คำว่า “พลิกแพลง-ต่อยอด”
ยังคงเป็นคาถาชั้นเลิศที่ยังใช้ได้ดีกับคนในอาชีพผลิตงานประดิษฐ์
อาชีพผลิตงานฝีมือ ยิ่งถ้าหากเก่งในการมองหาตลาด
รู้จักสร้างสรรค์จุดเด่นสินค้า ก็ไม่ยากที่จะทำเงินงามจากสินค้าเหล่านั้น
อย่างงานประดิษฐ์จากดิน แม้ในตลาดจะมีคนทำอยู่มาก แต่ก็ยังไปได้ดี
ยังมีผลงานหลากหลายออกมา อย่างเช่น งาน “ต้นข้าวจิ๋วจากดินไทย” โดย
“นลินรัตน์ โชติรัตน์โญธิน” ศูนย์หัตถการพัฒนา จ.ปทุมธานี ที่
“ช่องทางทำกิน“ จะนำเสนอวันนี้...
คุณนลินรัตน์ เล่าว่า ตนมีอาชีพทำงานประดิษฐ์มานานหลายปี ทำงานประดิษฐ์มาตั้งแต่ปี 2547 เรื่อยมา โดยพยายามปรับปรุงผลงานและพัฒนาสินค้าให้มีความหลากหลาย โดยเฉพาะ “งานประดิษฐ์จากดิน” ซึ่งปัจจุบันนอกจากจะผลิตสินค้า ทำงานฝีมือประเภทของตกแต่ง ของขวัญ ของที่ระลึก เพื่อจำหน่ายทั่วไปแล้วก็ยังรับเป็นวิทยากรเข้าไปสอนให้กับสถานศึกษาและ หน่วยงานต่าง ๆ เพื่อสร้างอาชีพให้คนอื่น ๆ ด้วย ในนามศูนย์หัตถการพัฒนา จ.ปทุมธานี
งานต้นข้าวจิ๋วจากดินไทยนี้ มาจากความคิดว่าต้นข้าวมีรูปทรงสวยงามและมีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ หากนำมาปรับใช้เข้ากับงานประดิษฐ์จากดินที่ทำอยู่ก็น่าจะเป็นสินค้าที่น่า สนใจ โดยปรับขนาดและรูปแบบออกมาให้เป็นต้นข้าวจิ๋ว ตกแต่งและจัดวางในภาชนะเก๋ ๆ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม
คุณนลินรัตน์กล่าวต่อไปว่า งานประดิษฐ์ต้นข้าวจากดินที่ทำอยู่เป็นงานต่อยอดจากงานประดิษฐ์จากดินที่ทำ อยู่ก่อนแล้ว นอกจากต้นข้าวขนาดจิ๋วก็ยังมีขนาดอื่นให้ลูกค้าเลือกตามความเหมาะสม โดยนำเรื่องการเลือกภาชนะและการนำวัสดุตกแต่งมาใส่เข้าไปในชิ้นงาน มาช่วยเพิ่มมูลค่า ทำให้สินค้ามีความน่าสนใจเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ดินที่ใช้ขึ้นรูปงานนั้นก็เป็นดินที่ทางกลุ่มผลิตขึ้นเอง ทำให้ต้นทุนในส่วนของดินที่ใช้ในการปั้นลดลงมา
“รูปแบบของต้นข้าวมีความโดดเด่นอยู่ในตัว เราแค่พยายามทำให้เหมือนหรือคล้ายคลึงตามธรรมชาติมากที่สุด สีที่ใช้ก็เป็นการเลียนแบบสีต้นข้าวตามธรรมชาติ เพียงแต่มาเสริมในเรื่องของวัสดุตกแต่งและภาชนะที่ใช้สำหรับจัดวางต้นข้าว ทำให้โดดเด่น ทำให้เกิดมูลค่าเพิ่มขึ้นเท่านั้นเอง” คุณนลินรัตน์กล่าว...
ทุนเบื้องต้นการทำงานลักษณะนี้อยู่ที่ประมาณ 1,000 บาทสำหรับค่าอุปกรณ์ ส่วนทุนวัตถุดิบอยู่ที่ประมาณ 40% จากราคาขาย ซึ่งเริ่มต้นที่ชิ้นละ 30 บาทขึ้นไป
อุปกรณ์การทำ หลัก ๆ ประกอบด้วย กรรไกรก้ามปู, คลัสเตอร์, คีมดัดลวด, กระดาษแก้วหรือแผ่นพลาสติกใส สำหรับใช้รีดดิน และปากคีบสำหรับใช้หนีบจับเพื่อติดส่วนประกอบ ขณะที่วัสดุประกอบด้วย ดินประดิษฐ์, สีน้ำมัน (สีเหลืองและสีขาว), สีผสมอาหาร (สีเขียว), ลวด, ฟลอราเทป, กาวลาเท็กซ์, ภาชนะสำหรับวางต้นข้าว และวัสดุตกแต่ง
ขั้นตอนการทำ เริ่มจากการนวดดินให้มีความนิ่มพอสำหรับการทำงานปั้น จากนั้นนำสีน้ำมันและสีผสมอาหารมาผสมลงในดิน ทำการนวดคลุกเคล้าดินจนสีผสมเข้ากันเป็นเนื้อเดียว สีขาวที่ใช้จะช่วยเพิ่มสีของเนื้อดินให้มีความขุ่นหรือมีเฉดมากขึ้น เพราะดินที่ใช้ก่อนผสมจะมีความใส สำหรับสีเหลือง และสีเขียว ใช้ทำเมล็ด และใบ กับลำต้นของข้าว
เมื่อนวดดินที่ผสมสีจนเสร็จและได้สีตามที่ต้องการแล้ว ก็นำมานวดคลึงให้เป็นท่อนกลมยาว แล้วนำดินที่นวดคลึงจนเป็นท่อนกลมยาวนั้นมาทำการตัดเฉียงด้วยกรรไกรก้ามปู เพื่อทำเป็นเมล็ดข้าว ใช้ปากคีบเล็กแหลมจับบีบที่ดินที่ถูกตัดเฉียงนั้นให้เกิดเป็นลวดลายบนเมล็ด ข้าว รอให้แห้ง ระหว่างนั้นก็ทำการรีดดินสีเขียวที่ผสมไว้ ตัดด้วยกรรไกรและนำมารีดให้เป็นใบข้าวด้วยกระดาษแก้วหรือแผ่นพลาสติก รอให้แห้ง
เมื่อแห้ง ก็นำมาประกอบเข้าด้วยกันด้วยกาว เริ่มจากการประกอบเมล็ดข้าวกับลำต้น จากนั้นประกอบใบข้าวเข้ากับลวดดัด ทำการหุ้มฟลอราเทป จัดวางลงภาชนะที่เตรียมไว้ ตกแต่งด้วยวัสดุตามต้องการ ตรวจความเรียบร้อย ดัดแต่งต้นข้าวให้ดูสวยงาม เป็นอันเสร็จขั้นตอน
“มีเคล็ดลับนิดหน่อยเกี่ยวกับขณะที่ทำชิ้นงานคือ ทุกขั้นตอนควรทาครีมหรือโลชั่นที่มีส่วนผสมของน้ำมันเล็กน้อย เพื่อไม่ให้ดินเหนียวติดมือหรืออุปกรณ์ระหว่างทำ จะช่วยให้การทำงานมีความลื่นไหลยิ่งขึ้น” เป็นเคล็ดลับระหว่างทำงานดินประดิษฐ์ที่ทางกรณีศึกษา “ช่องทางทำกิน” รายนี้แนะนำ...
ใครสนใจงาน “ต้นข้าวจิ๋ว“ จากดินไทย ต้องการติดต่อคุณนลินรัตน์
ศูนย์หัตถการพัฒนา จ.ปทุมธานี ติดต่อได้ที่ โทร.08-1854-5495, 08-1935-7002
หรือwww.facebook.com/pages/Magicflowers
ซึ่งหากใครสนใจอยากรู้ข้อมูลมากขึ้นอีก หรืออยากลองฝึกหัดทำ
คุณนลินรัตน์บอกว่ายินดีถ่ายทอดและให้คำแนะนำแบบไม่หวงวิชา.
ศิริโรจน์ ศิริแพทย์ : เรื่อง / สุนิสา ธนพันธสกุล : ภาพ
credit by : http://www.dailynews.co.th/article/384/213597
คุณนลินรัตน์ เล่าว่า ตนมีอาชีพทำงานประดิษฐ์มานานหลายปี ทำงานประดิษฐ์มาตั้งแต่ปี 2547 เรื่อยมา โดยพยายามปรับปรุงผลงานและพัฒนาสินค้าให้มีความหลากหลาย โดยเฉพาะ “งานประดิษฐ์จากดิน” ซึ่งปัจจุบันนอกจากจะผลิตสินค้า ทำงานฝีมือประเภทของตกแต่ง ของขวัญ ของที่ระลึก เพื่อจำหน่ายทั่วไปแล้วก็ยังรับเป็นวิทยากรเข้าไปสอนให้กับสถานศึกษาและ หน่วยงานต่าง ๆ เพื่อสร้างอาชีพให้คนอื่น ๆ ด้วย ในนามศูนย์หัตถการพัฒนา จ.ปทุมธานี
งานต้นข้าวจิ๋วจากดินไทยนี้ มาจากความคิดว่าต้นข้าวมีรูปทรงสวยงามและมีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ หากนำมาปรับใช้เข้ากับงานประดิษฐ์จากดินที่ทำอยู่ก็น่าจะเป็นสินค้าที่น่า สนใจ โดยปรับขนาดและรูปแบบออกมาให้เป็นต้นข้าวจิ๋ว ตกแต่งและจัดวางในภาชนะเก๋ ๆ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม
คุณนลินรัตน์กล่าวต่อไปว่า งานประดิษฐ์ต้นข้าวจากดินที่ทำอยู่เป็นงานต่อยอดจากงานประดิษฐ์จากดินที่ทำ อยู่ก่อนแล้ว นอกจากต้นข้าวขนาดจิ๋วก็ยังมีขนาดอื่นให้ลูกค้าเลือกตามความเหมาะสม โดยนำเรื่องการเลือกภาชนะและการนำวัสดุตกแต่งมาใส่เข้าไปในชิ้นงาน มาช่วยเพิ่มมูลค่า ทำให้สินค้ามีความน่าสนใจเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ดินที่ใช้ขึ้นรูปงานนั้นก็เป็นดินที่ทางกลุ่มผลิตขึ้นเอง ทำให้ต้นทุนในส่วนของดินที่ใช้ในการปั้นลดลงมา
“รูปแบบของต้นข้าวมีความโดดเด่นอยู่ในตัว เราแค่พยายามทำให้เหมือนหรือคล้ายคลึงตามธรรมชาติมากที่สุด สีที่ใช้ก็เป็นการเลียนแบบสีต้นข้าวตามธรรมชาติ เพียงแต่มาเสริมในเรื่องของวัสดุตกแต่งและภาชนะที่ใช้สำหรับจัดวางต้นข้าว ทำให้โดดเด่น ทำให้เกิดมูลค่าเพิ่มขึ้นเท่านั้นเอง” คุณนลินรัตน์กล่าว...
ทุนเบื้องต้นการทำงานลักษณะนี้อยู่ที่ประมาณ 1,000 บาทสำหรับค่าอุปกรณ์ ส่วนทุนวัตถุดิบอยู่ที่ประมาณ 40% จากราคาขาย ซึ่งเริ่มต้นที่ชิ้นละ 30 บาทขึ้นไป
อุปกรณ์การทำ หลัก ๆ ประกอบด้วย กรรไกรก้ามปู, คลัสเตอร์, คีมดัดลวด, กระดาษแก้วหรือแผ่นพลาสติกใส สำหรับใช้รีดดิน และปากคีบสำหรับใช้หนีบจับเพื่อติดส่วนประกอบ ขณะที่วัสดุประกอบด้วย ดินประดิษฐ์, สีน้ำมัน (สีเหลืองและสีขาว), สีผสมอาหาร (สีเขียว), ลวด, ฟลอราเทป, กาวลาเท็กซ์, ภาชนะสำหรับวางต้นข้าว และวัสดุตกแต่ง
ขั้นตอนการทำ เริ่มจากการนวดดินให้มีความนิ่มพอสำหรับการทำงานปั้น จากนั้นนำสีน้ำมันและสีผสมอาหารมาผสมลงในดิน ทำการนวดคลุกเคล้าดินจนสีผสมเข้ากันเป็นเนื้อเดียว สีขาวที่ใช้จะช่วยเพิ่มสีของเนื้อดินให้มีความขุ่นหรือมีเฉดมากขึ้น เพราะดินที่ใช้ก่อนผสมจะมีความใส สำหรับสีเหลือง และสีเขียว ใช้ทำเมล็ด และใบ กับลำต้นของข้าว
เมื่อนวดดินที่ผสมสีจนเสร็จและได้สีตามที่ต้องการแล้ว ก็นำมานวดคลึงให้เป็นท่อนกลมยาว แล้วนำดินที่นวดคลึงจนเป็นท่อนกลมยาวนั้นมาทำการตัดเฉียงด้วยกรรไกรก้ามปู เพื่อทำเป็นเมล็ดข้าว ใช้ปากคีบเล็กแหลมจับบีบที่ดินที่ถูกตัดเฉียงนั้นให้เกิดเป็นลวดลายบนเมล็ด ข้าว รอให้แห้ง ระหว่างนั้นก็ทำการรีดดินสีเขียวที่ผสมไว้ ตัดด้วยกรรไกรและนำมารีดให้เป็นใบข้าวด้วยกระดาษแก้วหรือแผ่นพลาสติก รอให้แห้ง
เมื่อแห้ง ก็นำมาประกอบเข้าด้วยกันด้วยกาว เริ่มจากการประกอบเมล็ดข้าวกับลำต้น จากนั้นประกอบใบข้าวเข้ากับลวดดัด ทำการหุ้มฟลอราเทป จัดวางลงภาชนะที่เตรียมไว้ ตกแต่งด้วยวัสดุตามต้องการ ตรวจความเรียบร้อย ดัดแต่งต้นข้าวให้ดูสวยงาม เป็นอันเสร็จขั้นตอน
“มีเคล็ดลับนิดหน่อยเกี่ยวกับขณะที่ทำชิ้นงานคือ ทุกขั้นตอนควรทาครีมหรือโลชั่นที่มีส่วนผสมของน้ำมันเล็กน้อย เพื่อไม่ให้ดินเหนียวติดมือหรืออุปกรณ์ระหว่างทำ จะช่วยให้การทำงานมีความลื่นไหลยิ่งขึ้น” เป็นเคล็ดลับระหว่างทำงานดินประดิษฐ์ที่ทางกรณีศึกษา “ช่องทางทำกิน” รายนี้แนะนำ...
ศิริโรจน์ ศิริแพทย์ : เรื่อง / สุนิสา ธนพันธสกุล : ภาพ
credit by : http://www.dailynews.co.th/article/384/213597
ขายของได้ทุกที่ บนรถขายขายของเคลื่อนที่ ได้ทั้งของกินและเครื่องดื่ม
ตัวอย่างอาชีพค้าขายที่ไม่ง้อทำเล(รูป)ตอน 1-12
download ...http://bit.ly/2kYAKOt
ตัวอย่างอาชีพค้าขายที่ไม่ง้อทำเล(รูป)ตอน 1-12
download ...http://bit.ly/2kYAKOt
Adv