วันนี้เราจะพามาชมการทำเศษลวดเป็นงานศิลปะ
กระทั่งสามารถทำเป็นอาชีพเสริมได้ ที่บ้านคุณเต๋า-สมชาย แซ่ตั้ง
ซึ่งเหมาะกับช่วงเศรษฐกิจฟุบเช่นนี้เป็นอย่างยิ่งค่ะ
จุดประกายจินตนาการ
เพียงก้าวแรกที่เจ้าของบ้านใจดีเปิดประตูต้อนรับ
เราก็ถูกสะกดไว้ด้วยความสวยงามของต้นไม้ลวดที่สูงใหญ่ราว 2 เมตร
ที่แผ่กิ่งก้านสาขาอ่อนช้อยอยู่ภายในบ้าน
ด้วยเส้นสายลายถักที่สอดประสานกันอย่างประณีตบรรจง
ต้นไม้นี้จึงไม่เหลือความแข็งกระด้างซึ่งเป็นธรรมชาติของเส้นลวดให้เราได้
สัมผัสถึง
คุณเต๋าเล่าถึงแรงบันดาลใจว่าแรกเริ่มเดิมทีนั้น สนใจปลูกบอนไซตามคุณพ่อ
ซึ่งเป็นงานที่ต้องทำงานอยู่กับลวดตลอดเวลา
เมื่อมีขยะเหลือใช้จากลวดจึงเริ่มนำมาประดิดประดอย
“เศษลวดไม่ว่าจะสั้นหรือยาวแค่ไหนให้เก็บไว้ เพราะสามารถนำมาใช้ประโยชน์ สร้างสรรค์งานได้ อย่างเศษลวดจากราวตากผ้า ไม้แขวนเสื้อ ขยะเศษลวดทั้งจากที่บ้าน ที่ทำงาน นำมาให้ได้ทั้งนั้น” หลังจากจดๆ จ้องๆ อยู่นาน ก็ชักจะคันไม้คันมือ อยากลองทำกับเขาบ้าง เราไปลงมือทำกันดีกว่าค่ะ งานลวด ไม่ยากอย่างที่คิด คุณเต๋าเล่าถึงงานลวดว่ามีด้วยกัน 3 ประเภท คือ ดัด พัน และถัก “สำหรับคนที่เพิ่งเริ่มทำ เริ่มจากชิ้นเล็กๆ ง่ายๆ ตามที่ใจเราชอบ สังเกตจากสิ่งรอบๆ ตัว เช่น ตัวสัตว์ต่างๆ ดอกไม้ แล้วร่างรูปแบบง่ายๆ ในกระดาษก่อน จากนั้นนำเส้นด้ายมาขดตามที่รูปร่างตามเราต้องการ เพื่อกะความยาวของลวดที่จะใช้ ตัดลวดตามความยาวนั้น แล้วค่อยลงมือดัดทำ เศษลวดเก่าออกสีหมอง ก็สามารถนำมาพ่นสีสเปรย์ให้ใหม่ได้” จากการพัฒนางานอย่างไม่หยุดนิ่ง คุณเต๋าก็สามารถผลิตของใช้ต่างๆ ออกมามากมาย เช่น ที่หนีบนามบัตร ที่แขวนต่างหู เชิงเทียน โคมไฟ ทั้งยังนำมาผสมผสานเข้ากับวัสดุอื่นๆ ได้ตามจินตนาการเช่น ตอไม้ ขวดแก้ว ลูกปัด พลาสติก จนได้ของใช้ที่สวยงามแปลกตา คุยกันไปคุยกันมา ในที่สุด มือใหม่อย่างเราก็สามารถสร้างสรรค์ที่เสียบนามบัตรที่มีรูปร่างสีสรรค์ออกมา ได้สวยไม่น้อย ตอนนี้เห็นด้วยกับคุณเต๋าร้อยเปอร์เซ็นต์แล้วค่ะว่า งานลวดทำให้จินตนาการเป็นจริงได้ง่ายนิดเดียว สนใจเรียนฟรี คุณสมชาย แซ่ตั้ง (เต๋า) สอนอยู่ที่ ตลาดนัดสนามหลวง 2 (ส่วนขยายศูนย์อาหารโซน 1) วันเสาร์ สนใจติดต่อ 081-816-2595
ขอบคุณข้อมูล : นิตยสารชีวจิต
“เศษลวดไม่ว่าจะสั้นหรือยาวแค่ไหนให้เก็บไว้ เพราะสามารถนำมาใช้ประโยชน์ สร้างสรรค์งานได้ อย่างเศษลวดจากราวตากผ้า ไม้แขวนเสื้อ ขยะเศษลวดทั้งจากที่บ้าน ที่ทำงาน นำมาให้ได้ทั้งนั้น” หลังจากจดๆ จ้องๆ อยู่นาน ก็ชักจะคันไม้คันมือ อยากลองทำกับเขาบ้าง เราไปลงมือทำกันดีกว่าค่ะ งานลวด ไม่ยากอย่างที่คิด คุณเต๋าเล่าถึงงานลวดว่ามีด้วยกัน 3 ประเภท คือ ดัด พัน และถัก “สำหรับคนที่เพิ่งเริ่มทำ เริ่มจากชิ้นเล็กๆ ง่ายๆ ตามที่ใจเราชอบ สังเกตจากสิ่งรอบๆ ตัว เช่น ตัวสัตว์ต่างๆ ดอกไม้ แล้วร่างรูปแบบง่ายๆ ในกระดาษก่อน จากนั้นนำเส้นด้ายมาขดตามที่รูปร่างตามเราต้องการ เพื่อกะความยาวของลวดที่จะใช้ ตัดลวดตามความยาวนั้น แล้วค่อยลงมือดัดทำ เศษลวดเก่าออกสีหมอง ก็สามารถนำมาพ่นสีสเปรย์ให้ใหม่ได้” จากการพัฒนางานอย่างไม่หยุดนิ่ง คุณเต๋าก็สามารถผลิตของใช้ต่างๆ ออกมามากมาย เช่น ที่หนีบนามบัตร ที่แขวนต่างหู เชิงเทียน โคมไฟ ทั้งยังนำมาผสมผสานเข้ากับวัสดุอื่นๆ ได้ตามจินตนาการเช่น ตอไม้ ขวดแก้ว ลูกปัด พลาสติก จนได้ของใช้ที่สวยงามแปลกตา คุยกันไปคุยกันมา ในที่สุด มือใหม่อย่างเราก็สามารถสร้างสรรค์ที่เสียบนามบัตรที่มีรูปร่างสีสรรค์ออกมา ได้สวยไม่น้อย ตอนนี้เห็นด้วยกับคุณเต๋าร้อยเปอร์เซ็นต์แล้วค่ะว่า งานลวดทำให้จินตนาการเป็นจริงได้ง่ายนิดเดียว สนใจเรียนฟรี คุณสมชาย แซ่ตั้ง (เต๋า) สอนอยู่ที่ ตลาดนัดสนามหลวง 2 (ส่วนขยายศูนย์อาหารโซน 1) วันเสาร์ สนใจติดต่อ 081-816-2595
ขอบคุณข้อมูล : นิตยสารชีวจิต
Credit by
ขายของได้ทุกที่ บนรถขายขายของเคลื่อนที่ ได้ทั้งของกินและเครื่องดื่ม
ตัวอย่างอาชีพค้าขายที่ไม่ง้อทำเล(รูป)ตอน 1-12
download ...http://bit.ly/2kYAKOt
ตัวอย่างอาชีพค้าขายที่ไม่ง้อทำเล(รูป)ตอน 1-12
download ...http://bit.ly/2kYAKOt
Adv