ร้านโชห่วยเป็นที่รู้จักคุ้นหูคุ้นตาประชาชนคนไทยเป็นอย่างดี โดยเป็นร้านขายของกิน ของใช้ ที่เป็นปัจจัยพื้นฐานของผู้บริโภคจึงทำให้คนไทยมีความผูกพันกับธุรกิจนี้มา ช้านาน แต่ปัจจุบันธุรกิจค้าปลีกขนาดใหญ่ได้ขยายตัวอย่างรวดเร็วและมีกลยุทธ์ด้าน การแข่งขันที่ได้เปรียบกว่า ทำให้พฤติกรรมในการจับจ่ายของผู้บริโภคเปลี่ยนไป ส่งผลให้ร้านโชห่วยจำนวนมากต้องปิดตัวลง
บัญญัติ คำนูณวัฒน์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัทซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ผู้บริหารร้าน เซเว่น อีเลฟเว่น อธิบายภาพรวมธุรกิจค้าปลีกในประเทศไทยว่า ปัจจุบันมีอัตราการขยายตัวสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ทำให้เกิดภาวะแข่งขันที่รุนแรงเช่นเดียวกับในประเทศชั้นนำต่างๆ ทั่วโลก เนื่องจากมาตรการต่างๆ ที่ภาครัฐนำมาใช้ในการเพิ่มกำลังการซื้อให้ผู้บริโภคเพื่อช่วยกระตุ้น เศรษฐกิจ ประกอบกับรูปแบบการดำเนินชีวิตของผู้บริโภคที่ต้องการความสะดวกสบาย ธุรกิจค้าปลีกจึงต้องปรับกลยุทธ์เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน
เซ เว่น อีเลฟเว่น จึงปรับเปลี่ยนจุดยืนจากร้านสะดวกซื้อเป็นร้านอิ่มสะดวกขายสินค้าอาหารและ เครื่องดื่มเป็นหลัก ทำให้มีสินค้าแตกต่างไปจากร้านโชห่วยดั้งเดิม ถือว่าเซเว่นฯ และร้านโชห่วยไม่ใช่คู่แข่งกัน ตรงกันข้ามสินค้าของแต่ละฝ่ายต่างเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน ทำให้สามารถอยู่ร่วมกันเป็นอย่างดีและในฐานะที่เซเว่นฯ เป็นธุรกิจค้าปลีกชั้นนำของคนไทยและประสบความสำเร็จในธุรกิจมาตลอด 20 ปี จึงได้ร่วมกับกรมการค้าภายใน สถาบันเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์ สมาคมพัฒนาธุรกิจปลีกทุนไทยและหอการค้าจังหวัดระยองจัดสัมมนา ทำโชห่วยให้รวยอย่างยั่งยืน ครั้งที่ 5 ขึ้น เพื่อถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ให้กับร้านโชห่วยหรือธุรกิจค้าปลีกแบบดั้ง เดิมของคนไทยด้วยกันโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย เพื่อมุ่งหวังมีส่วนร่วมพัฒนาร้านโชห่วยของไทยให้มีศักยภาพเข้มแข็ง มีความสามารถในการแข่งขันและดำรงธุรกิจให้อยู่ได้อย่างยั่งยืนต่อไป
สำหรับ การทำโชห่วยอย่างไรให้รวยอย่างยั่งยืนนั้น นริศ ธรรมเกื้อกูล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการบริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ได้บรรยายอย่างน่าสนใจว่า เทคนิคการบริหารจัดการค้าปลีกทันสมัย อันดับแรกคือ ลูกค้า เราต้องเอาลูกค้าเป็นตัวตั้งและออกไปสำรวจความต้องการของลูกค้าว่าลูกค้า ต้องการอะไรและไม่ต้องการอะไร อันดับที่สองคือ ตลาด สำรวจว่าตลาดอยู่ที่ไหน ลูกค้ามีกี่กลุ่มและแต่ละกลุ่มมีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร อันดับที่สามคือ การวางแนวทางการดำเนินธุรกิจ ว่าการแข่งขันเป็นอย่างไร สภาพแวดล้อมเป็นอย่างไร และการกำหนดสินค้าและบริการว่าควรเป็นแบบไหนจึงจะเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย อันดับที่สี่คือ ความยึดมั่นของธุรกิจ เช่น ความชัดเจนของธุรกิจที่ทำและความยึดมั่นในแนวคิดแนวทางที่กำหนดไม่วอกแวก
อันดับ ที่ห้าคือ ทำเลหรือช่องทางจัดจำหน่าย ที่เหมาะสมกับแนวคิดของธุรกิจ เช่น ย่านที่มีการค้าเยอะๆ มีผู้คนผ่านมากที่สุด อันดับที่หก คือ การจัดการภายในร้าน ได้แก่ ชั้นวางควรตั้งอยู่ที่ใด สินค้ากลุ่มใดควรอยู่ที่ใด ปริมาณเท่าใด โดยจัดให้เป็นหมวดหมู่เป็นระเบียบเรียบร้อยและการสั่งซื้อสินค้าควรสั่งให้ ตรงกับความต้องการของลูกค้าและมีเพียงพอไม่เสียโอกาส ที่สำคัญคือ ตัด, คัด, สั่ง, เรียง หมายถึงการจัดวางหรือจัดเรียง ถ้าสินค้าไหนลูกค้าไม่ต้องการก็ ตัด ออก และ คัด ไว้แต่สินค้าที่ลูกค้าต้องการควร สั่ง สินค้าให้พอดีรวมทั้งจัด เรียง ให้ถูกต้อง และควรบันทึกการขายเพื่อเก็บข้อมูล
ลำดับสุดท้ายอันดับที่เจ็ด คือ การใช้ข้อมูลกับข้อเท็จจริง โดยการเก็บข้อมูลต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์จริง สถานการณ์จริง ระบุถึงเวลาที่เกิดปริมาณที่เกิดและคุณภาพที่เกิด จากนั้นนำมาวิเคราะห์ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการตัดสินใจสั่งซื้อสินค้าในครั้ง ต่อไป
นอกจากเทคนิคการบริหารจัดการค้าปลีกแล้ว นริศ ยังให้สูตรการสั่งสินค้าด้วยดังนี้ F+M-I=O โดย F คือ การพยากรณ์ (Forecast) ว่าจะขายดีหรือไม่ดีในอนาคต M คือ จำนวนของในคลัง (Mini mum Stock) เผื่อพอขายได้กี่วันจนกว่าของใหม่จะมาส่ง I คือ รายการสินค้าที่มีอยู่ในร้าน (Inventory) นับจำนวนของในคลังคงเหลือก่อนสั่ง และ O คือ (Order) ยอดสั่งที่ถูกคำนวณแล้ว อย่างไรก็ตามการสร้างเครื่องหมายการค้า (Brand) ก็เป็นสิ่งสำคัญโดยจะทำให้เกิดความเชื่อมั่นต่อร้านได้ รวมทั้งสามารถให้ลูกค้าต่อรองได้ ถ้าเรามีทั้งหมดนี้จะทำให้ลูกค้าเกิดการซื้อซ้ำและไม่เปลี่ยนไปหาคู่แข่ง อย่างแน่นอน
"การสัมมนาครั้งนี้ได้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการทำ ธุรกิจหลายอย่าง จากที่เรารู้แค่ 60-70 เปอร์เซ็นต์ก็ได้เพิ่มมาอีกประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์"
สินีนาฎ และอัญชิสา เพชรพาณิชย์ สองพี่น้องเจ้าของร้านอาหารที่เข้าร่วมงานสัมมนา บอกพร้อมเล่าเพิ่มเติมว่า เดิมทีทำร้านอาหารแต่มีความคิดอยากทำร้านโชห่วยหรือร้านขายของฝากเพิ่มเติม แบบครบวงจร พอทราบข่าวจึงเดินทางมาร่วมสัมมนาด้วย ทำให้ได้ความรู้มากกว่าเดิมเป็น 10 เท่า และความรู้ที่ได้ครั้งนี้นำไปประยุกต์ร้านของตัวเองเพื่อเป็นการดึงดูด ลูกค้า ถือเป็นโอกาสที่ดีที่ได้มาร่วมงานครั้งนี้
ด้าน ธัญญานุช อาจรักษา สาวเจ้าของธุรกิจค้าปลีกรายย่อย บอกถึงวัตถุประสงค์ที่มาร่วมงานสัมมนาว่า อยากได้ไอเดียและแนวความคิดใหม่ๆ ไปพัฒนาร้าน รวมทั้งศึกษาธุรกิจอย่างอื่นที่แตกต่างจากแนวเดิมควบคู่ไปด้วย หลังได้ร่วมสัมมนาแล้วรู้สึกว่าได้ความรู้ใหม่ๆ เพิ่มขึ้นหลายอย่าง และรู้สึกดีใจที่หน่วยงานต่างๆ ได้ให้ความสำคัญ เพราะนานแล้วที่ไม่มีใครจัดงานในลักษณะนี้ ที่สำคัญไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายด้วย โดยเฉพาะเซเว่นฯ ตนไม่ได้มองว่าเป็นคู่แข่งและรู้สึกดีที่ภาคเอกชนก็มีส่วนร่วมในการขับ เคลื่อนและพัฒนาธุรกิจค้าปลีกของไทยที่มีมายาวนานตั้งแต่รุ่นต่อรุ่น
ธุรกิจ โชห่วยจะไม่มีวันตายถ้าผู้ประกอบการยอมรับความเปลี่ยนแปลงและปรับปรุง ร้านให้ทันสมัยเข้ากับยุคสมัยอยู่ตลอดเวลาจะทำให้มีประสิทธิภาพสามารถแข่ง ขันกับธุรกิจค้าปลีกขนาดใหญ่ได้อย่างยั่งยืนต่อไป
เปิดตำนานแฟรนไชส์ เซเว่น อีเลฟเว่น สาขาแรกในไทย
บุญมี บุญยิ่งสถิตย์ หรือ เฮียมิ้ง เป็นแฟรนไชส์ซีของเซเว่น อีเลฟเว่น สาขาแรกของไทยมากว่า 18 ปี โดย บุญมี เล่าย้อนกลับไปเมื่อ 20 ปีก่อนว่า รับช่วงกิจการร้านโชห่วยอยู่ที่ถนนเพชรบุรีซอย 5 ต่อจากบิดา มีลูกค้ามากมาย แต่ด้วยความที่ขายของคนเดียวนั่งเฝ้าหน้าร้านเหมือนปู่โสมเฝ้าทรัพย์ ลูกค้าอยากได้อะไรจะหยิบให้ผ่านมือเราตลอด ยอมรับว่าทำธุรกิจแบบนี้เหนื่อย ต่อมามีร้านค้าปลีกติดแอร์มาเปิดใกล้ๆ เจ้าของเป็นพี่น้อง 2-3 คนอายุยังน้อย แต่ก็สามารถทำได้โดยไม่มีประสบการณ์ จึงคิดอยากเปลี่ยนแปลงบ้างประกอบกับมีเจ้าหน้าที่จากซีพีออลล์ มาติดต่อซึ่งตอนนั้นมีความคิดอยากปรับปรุงร้านโชห่วยเป็นแบบใส่กระจกติดแอร์ วางชั้นให้สวยงาม นำเคาน์เตอร์มาติด จึงตัดสินใจปรับเปลี่ยนร้านโชห่วยมาเป็นแฟรนไชส์ซีรายแรกของบริษัทที่เปิด ให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2534
ช่วงที่ทำ 3 เดือนแรกยอมรับว่าเหนื่อยมากกว่าทำโชห่วย เพราะเราไม่เคยใช้พนักงาน ร้านก็เปิดตลอด 24 ชั่วโมง คิดดูว่าจะนอนอย่างไร อีกทั้งมีสินค้าอยู่ในสต๊อกมูลค่าเกือบล้านและพนักงานที่เข้ามาในร้านไว้ใจ ได้หรือไม่ แต่ก็ผ่านพ้นมาได้ด้วยดีเพราะบริษัทได้อบรมเราให้เรียนรู้วิธีบริหารพนักงาน พฤติกรรมของลูกค้า การจัดเรียงสินค้า ตลอดจนนำระบบบัญชีที่มีคุณภาพมาใช้ รวมทั้งช่วยอบรมพนักงานและเข้ามาดูแลเราตลอดจนมีกำไรเปิดสาขาที่ 2 ซึ่งสาขาที่ 2 นี้เปิดมาได้ประมาณ 12 ปี และสาขาที่ 3 เปิดได้ปีกว่า
ปัจจุบันบุญมีเป็นแฟรนไชส์ร้านเซเว่นอีเลฟเว่น 3 สาขา แต่ละสาขาล้วนตั้งอยู่ในทำเลใกล้เคียงกัน แต่ถึงแม้จะอยู่ใกล้กันก็ไม่ได้เป็นปัญหาเพราะแต่ละร้านมีลูกค้าคนละกลุ่ม กัน โดยมี สาธิต บุญยิ่งสถิตย์ หรือ ฮุย ลูกชายช่วยสืบทอดกิจการ
บุญมีบอกด้วยความภาคภูมิใจว่า ถือเป็นโชคดีของเขาที่ตัดสินใจมาเป็นแฟรนไชส์ซีของเซเว่นฯ จึงทำให้ครอบครัวมีธุรกิจที่มั่นคงและเป็นสมบัติที่ทำให้เขาสามารถส่งเสีย ลูกชายจนเรียนจบปริญญาตรีมาช่วยรับช่วงกิจการต่อจนถึงทุกวันนี้
เคล็ดลับเถ้าแก่ยุคใหม่สู่การเป็นเศรษฐี
เคล็ดลับแบบไม่ลับของ ตัน ภาสกรนที กรรมการผู้จัดการ โออิชิ หรือราชาชาเขียวโออิชิ ได้นำประสบการณ์จริงจากการทำธุรกิจที่ประสบความสำเร็จมาถ่ายทอดว่า "การทำธุรกิจอยู่ที่ความเชื่อและเข้าใจในธุรกิจนั้นๆ ไม่จำเป็นต้องมีพื้นฐานหรือการศึกษาด้านนั้นๆ เพราะผมเองก็ไม่มีความรู้ทางด้านชาเขียว แต่ที่สำเร็จได้เพราะผมจะชอบถาม โดยถามจากคนที่มีความรู้คนละนิดละหน่อย และนำมารวมกันก็ได้เป็นความรู้ที่มาก นอกจากนี้เรายังต้องกล้าที่จะคิดอะไรใหม่ๆ และไม่เหมือนคนอื่น ที่ สำคัญต้องกล้าที่จะเปลี่ยนถึงแม้ว่าเราจะคิดว่าสิ่งนั้นดีที่สุดแล้วก็ตาม ยกตัวอย่างเช่น ชาเขียวรสต้นตำรับ เป็นชาเขียวที่มียอดขายดีอยู่แล้ว แต่ตนก็ต้องคิดรสชาติใหม่ๆ เพิ่มขึ้นมาด้วยเพื่อเป็นอีกทางเลือกให้ลูกค้า เพราะลูกค้าคือหัวใจของการขาย
สำหรับ พัลลภ กำลา ประธานกรรมการ ชายสี่หมี่เกี๊ยว เล่าถึงประสบการณ์ชีวิตก่อนเป็นเสี่ยว่า "ผมจบ ป.4 ไม่เข้าใจคำว่าซีเอสอาร์หรือคำศัพท์อะไรเกี่ยวกับธุรกิจเลย แต่เป็นคนมีความฝัน จึงเป็นการจุดประกายเริ่มต้นทำให้มีวันนี้"
พร้อมให้เคล็ดลับว่า การทำธุรกิจร่วมกับคนหมู่มากเป็นธุรกิจที่ยากสุดคือการควบคุมคน ถ้าเราสามารถควบคุมได้ก็ชนะไป 100 เปอร์เซ็นต์ โดยเน้นใส่ใจไปที่คนรอบข้างไม่ว่าจะเป็นลูกน้องหรือลูกค้า พยายามให้สวัสดิการที่เป็นธรรมและโปรโมชั่นที่คุ้มค่า รวมทั้งรู้จักปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดทำสิ่งที่ดีอยู่แล้วให้ดียิ่งขึ้น
ทีมวาไรตี้
Credit by http://news.sanook.com/
เซ เว่น อีเลฟเว่น จึงปรับเปลี่ยนจุดยืนจากร้านสะดวกซื้อเป็นร้านอิ่มสะดวกขายสินค้าอาหารและ เครื่องดื่มเป็นหลัก ทำให้มีสินค้าแตกต่างไปจากร้านโชห่วยดั้งเดิม ถือว่าเซเว่นฯ และร้านโชห่วยไม่ใช่คู่แข่งกัน ตรงกันข้ามสินค้าของแต่ละฝ่ายต่างเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน ทำให้สามารถอยู่ร่วมกันเป็นอย่างดีและในฐานะที่เซเว่นฯ เป็นธุรกิจค้าปลีกชั้นนำของคนไทยและประสบความสำเร็จในธุรกิจมาตลอด 20 ปี จึงได้ร่วมกับกรมการค้าภายใน สถาบันเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์ สมาคมพัฒนาธุรกิจปลีกทุนไทยและหอการค้าจังหวัดระยองจัดสัมมนา ทำโชห่วยให้รวยอย่างยั่งยืน ครั้งที่ 5 ขึ้น เพื่อถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ให้กับร้านโชห่วยหรือธุรกิจค้าปลีกแบบดั้ง เดิมของคนไทยด้วยกันโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย เพื่อมุ่งหวังมีส่วนร่วมพัฒนาร้านโชห่วยของไทยให้มีศักยภาพเข้มแข็ง มีความสามารถในการแข่งขันและดำรงธุรกิจให้อยู่ได้อย่างยั่งยืนต่อไป
สำหรับ การทำโชห่วยอย่างไรให้รวยอย่างยั่งยืนนั้น นริศ ธรรมเกื้อกูล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการบริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ได้บรรยายอย่างน่าสนใจว่า เทคนิคการบริหารจัดการค้าปลีกทันสมัย อันดับแรกคือ ลูกค้า เราต้องเอาลูกค้าเป็นตัวตั้งและออกไปสำรวจความต้องการของลูกค้าว่าลูกค้า ต้องการอะไรและไม่ต้องการอะไร อันดับที่สองคือ ตลาด สำรวจว่าตลาดอยู่ที่ไหน ลูกค้ามีกี่กลุ่มและแต่ละกลุ่มมีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร อันดับที่สามคือ การวางแนวทางการดำเนินธุรกิจ ว่าการแข่งขันเป็นอย่างไร สภาพแวดล้อมเป็นอย่างไร และการกำหนดสินค้าและบริการว่าควรเป็นแบบไหนจึงจะเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย อันดับที่สี่คือ ความยึดมั่นของธุรกิจ เช่น ความชัดเจนของธุรกิจที่ทำและความยึดมั่นในแนวคิดแนวทางที่กำหนดไม่วอกแวก
อันดับ ที่ห้าคือ ทำเลหรือช่องทางจัดจำหน่าย ที่เหมาะสมกับแนวคิดของธุรกิจ เช่น ย่านที่มีการค้าเยอะๆ มีผู้คนผ่านมากที่สุด อันดับที่หก คือ การจัดการภายในร้าน ได้แก่ ชั้นวางควรตั้งอยู่ที่ใด สินค้ากลุ่มใดควรอยู่ที่ใด ปริมาณเท่าใด โดยจัดให้เป็นหมวดหมู่เป็นระเบียบเรียบร้อยและการสั่งซื้อสินค้าควรสั่งให้ ตรงกับความต้องการของลูกค้าและมีเพียงพอไม่เสียโอกาส ที่สำคัญคือ ตัด, คัด, สั่ง, เรียง หมายถึงการจัดวางหรือจัดเรียง ถ้าสินค้าไหนลูกค้าไม่ต้องการก็ ตัด ออก และ คัด ไว้แต่สินค้าที่ลูกค้าต้องการควร สั่ง สินค้าให้พอดีรวมทั้งจัด เรียง ให้ถูกต้อง และควรบันทึกการขายเพื่อเก็บข้อมูล
ลำดับสุดท้ายอันดับที่เจ็ด คือ การใช้ข้อมูลกับข้อเท็จจริง โดยการเก็บข้อมูลต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์จริง สถานการณ์จริง ระบุถึงเวลาที่เกิดปริมาณที่เกิดและคุณภาพที่เกิด จากนั้นนำมาวิเคราะห์ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการตัดสินใจสั่งซื้อสินค้าในครั้ง ต่อไป
นอกจากเทคนิคการบริหารจัดการค้าปลีกแล้ว นริศ ยังให้สูตรการสั่งสินค้าด้วยดังนี้ F+M-I=O โดย F คือ การพยากรณ์ (Forecast) ว่าจะขายดีหรือไม่ดีในอนาคต M คือ จำนวนของในคลัง (Mini mum Stock) เผื่อพอขายได้กี่วันจนกว่าของใหม่จะมาส่ง I คือ รายการสินค้าที่มีอยู่ในร้าน (Inventory) นับจำนวนของในคลังคงเหลือก่อนสั่ง และ O คือ (Order) ยอดสั่งที่ถูกคำนวณแล้ว อย่างไรก็ตามการสร้างเครื่องหมายการค้า (Brand) ก็เป็นสิ่งสำคัญโดยจะทำให้เกิดความเชื่อมั่นต่อร้านได้ รวมทั้งสามารถให้ลูกค้าต่อรองได้ ถ้าเรามีทั้งหมดนี้จะทำให้ลูกค้าเกิดการซื้อซ้ำและไม่เปลี่ยนไปหาคู่แข่ง อย่างแน่นอน
"การสัมมนาครั้งนี้ได้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการทำ ธุรกิจหลายอย่าง จากที่เรารู้แค่ 60-70 เปอร์เซ็นต์ก็ได้เพิ่มมาอีกประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์"
สินีนาฎ และอัญชิสา เพชรพาณิชย์ สองพี่น้องเจ้าของร้านอาหารที่เข้าร่วมงานสัมมนา บอกพร้อมเล่าเพิ่มเติมว่า เดิมทีทำร้านอาหารแต่มีความคิดอยากทำร้านโชห่วยหรือร้านขายของฝากเพิ่มเติม แบบครบวงจร พอทราบข่าวจึงเดินทางมาร่วมสัมมนาด้วย ทำให้ได้ความรู้มากกว่าเดิมเป็น 10 เท่า และความรู้ที่ได้ครั้งนี้นำไปประยุกต์ร้านของตัวเองเพื่อเป็นการดึงดูด ลูกค้า ถือเป็นโอกาสที่ดีที่ได้มาร่วมงานครั้งนี้
ด้าน ธัญญานุช อาจรักษา สาวเจ้าของธุรกิจค้าปลีกรายย่อย บอกถึงวัตถุประสงค์ที่มาร่วมงานสัมมนาว่า อยากได้ไอเดียและแนวความคิดใหม่ๆ ไปพัฒนาร้าน รวมทั้งศึกษาธุรกิจอย่างอื่นที่แตกต่างจากแนวเดิมควบคู่ไปด้วย หลังได้ร่วมสัมมนาแล้วรู้สึกว่าได้ความรู้ใหม่ๆ เพิ่มขึ้นหลายอย่าง และรู้สึกดีใจที่หน่วยงานต่างๆ ได้ให้ความสำคัญ เพราะนานแล้วที่ไม่มีใครจัดงานในลักษณะนี้ ที่สำคัญไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายด้วย โดยเฉพาะเซเว่นฯ ตนไม่ได้มองว่าเป็นคู่แข่งและรู้สึกดีที่ภาคเอกชนก็มีส่วนร่วมในการขับ เคลื่อนและพัฒนาธุรกิจค้าปลีกของไทยที่มีมายาวนานตั้งแต่รุ่นต่อรุ่น
ธุรกิจ โชห่วยจะไม่มีวันตายถ้าผู้ประกอบการยอมรับความเปลี่ยนแปลงและปรับปรุง ร้านให้ทันสมัยเข้ากับยุคสมัยอยู่ตลอดเวลาจะทำให้มีประสิทธิภาพสามารถแข่ง ขันกับธุรกิจค้าปลีกขนาดใหญ่ได้อย่างยั่งยืนต่อไป
เปิดตำนานแฟรนไชส์ เซเว่น อีเลฟเว่น สาขาแรกในไทย
บุญมี บุญยิ่งสถิตย์ หรือ เฮียมิ้ง เป็นแฟรนไชส์ซีของเซเว่น อีเลฟเว่น สาขาแรกของไทยมากว่า 18 ปี โดย บุญมี เล่าย้อนกลับไปเมื่อ 20 ปีก่อนว่า รับช่วงกิจการร้านโชห่วยอยู่ที่ถนนเพชรบุรีซอย 5 ต่อจากบิดา มีลูกค้ามากมาย แต่ด้วยความที่ขายของคนเดียวนั่งเฝ้าหน้าร้านเหมือนปู่โสมเฝ้าทรัพย์ ลูกค้าอยากได้อะไรจะหยิบให้ผ่านมือเราตลอด ยอมรับว่าทำธุรกิจแบบนี้เหนื่อย ต่อมามีร้านค้าปลีกติดแอร์มาเปิดใกล้ๆ เจ้าของเป็นพี่น้อง 2-3 คนอายุยังน้อย แต่ก็สามารถทำได้โดยไม่มีประสบการณ์ จึงคิดอยากเปลี่ยนแปลงบ้างประกอบกับมีเจ้าหน้าที่จากซีพีออลล์ มาติดต่อซึ่งตอนนั้นมีความคิดอยากปรับปรุงร้านโชห่วยเป็นแบบใส่กระจกติดแอร์ วางชั้นให้สวยงาม นำเคาน์เตอร์มาติด จึงตัดสินใจปรับเปลี่ยนร้านโชห่วยมาเป็นแฟรนไชส์ซีรายแรกของบริษัทที่เปิด ให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2534
ช่วงที่ทำ 3 เดือนแรกยอมรับว่าเหนื่อยมากกว่าทำโชห่วย เพราะเราไม่เคยใช้พนักงาน ร้านก็เปิดตลอด 24 ชั่วโมง คิดดูว่าจะนอนอย่างไร อีกทั้งมีสินค้าอยู่ในสต๊อกมูลค่าเกือบล้านและพนักงานที่เข้ามาในร้านไว้ใจ ได้หรือไม่ แต่ก็ผ่านพ้นมาได้ด้วยดีเพราะบริษัทได้อบรมเราให้เรียนรู้วิธีบริหารพนักงาน พฤติกรรมของลูกค้า การจัดเรียงสินค้า ตลอดจนนำระบบบัญชีที่มีคุณภาพมาใช้ รวมทั้งช่วยอบรมพนักงานและเข้ามาดูแลเราตลอดจนมีกำไรเปิดสาขาที่ 2 ซึ่งสาขาที่ 2 นี้เปิดมาได้ประมาณ 12 ปี และสาขาที่ 3 เปิดได้ปีกว่า
ปัจจุบันบุญมีเป็นแฟรนไชส์ร้านเซเว่นอีเลฟเว่น 3 สาขา แต่ละสาขาล้วนตั้งอยู่ในทำเลใกล้เคียงกัน แต่ถึงแม้จะอยู่ใกล้กันก็ไม่ได้เป็นปัญหาเพราะแต่ละร้านมีลูกค้าคนละกลุ่ม กัน โดยมี สาธิต บุญยิ่งสถิตย์ หรือ ฮุย ลูกชายช่วยสืบทอดกิจการ
บุญมีบอกด้วยความภาคภูมิใจว่า ถือเป็นโชคดีของเขาที่ตัดสินใจมาเป็นแฟรนไชส์ซีของเซเว่นฯ จึงทำให้ครอบครัวมีธุรกิจที่มั่นคงและเป็นสมบัติที่ทำให้เขาสามารถส่งเสีย ลูกชายจนเรียนจบปริญญาตรีมาช่วยรับช่วงกิจการต่อจนถึงทุกวันนี้
เคล็ดลับเถ้าแก่ยุคใหม่สู่การเป็นเศรษฐี
เคล็ดลับแบบไม่ลับของ ตัน ภาสกรนที กรรมการผู้จัดการ โออิชิ หรือราชาชาเขียวโออิชิ ได้นำประสบการณ์จริงจากการทำธุรกิจที่ประสบความสำเร็จมาถ่ายทอดว่า "การทำธุรกิจอยู่ที่ความเชื่อและเข้าใจในธุรกิจนั้นๆ ไม่จำเป็นต้องมีพื้นฐานหรือการศึกษาด้านนั้นๆ เพราะผมเองก็ไม่มีความรู้ทางด้านชาเขียว แต่ที่สำเร็จได้เพราะผมจะชอบถาม โดยถามจากคนที่มีความรู้คนละนิดละหน่อย และนำมารวมกันก็ได้เป็นความรู้ที่มาก นอกจากนี้เรายังต้องกล้าที่จะคิดอะไรใหม่ๆ และไม่เหมือนคนอื่น ที่ สำคัญต้องกล้าที่จะเปลี่ยนถึงแม้ว่าเราจะคิดว่าสิ่งนั้นดีที่สุดแล้วก็ตาม ยกตัวอย่างเช่น ชาเขียวรสต้นตำรับ เป็นชาเขียวที่มียอดขายดีอยู่แล้ว แต่ตนก็ต้องคิดรสชาติใหม่ๆ เพิ่มขึ้นมาด้วยเพื่อเป็นอีกทางเลือกให้ลูกค้า เพราะลูกค้าคือหัวใจของการขาย
สำหรับ พัลลภ กำลา ประธานกรรมการ ชายสี่หมี่เกี๊ยว เล่าถึงประสบการณ์ชีวิตก่อนเป็นเสี่ยว่า "ผมจบ ป.4 ไม่เข้าใจคำว่าซีเอสอาร์หรือคำศัพท์อะไรเกี่ยวกับธุรกิจเลย แต่เป็นคนมีความฝัน จึงเป็นการจุดประกายเริ่มต้นทำให้มีวันนี้"
พร้อมให้เคล็ดลับว่า การทำธุรกิจร่วมกับคนหมู่มากเป็นธุรกิจที่ยากสุดคือการควบคุมคน ถ้าเราสามารถควบคุมได้ก็ชนะไป 100 เปอร์เซ็นต์ โดยเน้นใส่ใจไปที่คนรอบข้างไม่ว่าจะเป็นลูกน้องหรือลูกค้า พยายามให้สวัสดิการที่เป็นธรรมและโปรโมชั่นที่คุ้มค่า รวมทั้งรู้จักปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดทำสิ่งที่ดีอยู่แล้วให้ดียิ่งขึ้น
ทีมวาไรตี้
Credit by http://news.sanook.com/
ขายของได้ทุกที่ บนรถขายขายของเคลื่อนที่ ได้ทั้งของกินและเครื่องดื่ม
ตัวอย่างอาชีพค้าขายที่ไม่ง้อทำเล(รูป)ตอน 1-12
download ...http://bit.ly/2kYAKOt
ตัวอย่างอาชีพค้าขายที่ไม่ง้อทำเล(รูป)ตอน 1-12
download ...http://bit.ly/2kYAKOt
Adv