการแลกเปลี่ยนความรู้เรื่องของสี ติดต่อพูดคุยได้โดยตรงที่ 44/8-9 ถนนสุขุมวิท 21 (อโศก) แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ โทร. 0-2664-1720, 0-2258-3631.
จันทร์พร พนัสเจริญ
Credit by http://www.dailynews.co.th/article/376/201797
ขายของได้ทุกที่ บนรถขายขายของเคลื่อนที่ ได้ทั้งของกินและเครื่องดื่ม
ตัวอย่างอาชีพค้าขายที่ไม่ง้อทำเล(รูป)ตอน 1-12
download ...http://bit.ly/2kYAKOt
ตัวอย่างอาชีพค้าขายที่ไม่ง้อทำเล(รูป)ตอน 1-12
download ...http://bit.ly/2kYAKOt
Adv