ชิ้นงานของที่ระลึก ของขวัญ ตลาดเติบโตและมีไอเดียหลากหลายเกิดขึ้นตลอด ยิ่งผสานกับการขยายตัวและความนิยมที่เพิ่มสูงขึ้นของการใช้ช่องทางจำหน่าย ผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์ก ชิ้นงานน่าสนใจก็ออกสู่ตลาดได้มากขึ้น อย่างเช่นงาน ’ตุ๊กตาหน้าแปลก“ ของสาว ๆ 5 คนที่รวมกลุ่มกันทำ นี่ก็เป็นอีกกรณีศึกษา ’ช่องทางทำกิน“ ที่น่าพิจารณา...
สาว ๆ 5 คนรวมกลุ่มกันผลิตสินค้า “ตุ๊กตาหน้าแปลก” ในชื่อ “วีอาร์ดอลส์ (VRdools)” โดย ปิยะมาศ อนุสิ ตัวแทนของกลุ่ม เล่าว่า เธอและเพื่อนรวมกลุ่มช่วยกันคิดออกแบบและประดิษฐ์ชิ้นงานนี้ขึ้น โดยทั้งหมดเป็นเพื่อนกันมาตั้งแต่สมัยเรียนศิลปกรรมที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลธัญบุรี คลองหก โดยกลุ่มประกอบด้วย เอื้อมพร ใจใส, วันวิสาข์ แซ่หอ, วรรณวิไล พันธ์เณร, อังคนงค์ สมหวัง และตัวเธอ ซึ่งแต่ละคนมีงานประจำทำอยู่ก่อนแล้ว
งานประจำที่ทำกันส่วนใหญ่ก็เป็นงานตามสาขาที่ได้เรียนมา คือเกี่ยวกับศิลปะ แต่ที่ทางกลุ่มชอบตรงกันคือ งานจากผ้า งานเย็บชนิดต่าง ๆ และมักนำชิ้นงานที่ทำสำเร็จไปมอบเป็นของขวัญให้เพื่อนและคนรู้จัก จนมีคนแนะนำว่าน่าจะลองทำขาย จึงได้ลองทำขายที่ถนนคนเดินบนเกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี จนถึงตอนนี้เป็นปีที่ 3 แล้ว
“ผลตอบรับดีขึ้นเรื่อย ๆ เพราะเราจะทำผลงานกันออกมา 5 สไตล์ และไม่ทำซ้ำออกมาขาย จะออกแบบใหม่อยู่ตลอด ยกเว้นลูกค้าอยากได้ตัวที่เคยทำเพิ่มเติม หลังจากนั้นเพื่อนก็คิดกันว่าน่าจะลองเพิ่มช่องทางกระจายผลงานผ่าน
เฟซบุ๊ก จึงลองดู ก็ปรากฏว่าสินค้ากลายเป็นที่รู้จักในวงกว้างมากขึ้นอีก” ปิยะมาศกล่าว
สินค้าที่ทำขึ้นนั้น ปิยะมาศบอกว่า ใช้ชื่อสินค้าว่า VRdools มาจาก we are doll ซึ่งก็แปลตรงตัวถึงความชื่นชอบของกลุ่ม ส่วนช่องทางจำหน่ายสินค้าผ่านเฟซบุ๊กนั้น คือ www.facebook.com/VRdolls.handmade โดยในการจำหน่ายสินค้าผ่านช่องทางนี้ ปิยะมาศแนะนำว่า การขายในเฟซบุ๊กมีข้อดีคือ ไม่ต้องลงทุนเปิดร้าน และทำให้ชิ้นงานเป็นที่รู้จักในวงกว้าง แต่ข้อควรระวังก็คือ การถูกนำไปทำซ้ำหรือเลียนแบบ ซึ่งต้องคอยหมั่นตรวจสอบอยู่เสมอ
ชิ้นงานที่ทำอยู่ มีตั้งแต่ ตุ๊กตา พวงกุญแจ หัวดินสอ เข็มกลัด และแม่เหล็กติดตู้เย็น กลุ่มลูกค้าส่วนใหญ่เป็นนักท่องเที่ยวต่างชาติ เพราะขายในแหล่งท่องเที่ยว แต่ก็มีลูกค้ากลุ่มวัยรุ่น วัยทำงาน สลับเข้ามาตลอด ลูกค้าก็มีทั้งซื้อชิ้นงานสำเร็จรูป และสั่งทำขึ้นใหม่ เพื่อนำไปเป็นของขวัญ จุดเด่นชิ้นงานอยู่ที่รูปแบบตุ๊กตา ที่มีหน้าตาและแบบไม่ซ้ำกัน
ทุนเบื้องต้น ใช้เงินลงทุนประมาณ 7,000 บาท ในกรณีเย็บตุ๊กตาด้วยมือ แต่ถ้ามีจักรเย็บผ้าด้วยต้นทุนก็จะสูงขึ้นตามราคาของจักรที่ใช้ ส่วนทุนเฉพาะในส่วนของวัตถุดิบ อยู่ที่ประมาณ 30% จากราคาขาย โดยสินค้ามีราคาขายเริ่มตั้งแต่ 50 บาท ไปจนถึง 400 บาท ขึ้นอยู่กับชนิดและขนาดของสินค้า
วัสดุอุปกรณ์ ประกอบด้วย จักรเย็บผ้า, เข็มกับด้ายสีต่าง ๆ, กรรไกร, ผ้าสีและลวดลายต่าง ๆ, กาวยาง และสมุดร่างแบบ, อุปกรณ์ตกแต่ง อาทิ กระดุมผ้าลูกไม้ โบ-ริบบิ้น ลูกตาปลอม ใยโพลีเอสเตอร์ โซ่ไข่ปลา หรือห่วงพวงกุญแจ
ขั้นตอนการทำ เริ่มจากออกแบบโดยวาดรูปแบบที่คิดไว้ลงบนสมุดวาดแบบร่าง จากนั้นทำแพตเทิร์นในกรณีที่ต้องการทำตุ๊กตาแบบเดียวกันหลายตัว หากเป็นการทำชิ้นเดียวก็สามารถขึ้นชิ้นงานด้วยการวาดแบบลงผ้าได้เลย
เมื่อได้แบบแล้ว ก็ทำการตัดผ้าตามแบบ แล้วเย็บตามเส้นร่างที่วาดไว้ ถ้าจะต่อชิ้นส่วนของตัวตุ๊กตาเลยก็ให้เย็บต่อกันในส่วนนี้ แต่ถ้าต้องการต่อตัวตุ๊กตาตอนเสร็จก็อาจตัดผ้าไว้หลาย ๆ ชิ้นก่อน แล้วจึงค่อยเย็บขึ้นชิ้นงานตอนหลังทีเดียว ทำการกลับตะเข็บ ยัดใยโพลีเอสเตอร์ให้อ้วนฟู ทำการเย็บทุกชิ้นส่วนประกอบกัน และตกแต่งชิ้นงาน เป็นอันเสร็จ
“ถ้าใช้ของดี ทุนก็จะสูงหน่อย แต่จริง ๆ หากไม่ต้องการลงทุนสูง วัสดุอุปกรณ์ราคากลาง ๆ ก็พอใช้ได้ งานนี้ขึ้นอยู่กับการขายไอเดียเป็นสำคัญ อีกอย่างที่อยากเน้นคือ คนที่สนใจคิดจะยึดงานแบบนี้เพื่อทำเป็นอาชีพหลักหรืออาชีพเสริม ต้องประณีต ใจเย็น สนุกกับงานให้มาก และต้องมีความคิดสร้างสรรค์ อย่าลอกเลียนผลงานคนอื่น” ปิยะมาศกล่าว
ใครสนใจ ’ตุ๊กตาหน้าแปลก“ ก็ลองเข้าไปดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ตามช่องทางที่ว่ามาข้างต้น หรือต้องการติดต่อกับกลุ่มที่ทำทางโทรศัพท์ติดต่อได้ที่ โทร.08-9649-3848, 08-3591-9588, 08-1397-9699 หรือติดต่อผ่านทางอีเมลได้ที่ doll_handmade2011@hotmail.com ซึ่งนี่ก็เป็นอีกหนึ่งกรณีศึกษา ’ช่องทางทำกิน“ ที่น่าสนใจไม่น้อยเลย.
ศิริโรจน์ ศิริแพทย์ รายงาน
credit : http://www.dailynews.co.th/article/384/160506
สาว ๆ 5 คนรวมกลุ่มกันผลิตสินค้า “ตุ๊กตาหน้าแปลก” ในชื่อ “วีอาร์ดอลส์ (VRdools)” โดย ปิยะมาศ อนุสิ ตัวแทนของกลุ่ม เล่าว่า เธอและเพื่อนรวมกลุ่มช่วยกันคิดออกแบบและประดิษฐ์ชิ้นงานนี้ขึ้น โดยทั้งหมดเป็นเพื่อนกันมาตั้งแต่สมัยเรียนศิลปกรรมที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลธัญบุรี คลองหก โดยกลุ่มประกอบด้วย เอื้อมพร ใจใส, วันวิสาข์ แซ่หอ, วรรณวิไล พันธ์เณร, อังคนงค์ สมหวัง และตัวเธอ ซึ่งแต่ละคนมีงานประจำทำอยู่ก่อนแล้ว
งานประจำที่ทำกันส่วนใหญ่ก็เป็นงานตามสาขาที่ได้เรียนมา คือเกี่ยวกับศิลปะ แต่ที่ทางกลุ่มชอบตรงกันคือ งานจากผ้า งานเย็บชนิดต่าง ๆ และมักนำชิ้นงานที่ทำสำเร็จไปมอบเป็นของขวัญให้เพื่อนและคนรู้จัก จนมีคนแนะนำว่าน่าจะลองทำขาย จึงได้ลองทำขายที่ถนนคนเดินบนเกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี จนถึงตอนนี้เป็นปีที่ 3 แล้ว
“ผลตอบรับดีขึ้นเรื่อย ๆ เพราะเราจะทำผลงานกันออกมา 5 สไตล์ และไม่ทำซ้ำออกมาขาย จะออกแบบใหม่อยู่ตลอด ยกเว้นลูกค้าอยากได้ตัวที่เคยทำเพิ่มเติม หลังจากนั้นเพื่อนก็คิดกันว่าน่าจะลองเพิ่มช่องทางกระจายผลงานผ่าน
เฟซบุ๊ก จึงลองดู ก็ปรากฏว่าสินค้ากลายเป็นที่รู้จักในวงกว้างมากขึ้นอีก” ปิยะมาศกล่าว
สินค้าที่ทำขึ้นนั้น ปิยะมาศบอกว่า ใช้ชื่อสินค้าว่า VRdools มาจาก we are doll ซึ่งก็แปลตรงตัวถึงความชื่นชอบของกลุ่ม ส่วนช่องทางจำหน่ายสินค้าผ่านเฟซบุ๊กนั้น คือ www.facebook.com/VRdolls.handmade โดยในการจำหน่ายสินค้าผ่านช่องทางนี้ ปิยะมาศแนะนำว่า การขายในเฟซบุ๊กมีข้อดีคือ ไม่ต้องลงทุนเปิดร้าน และทำให้ชิ้นงานเป็นที่รู้จักในวงกว้าง แต่ข้อควรระวังก็คือ การถูกนำไปทำซ้ำหรือเลียนแบบ ซึ่งต้องคอยหมั่นตรวจสอบอยู่เสมอ
ชิ้นงานที่ทำอยู่ มีตั้งแต่ ตุ๊กตา พวงกุญแจ หัวดินสอ เข็มกลัด และแม่เหล็กติดตู้เย็น กลุ่มลูกค้าส่วนใหญ่เป็นนักท่องเที่ยวต่างชาติ เพราะขายในแหล่งท่องเที่ยว แต่ก็มีลูกค้ากลุ่มวัยรุ่น วัยทำงาน สลับเข้ามาตลอด ลูกค้าก็มีทั้งซื้อชิ้นงานสำเร็จรูป และสั่งทำขึ้นใหม่ เพื่อนำไปเป็นของขวัญ จุดเด่นชิ้นงานอยู่ที่รูปแบบตุ๊กตา ที่มีหน้าตาและแบบไม่ซ้ำกัน
ทุนเบื้องต้น ใช้เงินลงทุนประมาณ 7,000 บาท ในกรณีเย็บตุ๊กตาด้วยมือ แต่ถ้ามีจักรเย็บผ้าด้วยต้นทุนก็จะสูงขึ้นตามราคาของจักรที่ใช้ ส่วนทุนเฉพาะในส่วนของวัตถุดิบ อยู่ที่ประมาณ 30% จากราคาขาย โดยสินค้ามีราคาขายเริ่มตั้งแต่ 50 บาท ไปจนถึง 400 บาท ขึ้นอยู่กับชนิดและขนาดของสินค้า
วัสดุอุปกรณ์ ประกอบด้วย จักรเย็บผ้า, เข็มกับด้ายสีต่าง ๆ, กรรไกร, ผ้าสีและลวดลายต่าง ๆ, กาวยาง และสมุดร่างแบบ, อุปกรณ์ตกแต่ง อาทิ กระดุมผ้าลูกไม้ โบ-ริบบิ้น ลูกตาปลอม ใยโพลีเอสเตอร์ โซ่ไข่ปลา หรือห่วงพวงกุญแจ
ขั้นตอนการทำ เริ่มจากออกแบบโดยวาดรูปแบบที่คิดไว้ลงบนสมุดวาดแบบร่าง จากนั้นทำแพตเทิร์นในกรณีที่ต้องการทำตุ๊กตาแบบเดียวกันหลายตัว หากเป็นการทำชิ้นเดียวก็สามารถขึ้นชิ้นงานด้วยการวาดแบบลงผ้าได้เลย
เมื่อได้แบบแล้ว ก็ทำการตัดผ้าตามแบบ แล้วเย็บตามเส้นร่างที่วาดไว้ ถ้าจะต่อชิ้นส่วนของตัวตุ๊กตาเลยก็ให้เย็บต่อกันในส่วนนี้ แต่ถ้าต้องการต่อตัวตุ๊กตาตอนเสร็จก็อาจตัดผ้าไว้หลาย ๆ ชิ้นก่อน แล้วจึงค่อยเย็บขึ้นชิ้นงานตอนหลังทีเดียว ทำการกลับตะเข็บ ยัดใยโพลีเอสเตอร์ให้อ้วนฟู ทำการเย็บทุกชิ้นส่วนประกอบกัน และตกแต่งชิ้นงาน เป็นอันเสร็จ
“ถ้าใช้ของดี ทุนก็จะสูงหน่อย แต่จริง ๆ หากไม่ต้องการลงทุนสูง วัสดุอุปกรณ์ราคากลาง ๆ ก็พอใช้ได้ งานนี้ขึ้นอยู่กับการขายไอเดียเป็นสำคัญ อีกอย่างที่อยากเน้นคือ คนที่สนใจคิดจะยึดงานแบบนี้เพื่อทำเป็นอาชีพหลักหรืออาชีพเสริม ต้องประณีต ใจเย็น สนุกกับงานให้มาก และต้องมีความคิดสร้างสรรค์ อย่าลอกเลียนผลงานคนอื่น” ปิยะมาศกล่าว
ใครสนใจ ’ตุ๊กตาหน้าแปลก“ ก็ลองเข้าไปดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ตามช่องทางที่ว่ามาข้างต้น หรือต้องการติดต่อกับกลุ่มที่ทำทางโทรศัพท์ติดต่อได้ที่ โทร.08-9649-3848, 08-3591-9588, 08-1397-9699 หรือติดต่อผ่านทางอีเมลได้ที่ doll_handmade2011@hotmail.com ซึ่งนี่ก็เป็นอีกหนึ่งกรณีศึกษา ’ช่องทางทำกิน“ ที่น่าสนใจไม่น้อยเลย.
ศิริโรจน์ ศิริแพทย์ รายงาน
credit : http://www.dailynews.co.th/article/384/160506
ขายของได้ทุกที่ บนรถขายขายของเคลื่อนที่ ได้ทั้งของกินและเครื่องดื่ม
ตัวอย่างอาชีพค้าขายที่ไม่ง้อทำเล(รูป)ตอน 1-12
download ...http://bit.ly/2kYAKOt
ตัวอย่างอาชีพค้าขายที่ไม่ง้อทำเล(รูป)ตอน 1-12
download ...http://bit.ly/2kYAKOt
Adv