มีการพูดกันมากเกี่ยวกับ การเปิดอาเซียน
ในภาวะที่ธุรกิจเอสเอ็มอีไทยจะเดินต่อไปอย่างไร
จะตั้งรับในบ้านหรือออกไปผจญกับตลาดนอกประเทศ
แต่ก็รู้กันดีว่าในธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กไม่อาจมีทุนก้อนโตไปกรุยทางกัน
ได้ง่าย ๆ ด้วยภาระข้อบังคับของประเทศที่เข้าไปลงทุน
ไหนจะสินค้าจากจีนที่เข้ายึดตลาดเกือบทั่วโลก
ถือเป็นปัญหาที่หนักหนาอยู่ไม่น้อย
แต่ก่อนออกไปมองข้างนอก จำเป็นที่จะต้องกลับมามองความจริงภายในองค์กร เพราะคุณภาพในการผลิตเป็นอีกโจทย์ใหญ่สำคัญในการก้าวเดิน และจากปัญหาค่าแรงงานเพิ่มขึ้น เอสเอ็มอีไทยหลายรายเริ่มมองหาเครื่องจักรเพื่อมาใช้แทนแรงงานคน ซึ่งงานอินเตอร์แมค–ซับคอนไทยแลนด์ 2013 งานแสดงเครื่องจักรผลิตชิ้นส่วน ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 16–19 พฤษภาคมนี้ ที่ไบเทค บางนา เป็นอีกโอกาสที่เอสเอ็มอีไทยจะได้เห็นการพัฒนาของเครื่องจักร
สำหรับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทยการก้าวกระโดดไปยังต่างประเทศไม่ใช่เรื่อง ง่าย แต่ สมคิด ศิรนานนท์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็ม.ซี.ซี. อินดัสเทรียล นิว 1999 จำกัด ผู้ผลิตอุปกรณ์ตกแต่งรถโฟร์วีลส์ ซึ่งมีศูนย์กระจายสินค้าที่ออสเตรเลียเปิดเผยว่า เริ่มทำธุรกิจนี้มาแล้ว 13 ปี เริ่มต้นจากธุรกิจท่อไอเสียรถยนต์
โดยเมื่อ 10 ปีก่อนขายในประเทศ 80 เปอร์เซ็นต์ ตอนนี้ส่งต่างประเทศ 80–90 เปอร์เซ็นต์ เพราะความต้องการของลูกค้าคนไทยเปลี่ยนไป จากแต่ก่อนคนไทยใส่อุปกรณ์นี้เพราะแฟชั่น แต่ในต่างประเทศใส่เพื่อใช้งานจริง ๆ บริษัทเลยพยายามพัฒนางานให้ได้รับการยอมรับจากต่างชาติ หลัก ๆ ส่งไปในกลุ่มประเทศแถบทะเลทราย และประเทศที่มีผืนป่ามาก
แรกเริ่มจากธุรกิจท่อไอเสีย แล้วต่อยอดไปสู่เครื่องประดับยนต์ เน้นการสร้างแบรนด์ด้วยตัวเองตั้งแต่แรก เพราะคนไทยส่วนใหญ่นิยมรับจ้างผลิตโดยไม่มีแบรนด์ของตัวเอง ปัจจุบันยังมีหลายรายเป็นอยู่ ซึ่งบริษัทเองระยะแรกมีส่วนหนึ่งที่รับจ้างผลิต แต่อยู่ภายใต้เงื่อนไขแบรนด์ของเรา คือเขาอาจตีแบรนด์ของเขา แต่ต้องอยู่ในกรอบเฟรมโลโก้ของเรา พอใครเห็นก็รู้ว่านี่แบรนด์ของบริษัท
ช่วงแรกที่ไปเปิดตลาดที่ออสเตร เลียแต่ก่อนไม่มีเทคโนโลยี การทำงานไม่เน้นจำนวน แต่ต้องศึกษาให้มั่นคงก่อน และพัฒนาเรื่องคุณภาพ รวมถึงศึกษาความต้องการของตลาด เพื่อทำให้ลูกค้ามั่นใจในสินค้าก่อน แล้วค่อยลุยเรื่องการสร้างแบรนด์
ตอนนี้บริษัทสร้างศูนย์กระจายสินค้าที่ออสเตรเลียเมื่อ 2 ปีก่อน ด้วยสินค้าที่เฉพาะกลุ่ม พอตลาดมันเล็ก พวกผู้ผลิตที่ขายของแมสโปรดักส์จะไม่ค่อยอยากมาทำตลาดสักเท่าไหร่ ขณะเดียวกันต้องใช้แรงงานฝีมือ ผู้ประกอบการต้องใส่ใจการดีไซน์ แรก ๆ ยอมรับว่าก๊อบปี้แบบมาบ้าง แต่ต้องพยายามพัฒนาในด้านแบบที่เป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง แล้วค่อยส่งไปทดลองคุณภาพที่ออสเตรเลีย เพื่อให้ได้มาตรฐานการยอมรับตามที่ลูกค้าต้องการ
การไปต่างประเทศ หลายครั้งติดกฎระเบียบของประเทศนั้น ๆ ระยะแรกมองหาลู่ทางโดยเข้าร่วมกับหน่วยงานการลงทุนของไทย แต่การติดต่อกับองค์กรรัฐในต่างประเทศค่อนข้างยากและช้า ไม่ทันกับการพัฒนาสินค้าเลยต้องดำเนินการเองทุกอย่าง จนสามารถเปิดด้วยตัวเองได้ แต่ถ้าเดินตามภาครัฐยากมาก ถ้าใครอยากเปิดตลาดในต่างประเทศต้องเข้าไปศึกษาอย่างถ่องแท้จริง ๆ ไม่ว่ากฎหมายหรือด้านบัญชีที่เป็นหัวใจหลัก
ผู้ร่วมธุรกิจในประเทศนั้น ๆ ก็สำคัญ เพราะก่อนจะไปสร้างแบรนด์ที่ออสเตรเลีย เราโตจากช็อปเล็ก ๆ แล้วค่อยพัฒนามาขนาดใหญ่ จนพาร์ทเนอร์เชื่อถือและไว้ใจบริษัท การไปเปิดที่ออสเตรเลียเป็นการเปิดเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าอีกทางหนึ่ง
ช่วงสองปีแรกเรายังไม่กล้าบอกว่าเมดอินไทยแลนด์ จนลูกค้าเริ่มยอมรับ 100 เปอร์เซ็นต์ จึงเปิดว่าสินค้ามาจากไทย เพราะจากประสบการณ์พบว่า ถ้ารีบบอกว่าเป็นสินค้าไทย ลูกค้ามักจะถามว่าทำไมแพงกว่าจีน เขาจะไม่มองเรื่องศักยภาพฝีมือ ซึ่งถ้าไม่มีแบรนด์และคุณภาพสินค้าจะไม่สามารถสู้กับจีนได้เลย จนได้รับการยอมรับแบรนด์แล้ว จึงขายสินค้าในราคามาตรฐานออสเตรเลีย
เมื่อตีตราเมดอินไทยแลนด์ เราจะดูในอินเทอร์เน็ตว่าลูกค้าวิจารณ์สินค้าอย่างไร ช่วงหลังบริษัทเริ่มติดป้ายที่โชว์รูมในออสเตรเลียเลยว่า บริษัทเราคือผู้ประกอบการไทย ประเทศไทยมีศักยภาพไม่ว่ารถยี่อะไรล้วนผลิตจากเมืองไทย เราจึงภูมิใจในสินค้าไทย และด้วยความเคารพในมาตรฐานความปลอดภัยของออสเตรเลีย สินค้าทุกชิ้นได้ผ่านการทดสอบจากหน่วยงานควบคุมของออสเตรเลียอย่างได้ มาตรฐาน ด้วยความภูมิใจในสินค้าไทย และความภูมิใจในมาตรฐานของออสเตรเลีย ซึ่งป้ายนี้ติดไว้ในโชว์รูมให้คนออสเตรเลียได้อ่าน
จริง ๆ แล้ว 6 เดือนแรกที่ไปค่อนข้างกลัว เพราะเคยมีคนไปเปิดแบบเราแล้วเลิกกลับมา ซึ่งสิ่งที่เรามองเห็นว่าเรามีโรงงาน และมีพาร์ทเนอร์อยู่แล้ว โดย 6 เดือนแรกที่เปิดลูกค้าจะเข้ามาถามถึงมาตรฐานการรับรองตลอด แม้เป็นการลงทุนที่สูงในการสร้างสินค้าให้ได้รับการรับรองในประเทศนั้น ๆ แต่ทุกอย่างต้องทำเพื่อความสบายใจของลูกค้า แม้ต้องใช้ต้นทุนในเรื่องนี้ตกชิ้นละเกือบแสน
เอสเอ็มอีหลายรายมองการลงทุนเพื่อให้ผ่านมาตรฐานนั้นสูง แต่เรามองในระบบภายในมากกว่า ว่าการมองไกล ๆ มันคุ้มหรือเปล่า พอลงทุนไปแล้ว พยายามบอกกับหลายคนว่ารับจ้างอย่างเดียวไม่ได้แล้ว เพราะถ้าเปิดอาเซียนยังไงสู้จีน เวียดนาม กัมพูชา ไม่ได้ เราต้องรับจ้างและสร้างแบรนด์ไปด้วยกัน
เห็นได้จากตลาดออสเตรเลียมีสินค้าของจีนนำเข้ากว่า 60–70 เปอร์เซ็นต์ ตอนนี้ค่าแรงงานของจีนถูกกว่าค่าแรงงานไทยไม่เกิน 20 เปอร์เซ็นต์ แต่ถ้าพัฒนาสินค้าสามารถแข่งขันได้ ภาครัฐจีนก็ส่งเสริมเอสเอ็มอีจริง ๆ แต่ที่ผ่านมาภาครัฐไทยยังไม่ส่งเสริมอย่างเต็มที่ แม้แต่เครื่องจักรยังต้องช่วยเหลือตัวเอง แต่ถ้าจีนช่วยเหลือมากกว่า
สินค้าไทยเมื่อต้องแข่งกับจีน คนไทยในความเป็นจริงมีความเป็นจีนเหมือนกัน ในอนาคตเราก็ไม่แพ้ แต่ที่น่ากลัวอยู่ที่ประชากรเขามากกว่า และต้นทุนที่ภาครัฐของจีนเขาช่วยมากกว่าเรา ซึ่งจากการไปดูเครื่องจักรของเขาพัฒนาไปไกลมาก
เอสเอ็มอีไทยตอนนี้ต้องเจอปัญหาค่าแรงงาน ถ้ารับจ้างผลิตจะถูกลูกค้ากำหนดราคา แต่ถ้าเราตื่นตัวกำหนดราคาเองเมื่อสร้างแบรนด์จะช่วยได้ หรือหลายโรงงานใช้คนต่างด้าว ถ้ามองอนาคตยาว ๆ ถ้าประเทศเขาพร้อมพัฒนาแล้วเรียกคนเขากลับประเทศแล้วจะเกิดอะไรขึ้นกับ อุตสาหกรรมไทย โรงงานเราเลยพยายามจ้างคนไทย 100 เปอร์เซ็นต์ เพราะเมื่อสร้างแบรนด์ทำอะไรได้มากกว่ารับจ้างผลิตจึงสามารถให้ค่าจ้างแพง ๆ ได้
สิ่งสำคัญต้องพยายามปลูกฝังพนักงานให้รักบ้านเมืองตัวเอง ไม่ใช่ว่าเราจ้างแรงงานต่างด้าวที่อาจมีค่าแรงไม่เท่าแรงงานไทย แต่ผู้ประกอบการเองต้องคำนึงถึงบ้านเมืองด้วย อันไหนให้ได้ก็ต้องให้ บางโรงงานรับงานจากลูกค้ามาถูก แล้วมากดราคาแรงงานอีกทอด ลูกจ้างก็ไม่อยากจะทำงาน
เครื่องจักรต่าง ๆ ล้วนมีความสำคัญในการนำมาใช้ โดยพนักงานต้องมีทักษะเพื่อควบคุม เพื่อลดต้นทุนการผลิต แต่ถ้าเป็นแรงงานต่างด้าวจะมีปัญหาเรื่องการสื่อสาร ผู้ประกอบการต้องปลูกฝังให้พนักงานรักองค์กรให้ได้ หากใช้แรงงานต่างด้าวจะมีผลต่อการสื่อสารในการควบคุมเครื่องจักร และหากเราพัฒนาเขาก็ไม่รู้ว่าแรงงานต่างด้าวจะอยู่กับบริษัทนานเท่าไหร่ หากเขาถูกเรียกตัวกลับประเทศแล้วเราจะทำอย่างไร!?
ในภาวะค่าแรงเพิ่มขึ้น เครื่องจักรช่วยลดต้นทุนการผลิตได้ 30 เปอร์เซ็นต์ ที่คุยกันมีหลายโรงงานใช้เครื่องจักรแทนคนเพื่อลดต้นทุน ปัจจุบันที่โรงงานมี เครื่องตัดเลเซอร์ เน้นตัดแผ่นเหล็กเพื่อประกอบชิ้นส่วนเร็วขึ้น ลดค่าใช้จ่าย การคุ้มทุนในการมีเครื่องจักรทันสมัยในภาวะที่เราสร้างแบรนด์ต้องมีความแม่น ยำ ผิดพลาดน้อย เพื่อที่เราจะสามารถกำหนดราคาสินค้า ไม่ใช่ให้ลูกค้ากำหนดราคา
การปรับตัวของเอสเอ็มอีเมื่อเปิดอาเซียนที่สำคัญอยู่ที่การสื่อสารกันง่าย ขึ้น มองถึงผู้ประกอบการที่จะลงทุนนอกประเทศ ยังไงเมืองไทยน่าลงทุนที่สุด การอยู่ในเมืองไทยเรื่องกฎระเบียบหรือขนส่งยังไงประเทศอื่นก็สู้เมืองไทยไม่ ได้ แต่ที่ผ่านมาผู้ประกอบการใช้อารมณ์ว่าเบื่อแรงงานไทย แต่ถ้าเราคิดว่าจะใช้แรงงานเขาอย่างเดียวก็ไม่ได้ แต่ต้องปลูกฝังความรู้ด้วย
เอสเอ็มอีไทยอย่าคิดว่าสินค้าไทยราคาถูก ไม่อยากให้ต่างชาติมองว่ายังไงเราก็ต้องรับจ้างเขาผลิต เราสามารถอัพราคาได้ ถ้าสร้างแบรนด์หรือประยุกต์ในการพัฒนาสินค้าให้ลูกค้ายอมรับได้ เพราะผลกำไรจากการรับจ้างผลิตเมื่อเทียบกับการสร้างแบรนด์ของตัวเองอยู่ที่ 30 เปอร์เซ็นต์ ถ้าเรายอมสร้างแบรนด์และรอระยะเวลาในการยอมรับ ถึงรอมา 10 ปีก็คุ้มในระยะยาว
เอสเอ็มอีไทยในการเปิดตลาดต่างประเทศนอกจากความรู้แล้ว การหาจุดเด่นของตัวเองเพื่อทำการพัฒนาก็เป็นเรื่องสำคัญเช่นกัน.
แต่ก่อนออกไปมองข้างนอก จำเป็นที่จะต้องกลับมามองความจริงภายในองค์กร เพราะคุณภาพในการผลิตเป็นอีกโจทย์ใหญ่สำคัญในการก้าวเดิน และจากปัญหาค่าแรงงานเพิ่มขึ้น เอสเอ็มอีไทยหลายรายเริ่มมองหาเครื่องจักรเพื่อมาใช้แทนแรงงานคน ซึ่งงานอินเตอร์แมค–ซับคอนไทยแลนด์ 2013 งานแสดงเครื่องจักรผลิตชิ้นส่วน ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 16–19 พฤษภาคมนี้ ที่ไบเทค บางนา เป็นอีกโอกาสที่เอสเอ็มอีไทยจะได้เห็นการพัฒนาของเครื่องจักร
สำหรับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทยการก้าวกระโดดไปยังต่างประเทศไม่ใช่เรื่อง ง่าย แต่ สมคิด ศิรนานนท์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็ม.ซี.ซี. อินดัสเทรียล นิว 1999 จำกัด ผู้ผลิตอุปกรณ์ตกแต่งรถโฟร์วีลส์ ซึ่งมีศูนย์กระจายสินค้าที่ออสเตรเลียเปิดเผยว่า เริ่มทำธุรกิจนี้มาแล้ว 13 ปี เริ่มต้นจากธุรกิจท่อไอเสียรถยนต์
โดยเมื่อ 10 ปีก่อนขายในประเทศ 80 เปอร์เซ็นต์ ตอนนี้ส่งต่างประเทศ 80–90 เปอร์เซ็นต์ เพราะความต้องการของลูกค้าคนไทยเปลี่ยนไป จากแต่ก่อนคนไทยใส่อุปกรณ์นี้เพราะแฟชั่น แต่ในต่างประเทศใส่เพื่อใช้งานจริง ๆ บริษัทเลยพยายามพัฒนางานให้ได้รับการยอมรับจากต่างชาติ หลัก ๆ ส่งไปในกลุ่มประเทศแถบทะเลทราย และประเทศที่มีผืนป่ามาก
แรกเริ่มจากธุรกิจท่อไอเสีย แล้วต่อยอดไปสู่เครื่องประดับยนต์ เน้นการสร้างแบรนด์ด้วยตัวเองตั้งแต่แรก เพราะคนไทยส่วนใหญ่นิยมรับจ้างผลิตโดยไม่มีแบรนด์ของตัวเอง ปัจจุบันยังมีหลายรายเป็นอยู่ ซึ่งบริษัทเองระยะแรกมีส่วนหนึ่งที่รับจ้างผลิต แต่อยู่ภายใต้เงื่อนไขแบรนด์ของเรา คือเขาอาจตีแบรนด์ของเขา แต่ต้องอยู่ในกรอบเฟรมโลโก้ของเรา พอใครเห็นก็รู้ว่านี่แบรนด์ของบริษัท
ช่วงแรกที่ไปเปิดตลาดที่ออสเตร เลียแต่ก่อนไม่มีเทคโนโลยี การทำงานไม่เน้นจำนวน แต่ต้องศึกษาให้มั่นคงก่อน และพัฒนาเรื่องคุณภาพ รวมถึงศึกษาความต้องการของตลาด เพื่อทำให้ลูกค้ามั่นใจในสินค้าก่อน แล้วค่อยลุยเรื่องการสร้างแบรนด์
ตอนนี้บริษัทสร้างศูนย์กระจายสินค้าที่ออสเตรเลียเมื่อ 2 ปีก่อน ด้วยสินค้าที่เฉพาะกลุ่ม พอตลาดมันเล็ก พวกผู้ผลิตที่ขายของแมสโปรดักส์จะไม่ค่อยอยากมาทำตลาดสักเท่าไหร่ ขณะเดียวกันต้องใช้แรงงานฝีมือ ผู้ประกอบการต้องใส่ใจการดีไซน์ แรก ๆ ยอมรับว่าก๊อบปี้แบบมาบ้าง แต่ต้องพยายามพัฒนาในด้านแบบที่เป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง แล้วค่อยส่งไปทดลองคุณภาพที่ออสเตรเลีย เพื่อให้ได้มาตรฐานการยอมรับตามที่ลูกค้าต้องการ
การไปต่างประเทศ หลายครั้งติดกฎระเบียบของประเทศนั้น ๆ ระยะแรกมองหาลู่ทางโดยเข้าร่วมกับหน่วยงานการลงทุนของไทย แต่การติดต่อกับองค์กรรัฐในต่างประเทศค่อนข้างยากและช้า ไม่ทันกับการพัฒนาสินค้าเลยต้องดำเนินการเองทุกอย่าง จนสามารถเปิดด้วยตัวเองได้ แต่ถ้าเดินตามภาครัฐยากมาก ถ้าใครอยากเปิดตลาดในต่างประเทศต้องเข้าไปศึกษาอย่างถ่องแท้จริง ๆ ไม่ว่ากฎหมายหรือด้านบัญชีที่เป็นหัวใจหลัก
ผู้ร่วมธุรกิจในประเทศนั้น ๆ ก็สำคัญ เพราะก่อนจะไปสร้างแบรนด์ที่ออสเตรเลีย เราโตจากช็อปเล็ก ๆ แล้วค่อยพัฒนามาขนาดใหญ่ จนพาร์ทเนอร์เชื่อถือและไว้ใจบริษัท การไปเปิดที่ออสเตรเลียเป็นการเปิดเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าอีกทางหนึ่ง
ช่วงสองปีแรกเรายังไม่กล้าบอกว่าเมดอินไทยแลนด์ จนลูกค้าเริ่มยอมรับ 100 เปอร์เซ็นต์ จึงเปิดว่าสินค้ามาจากไทย เพราะจากประสบการณ์พบว่า ถ้ารีบบอกว่าเป็นสินค้าไทย ลูกค้ามักจะถามว่าทำไมแพงกว่าจีน เขาจะไม่มองเรื่องศักยภาพฝีมือ ซึ่งถ้าไม่มีแบรนด์และคุณภาพสินค้าจะไม่สามารถสู้กับจีนได้เลย จนได้รับการยอมรับแบรนด์แล้ว จึงขายสินค้าในราคามาตรฐานออสเตรเลีย
เมื่อตีตราเมดอินไทยแลนด์ เราจะดูในอินเทอร์เน็ตว่าลูกค้าวิจารณ์สินค้าอย่างไร ช่วงหลังบริษัทเริ่มติดป้ายที่โชว์รูมในออสเตรเลียเลยว่า บริษัทเราคือผู้ประกอบการไทย ประเทศไทยมีศักยภาพไม่ว่ารถยี่อะไรล้วนผลิตจากเมืองไทย เราจึงภูมิใจในสินค้าไทย และด้วยความเคารพในมาตรฐานความปลอดภัยของออสเตรเลีย สินค้าทุกชิ้นได้ผ่านการทดสอบจากหน่วยงานควบคุมของออสเตรเลียอย่างได้ มาตรฐาน ด้วยความภูมิใจในสินค้าไทย และความภูมิใจในมาตรฐานของออสเตรเลีย ซึ่งป้ายนี้ติดไว้ในโชว์รูมให้คนออสเตรเลียได้อ่าน
จริง ๆ แล้ว 6 เดือนแรกที่ไปค่อนข้างกลัว เพราะเคยมีคนไปเปิดแบบเราแล้วเลิกกลับมา ซึ่งสิ่งที่เรามองเห็นว่าเรามีโรงงาน และมีพาร์ทเนอร์อยู่แล้ว โดย 6 เดือนแรกที่เปิดลูกค้าจะเข้ามาถามถึงมาตรฐานการรับรองตลอด แม้เป็นการลงทุนที่สูงในการสร้างสินค้าให้ได้รับการรับรองในประเทศนั้น ๆ แต่ทุกอย่างต้องทำเพื่อความสบายใจของลูกค้า แม้ต้องใช้ต้นทุนในเรื่องนี้ตกชิ้นละเกือบแสน
เอสเอ็มอีหลายรายมองการลงทุนเพื่อให้ผ่านมาตรฐานนั้นสูง แต่เรามองในระบบภายในมากกว่า ว่าการมองไกล ๆ มันคุ้มหรือเปล่า พอลงทุนไปแล้ว พยายามบอกกับหลายคนว่ารับจ้างอย่างเดียวไม่ได้แล้ว เพราะถ้าเปิดอาเซียนยังไงสู้จีน เวียดนาม กัมพูชา ไม่ได้ เราต้องรับจ้างและสร้างแบรนด์ไปด้วยกัน
เห็นได้จากตลาดออสเตรเลียมีสินค้าของจีนนำเข้ากว่า 60–70 เปอร์เซ็นต์ ตอนนี้ค่าแรงงานของจีนถูกกว่าค่าแรงงานไทยไม่เกิน 20 เปอร์เซ็นต์ แต่ถ้าพัฒนาสินค้าสามารถแข่งขันได้ ภาครัฐจีนก็ส่งเสริมเอสเอ็มอีจริง ๆ แต่ที่ผ่านมาภาครัฐไทยยังไม่ส่งเสริมอย่างเต็มที่ แม้แต่เครื่องจักรยังต้องช่วยเหลือตัวเอง แต่ถ้าจีนช่วยเหลือมากกว่า
สินค้าไทยเมื่อต้องแข่งกับจีน คนไทยในความเป็นจริงมีความเป็นจีนเหมือนกัน ในอนาคตเราก็ไม่แพ้ แต่ที่น่ากลัวอยู่ที่ประชากรเขามากกว่า และต้นทุนที่ภาครัฐของจีนเขาช่วยมากกว่าเรา ซึ่งจากการไปดูเครื่องจักรของเขาพัฒนาไปไกลมาก
เอสเอ็มอีไทยตอนนี้ต้องเจอปัญหาค่าแรงงาน ถ้ารับจ้างผลิตจะถูกลูกค้ากำหนดราคา แต่ถ้าเราตื่นตัวกำหนดราคาเองเมื่อสร้างแบรนด์จะช่วยได้ หรือหลายโรงงานใช้คนต่างด้าว ถ้ามองอนาคตยาว ๆ ถ้าประเทศเขาพร้อมพัฒนาแล้วเรียกคนเขากลับประเทศแล้วจะเกิดอะไรขึ้นกับ อุตสาหกรรมไทย โรงงานเราเลยพยายามจ้างคนไทย 100 เปอร์เซ็นต์ เพราะเมื่อสร้างแบรนด์ทำอะไรได้มากกว่ารับจ้างผลิตจึงสามารถให้ค่าจ้างแพง ๆ ได้
สิ่งสำคัญต้องพยายามปลูกฝังพนักงานให้รักบ้านเมืองตัวเอง ไม่ใช่ว่าเราจ้างแรงงานต่างด้าวที่อาจมีค่าแรงไม่เท่าแรงงานไทย แต่ผู้ประกอบการเองต้องคำนึงถึงบ้านเมืองด้วย อันไหนให้ได้ก็ต้องให้ บางโรงงานรับงานจากลูกค้ามาถูก แล้วมากดราคาแรงงานอีกทอด ลูกจ้างก็ไม่อยากจะทำงาน
เครื่องจักรต่าง ๆ ล้วนมีความสำคัญในการนำมาใช้ โดยพนักงานต้องมีทักษะเพื่อควบคุม เพื่อลดต้นทุนการผลิต แต่ถ้าเป็นแรงงานต่างด้าวจะมีปัญหาเรื่องการสื่อสาร ผู้ประกอบการต้องปลูกฝังให้พนักงานรักองค์กรให้ได้ หากใช้แรงงานต่างด้าวจะมีผลต่อการสื่อสารในการควบคุมเครื่องจักร และหากเราพัฒนาเขาก็ไม่รู้ว่าแรงงานต่างด้าวจะอยู่กับบริษัทนานเท่าไหร่ หากเขาถูกเรียกตัวกลับประเทศแล้วเราจะทำอย่างไร!?
ในภาวะค่าแรงเพิ่มขึ้น เครื่องจักรช่วยลดต้นทุนการผลิตได้ 30 เปอร์เซ็นต์ ที่คุยกันมีหลายโรงงานใช้เครื่องจักรแทนคนเพื่อลดต้นทุน ปัจจุบันที่โรงงานมี เครื่องตัดเลเซอร์ เน้นตัดแผ่นเหล็กเพื่อประกอบชิ้นส่วนเร็วขึ้น ลดค่าใช้จ่าย การคุ้มทุนในการมีเครื่องจักรทันสมัยในภาวะที่เราสร้างแบรนด์ต้องมีความแม่น ยำ ผิดพลาดน้อย เพื่อที่เราจะสามารถกำหนดราคาสินค้า ไม่ใช่ให้ลูกค้ากำหนดราคา
การปรับตัวของเอสเอ็มอีเมื่อเปิดอาเซียนที่สำคัญอยู่ที่การสื่อสารกันง่าย ขึ้น มองถึงผู้ประกอบการที่จะลงทุนนอกประเทศ ยังไงเมืองไทยน่าลงทุนที่สุด การอยู่ในเมืองไทยเรื่องกฎระเบียบหรือขนส่งยังไงประเทศอื่นก็สู้เมืองไทยไม่ ได้ แต่ที่ผ่านมาผู้ประกอบการใช้อารมณ์ว่าเบื่อแรงงานไทย แต่ถ้าเราคิดว่าจะใช้แรงงานเขาอย่างเดียวก็ไม่ได้ แต่ต้องปลูกฝังความรู้ด้วย
เอสเอ็มอีไทยอย่าคิดว่าสินค้าไทยราคาถูก ไม่อยากให้ต่างชาติมองว่ายังไงเราก็ต้องรับจ้างเขาผลิต เราสามารถอัพราคาได้ ถ้าสร้างแบรนด์หรือประยุกต์ในการพัฒนาสินค้าให้ลูกค้ายอมรับได้ เพราะผลกำไรจากการรับจ้างผลิตเมื่อเทียบกับการสร้างแบรนด์ของตัวเองอยู่ที่ 30 เปอร์เซ็นต์ ถ้าเรายอมสร้างแบรนด์และรอระยะเวลาในการยอมรับ ถึงรอมา 10 ปีก็คุ้มในระยะยาว
เอสเอ็มอีไทยในการเปิดตลาดต่างประเทศนอกจากความรู้แล้ว การหาจุดเด่นของตัวเองเพื่อทำการพัฒนาก็เป็นเรื่องสำคัญเช่นกัน.
“ในภาวะค่าแรงเพิ่มขึ้น เครื่องจักรช่วยลดต้นทุนการผลิตได้ 30
เปอร์เซ็นต์ ที่คุยกันมีหลายโรงงานใช้เครื่องจักรแทนคนเพื่อลดต้นทุน
ปัจจุบันที่โรงงานมีเครื่องตัดเลเซอร์
เน้นตัดแผ่นเหล็กเพื่อประกอบชิ้นส่วนเร็วขึ้น ลดค่าใช้จ่าย
การคุ้มทุนในการมีเครื่องจักรทันสมัยในภาวะที่เราสร้างแบรนด์ต้องมีความแม่น
ยำ ผิดพลาดน้อย เพื่อที่เราจะสามารถกำหนดราคาสินค้า
ไม่ใช่ให้ลูกค้ากำหนดราคา”
วิเคราะห์ผลกระทบค่าแรง
ข้อมูลจาก สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ สสว. วิเคราะห์ผลกระทบจากการขึ้นค่าแรงว่า ผลด้านบวกผู้ใช้แรงงานมีรายได้เพิ่ม ทำให้มีความสามารถในการจับจ่ายใช้สอยหรือกำลังซื้อเพิ่ม และเกิดการปรับตัวในการใช้ความรู้เพิ่มทักษะมากขึ้น โดยภาคธุรกิจต้องให้ความสำคัญกับการจ้างแรงงานที่มีความรู้และประสบการณ์มาก ขึ้น เพื่อให้คุ้มค่ากับต้นทุนค่าใช้จ่ายด้านแรงงาน
ด้านข้อเสนอแนะเชิงนโยบายมาตรการที่ต้องทำควบคู่ไปกับการปรับขึ้นค่าแรงขั้น ต่ำ เช่น การปรับขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป ในกลุ่มที่มีความพร้อมก่อน เช่น ผู้ประกอบการรายใหญ่ หรือขนาดกลางที่จำเป็นต้องใช้แรงงานกึ่งฝีมือหรือมีประสบการณ์
การจูงใจภาคธุรกิจในการปรับเพิ่มค่าแรง เช่น การลดภาษีรายได้นิติบุคคล (สำหรับ SMEs มักมีปัญหาไม่ได้เข้าสู่ระบบภาษีหรืออยู่ในภาวะขาดทุน), การหักคืนภาษี การเพิ่มประสิทธิภาพแรงงาน อาจต้องจัดการอบรมแบบเฉพาะทางให้กับธุรกิจแต่ละสาขาสำหรับลูกจ้างรายเดิม หรือการอบรมเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ตลาดแรงงานของแรงงานรายใหม่
ทีมวาไรตี้
วิเคราะห์ผลกระทบค่าแรง
ข้อมูลจาก สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ สสว. วิเคราะห์ผลกระทบจากการขึ้นค่าแรงว่า ผลด้านบวกผู้ใช้แรงงานมีรายได้เพิ่ม ทำให้มีความสามารถในการจับจ่ายใช้สอยหรือกำลังซื้อเพิ่ม และเกิดการปรับตัวในการใช้ความรู้เพิ่มทักษะมากขึ้น โดยภาคธุรกิจต้องให้ความสำคัญกับการจ้างแรงงานที่มีความรู้และประสบการณ์มาก ขึ้น เพื่อให้คุ้มค่ากับต้นทุนค่าใช้จ่ายด้านแรงงาน
ด้านข้อเสนอแนะเชิงนโยบายมาตรการที่ต้องทำควบคู่ไปกับการปรับขึ้นค่าแรงขั้น ต่ำ เช่น การปรับขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป ในกลุ่มที่มีความพร้อมก่อน เช่น ผู้ประกอบการรายใหญ่ หรือขนาดกลางที่จำเป็นต้องใช้แรงงานกึ่งฝีมือหรือมีประสบการณ์
การจูงใจภาคธุรกิจในการปรับเพิ่มค่าแรง เช่น การลดภาษีรายได้นิติบุคคล (สำหรับ SMEs มักมีปัญหาไม่ได้เข้าสู่ระบบภาษีหรืออยู่ในภาวะขาดทุน), การหักคืนภาษี การเพิ่มประสิทธิภาพแรงงาน อาจต้องจัดการอบรมแบบเฉพาะทางให้กับธุรกิจแต่ละสาขาสำหรับลูกจ้างรายเดิม หรือการอบรมเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ตลาดแรงงานของแรงงานรายใหม่
ทีมวาไรตี้
credit by : http://www.dailynews.co.th/article/224/204286
ขายของได้ทุกที่ บนรถขายขายของเคลื่อนที่ ได้ทั้งของกินและเครื่องดื่ม
ตัวอย่างอาชีพค้าขายที่ไม่ง้อทำเล(รูป)ตอน 1-12
download ...http://bit.ly/2kYAKOt
ตัวอย่างอาชีพค้าขายที่ไม่ง้อทำเล(รูป)ตอน 1-12
download ...http://bit.ly/2kYAKOt
Adv