เห็นเก้าอี้ โต๊ะเหล็ก และสิ่งของแต่งบ้านจิปาถะ
สีลูกกวาดสะดุดตาเหล่านี้
ใครจะเชื่อว่าเป็นฝีมือการออกแบบและผลิตของเจ้าของทีมรถแข่งออฟโรดและร้าน
ประดับยนต์ชื่อดัง ผู้คร่ำหวอดในวงการนี้มาหลายทศวรรษอย่าง เปี๊ยกระยอง
ออฟโรด ที่วันหนึ่งคิดผลิกแพลงนำเศษเหล็กซึ่งเหลือจากการผลิตอุปกรณ์แต่งรถ
มาแปลงโฉมเป็นเฟอร์นิเจอร์หน้าตาเก๋ไก๋
เขาเริ่มจากการทำอู่เคาะพ่นสีรถยนต์ 20 ปี แต่ไม่รุ่งและไม่รวย เมื่อมีคนบอกว่า ทำแต่กิจการซ่อมอย่างเดียวจะไม่เห็นกำไร เปี๊ยก สุริยงค์ วงศ์ชมพู วัย 60 ปี จึงเปลี่ยนเส้นทางมาเป็นผู้ผลิตกันชนรถยนต์หลายยี่ห้อ หลายรุ่น ที่มีดีไซน์แหวกแนว ส่งขายถึงอเมริกา อังกฤษ รัสเซีย และประเทศในแถบแอฟริกา อีกทั้งยังเปิดร้านขายอุปกรณ์ตกแต่งรถยนต์ที่จังหวัดระยอง
กระทั่งเมื่อปีที่แล้ว จิรายุทธ ห่วงทรัพย์ อดีตผู้ประกาศข่าว ITV และผู้อำนวยการจัดการแข่งขันของกีฬาออฟโรดหลายรายการในประเทศไทย ได้จุดประกายเปี๊ยกว่า 'ทำไมไม่เอาเหล็กชั้นดีซึ่งเหลือมาจาการทำของแต่งรถยนต์ มาทำอย่างอื่นแทนที่จะขายในราคาต่ำ เพราะเหล็กเหล่านั้นมีความคงทนมาก' จากข้อคิดก็กลายมาเป็นโจทย์ให้เปี๊ยกว่า จะเอาเศษเหล็กมาทำเป็นอะไรดี
"ผมเป็นคนปราจีนบุรี จบแค่ป.2 เพราะต้องออกจากโรงเรียนกลางคันเพื่อมาเลี้ยงน้อง พออ่านหนังสือพอออกบ้าง ส่วนของที่ผมขายตั้งแต่กันชนรถ ยันของเล็กๆ น้อยๆ ผมออกแบบเองหมด ดังนั้นพอต้องมาทำโต๊ะ เก้าอี้ เลยไม่ยาก เพราะชีวิตการทำงานที่ผ่านมาก็ยุ่งกับการออกแบบอยู่แล้วทุกวัน" เขาเกริ่นประวัติย่อๆ ก่อนจะมาเป็นเปี๊ยกระยอง ออฟโรดให้ฟัง ซึ่งในภายหลังก็ได้พัฒนามาสู่งานเฟอร์นิเจอร์หน้าตาน่าใช้ที่ผลิตขึ้นจากโรง งานเดียวกัน
ต้นทุนที่มีก็คือ โรงงานพ่นสีที่มีเครื่องมือทันสมัย ด้วยการลงทุนกว่า 20 ล้านบาท เพราะงานหลักได้แก่ การพ่นสีรถยนต์ ซึ่งต้องผ่านกระบวนการอบที่อุณหภูมิกว่า 200 องศาเซลเซียส เพื่อให้สีติดทนนาน ดังนั้น แม้งานเฟอร์นิเจอร์ที่ทำจะใช้สีคนละประเภท แต่ผลิตโดยใช้กรรมวิธีเดียวกัน โดยเน้นสีสดใสโทนสีลูกกวาดมากกว่าเจ้าอื่น คือ เขียว ฟ้า แดง แสด ชมพู ซึ่งคือ และใช้ชื่อแบรนด์ว่า เปี๊ยก [PIAK]
การออกแบบก็ไม่มีอะไรพิเศษ เพียงนำเหล็กมาเชื่อมต่อให้กลายเป็นรูปทรงโต๊ะและเก้าอี้ ลบเหลี่ยม มุมคม ก็กลายเป็นเฟอร์นิเจอร์ที่คงทน และสวยเก๋ ทว่า โดยแต่ละตัวจะมีความแตกต่างกัน เพราะเศษเหล็กที่นำมาทำมีผิวและลายต่างกัน ดังนั้น เมื่อทำออกมาเป็นสินค้า จึงมีความเป็นเอกลักษณ์ในตัวเอง แม้ดีไซน์จะมีจำนวนจำกัด คือ ไม่ถึง 10 แบบ
โดยเหล็กแผ่นใหญ่ 1 แผ่นที่นำมาตัดเพื่อทำสินค้าตัวหลักของร้านได้แก่ กันชน บังโกลน อุปกรณ์แต่งรถ ด้วยเครื่อง Laser Cut ในโรงงาน จะเหลือเศษเหล็ก 25% เมื่อก่อนตอนเศรษฐกิจโลกยังไม่ซบแบบนี้ จะขายได้กิโลละ 15 บาท แต่ภายหลังเหลือ 5 บาท ดังนั้น การนำมาดัดแปลงเป็นสินค้าที่มีราคาตั้งแต่ 300-1,600 บาท ขึ้นอยู่กับขนาดของสินค้าจึงเป็นรายได้เสริมที่ทำกำไรดี
เปี๊ยก ออฟโรด ไม่มีแผนการตลาดสำหรับสินค้าที่เพิ่งเปิดตัวไม่ถึงหนึ่งปี แต่ลูกค้ากลับขับรถมาจากทุกสารทิศเพื่อชมงานที่โชว์ไว้หน้าร้าน แล้วสั่งซื้อโดยขนไปเองบ้าง หรือสั่งให้จัดส่งทางไปรษณีย์บ้าง ซึ่งบางคนสั่งเป็นล็อตใหญ่หลายๆ เซ็ท เพราะเมื่อคำนวณความคงทน สวยงาม กับราคาที่เริ่มต้นด้วยเก้าอี้ไม่มีพนักพิงราคา 300 บาท และโต๊ะที่เริ่มต้นด้วยราคา 1,200 บาท ที่ครอบปลั๊กไฟ ราคาเริ่มต้น 200 บาทก็นับว่าเป็นของดีราคาไม่แพง
"ร้านเราตั้งอยู่ที่อำเภอแกลง จังหวัดระยอง แต่มีคนขับรถมาจากกรุงเทพหลายชั่วโมงเพื่อมาซื้อ ส่วนหนึ่งจะซื้อไปทำที่นั่งร้านกาแฟ ร้านอาหาร และอีกส่วนก็ซื้อไปแต่งบ้าน เขารู้จักสินค้าเราจากการบอกันปากต่อปาก หรือมาใช้บริการของทางร้าน แล้วจึงเห็นสินค้าที่เราตั้งโชว์ไว้หน้าร้านก็ชอบ จึงซื้อไป ตกแล้วขายได้ทั้งสองประเภทกว่า 120 ตัวต่อเดือน"
ในช่วงหลังจากที่ได้ทดลองตลาดโดยการวางขายหน้าร้าน และลูกค้าให้ความสนใจกันมาก จึงได้มีการขยายตลาดเพิ่มด้วยการไปร่วมออกงานแสดงสินค้า ล่าสุดจัดเมื่อกลางปีที่ผ่านมาที่เมืองทองธานี โดยกรมทรัพย์สินทางปัญญา แต่ยังไม่มีแผนในอนาคตว่าจะดำเนินทิศทางการตลาดไปทางใด
ตอนนี้จึงอยู่ในช่วงทำตลาดในประเทศ และยังไม่คิดไกลทำการส่งออกเหมือนสินค้าหลักของร้าน ด้วยกลัวปัญหาจะผลิตของป้อนตลาดไม่ทัน เนื่องจากเศษเหล็กที่นำมารีไซเคิลมีจำกัด หากผลิตไม่ทันก็จะเสียชื่อแบรนด์ แต่ถ้าจะเอาเหล็กดีๆ มาตัดเพื่อทำเฟอร์นิเจอร์ก็ไม่คุ้มค่า จึงต้องรั้งแผนโกอินเตอร์ไว้ก่อน ตลอดจนเศรษฐกิจโลกที่ฟุบลง ส่งผลให้ยอดขายตกในปีนี้ ทำให้ต้องชะลอแผนช้าลง และขอดูท่าทีอุปสงค์ของลูกค้าอีกนิด ก่อนจะดำเนินการขั้นต่อไป คือ เปิดบริษัทในเครือของเปี๊ยก ออฟโรด เพื่อรับผิดชอบส่วนของการผลิตและจัดจำหน่ายเฟอร์นิเจอร์อย่างครบวงจร ซึ่งกำลังร่างแผนงานอยู่ รวมทั้งเปี๊ยกเองเพิ่งบินไปดูแบบผลิตภัณฑ์แต่งบ้านที่ประเทศญี่ปุ่น ทำให้มีไอเดียอีกมากมายที่รอการผลิตอยู่
เนื่องจากงานเฟอร์นิเจอร์ที่ทำออกมา มาจากนิสัยช่างคิด ช่างทำ ของเปี๊ยก ที่อยากจับนั่น มาผสมนี่ ทำให้ได้ชิ้นงานแปลกตาออกมา จนลูกค้าติดใจกันถ้วนหน้า แต่เขาก็ไม่ได้ยึดเป็นรายได้หลัก การขยับไปจดทะเบียนในกรมทรัพย์สินทางปัญญาเลยไม่อยู่ในความคิด
"ใครมาก๊อปได้ก็ดี ผมไม่หวงหรอก และไม่คิดว่าจะไปจดสิทธิบัตรด้วย เพราะอยากช่วยคนไทยด้วยกันเองให้มีหนทางทำมาหากิน แบ่ง ๆ กันไป งานนี้ผมว่ารายได้ดี แต่งานผมอาจจะลอกยากหน่อยเพราะใช้เครื่องมือและวัตถุดิบจากโรงงานตัวเอง จึงไม่คิดว่าคนอื่นจะเลียนแบบได้เหมือนเปี๊ยบทั้งรูปทรง ราคา วัตถุดิบ และเทคนิค"
เปี๊ยกตบท้ายด้วยการยืนยันว่าจะทำเฟอร์นิเจอร์ต่อไปเพราะใจรัก และตลาดนี้ยังมีความต้องการของลูกค้ารองรับอยู่ ใครสนใจก็ทดลองทำดู ไม่หวงไอเดียแต่ประการใด
Credit by http://women.sanook.com/
ขายของได้ทุกที่ บนรถขายขายของเคลื่อนที่ ได้ทั้งของกินและเครื่องดื่ม
ตัวอย่างอาชีพค้าขายที่ไม่ง้อทำเล(รูป)ตอน 1-12
download ...http://bit.ly/2kYAKOt
ตัวอย่างอาชีพค้าขายที่ไม่ง้อทำเล(รูป)ตอน 1-12
download ...http://bit.ly/2kYAKOt
Adv