บ้านโพนยางคำ จ.สกลนคร นับเป็นแหล่งเลี้ยงโค และผลิตเนื้อโคขุนขึ้นชื่อที่สุดในประเทศไทย หรือที่คนทั่วไปรู้จักกันว่า “โคขุนโพนยางคำ”
นอกจากเนื้อชั้นเลิศแล้ว ผลพลอยได้จากการเลี้ยงโคขุน
ยังเกิดอาชีพแปลกที่สร้างรายได้อย่างงาม
โดยต่อยอดนำไขมันโคขุนมาต้มเป็นน้ำมันดิบเพื่อขายต่อให้แก่อุตสาหกรรมทำ
เครื่องสำอาง
เพ็ญทูล บุตรโคษา ผู้ยึดอาชีพทำน้ำมันดิบจากไขมัน โคขุน เล่าว่า ไขมันโคขุนในท้องถิ่นมีจำนวนมาก เนื่องจากชาวบ้านมีอาชีพหลักเลี้ยงโคเนื้อโพนยางคำ ซึ่งเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ ในแต่ละวันจะมีโคเข้าโรงเชือดจำนวนมาก ซึ่งส่วนใหญ่ต้องการเฉพาะส่วนเนื้อเท่านั้น ที่เหลือ ไม่ว่าเป็นไขมัน หนัง และกระดูก ทางสหกรณ์ที่เป็นโรงเชือดจะขายออกไปหมด
ส่วนตัวที่มาทำอาชีพ เกิดจากเดิมวิ่งรถรับส่งนักเรียน มีรถประจำ 2 คัน ได้แก่ รถกระบะ กับรถตู้ ซึ่งช่วงปี พ.ศ. 2550 ราคาน้ำมันดีเซลขึ้นสูงอย่างมาก ทำให้เริ่มสนใจศึกษาการผลิตน้ำมัน ไบโอดีเซล
“ตอนนั้นเราไม่มีความรู้เลย อาศัยหาความรู้จากอินเตอร์เน็ต ปรึกษาจากคนที่เชี่ยวชาญบ้าง และลองผิดลองถูกด้วยตัวเอง โดยซื้อไขมันวัวมาต้ม แล้วผสมกับวัตถุดิบอื่นๆ ตามสัดส่วนที่ได้ศึกษามา เพื่อทำเป็นไบโอดีเซล หลังจากนั้น ทดลองนำไปผสมกับน้ำมันดีเซลในสัดส่วน 1 ต่อ 5 แล้วใช้กับรถของตนเอง ปรากฏว่าใช้ได้ดี ลดค่าน้ำมันได้เยอะมาก” เพ็ญทูล กล่าว
นอกจากนี้ จากการศึกษาพบว่า น้ำมันที่ได้จากไขมันสัตว์ยังมีประโยชน์มากมายหลายอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมเครื่องสำอาง เครื่องบำรุงผิว เป็นต้น จึง มีแนวคิดผลิตน้ำมันดิบต้มจากไขมันโคขุน แล้วขายส่งให้แก่อุตสาหกรรมเหล่านี้ หลังจากนั้นได้ติดต่อกับผู้ส่งออกน้ำมันไขมันสัตว์ใน อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม รายหนึ่ง ซึ่งได้รับความสนใจ สั่งซื้อไปขายยังต่างประเทศ ทั้งอินเดีย ปากีสถาน และลิเบีย ซึ่งจะนำไปผลิตเป็นเครื่องสำอาง
เพ็ญทูล เล่าว่า เนื่องจากโคขุนโพนยางคำ เป็นโคที่ถูกเลี้ยงดูมาอย่างดี ไขมันที่ได้จึงมีความเข้มข้นและคุณภาพสูง เป็นที่ต้องการของตลาดอย่างมาก
ทั้งนี้ ขั้นตอนการทำเป็นน้ำมันดิบ
เริ่มจากไปประมูลซื้อไขมันโคขุน จากสหกรณ์โคขุนโพนยางคำ จ.สกลนคร
ซึ่งราคาจะแตกต่างกันไปในแต่ละปี อย่างปีที่ผ่านมา ประมาณตันละ 7,600 บาท
จากนั้น นำไขมัน ลงต้มในกระทะ ด้วยความร้อนเกินจุดเดือด ติดต่อกันกว่า 10
ชั่วโมง เมื่อครบเวลาจะช้อนส่วนกากออกให้หมด เหลือเฉพาะน้ำมันเท่านั้น
แล้วปล่อยให้เย็นประมาณ 12-13 ชั่วโมง
ซึ่งน้ำมันจะจับตัวแข็งเป็นก้อนอีกครั้ง
สามารถนำไปส่งขายโรงงานรับซื้อได้เลย
ส่วนกากที่เหลือจากการต้มจะมีโรงงานอาหารสัตว์เข้ามารับซื้อไปผลิตเป็นอาหาร
เลี้ยงสัตว์อีกทางหนึ่ง
ทั้งนี้ ปัจจุบัน กำลังการผลิต มีกระทะต้มทั้งหมด 4 ใบ ใช้พลังงานจากถ่านฝืน แต่ละใบ ต้มไขมันได้กว่า 1 ตัน โดยเฉลี่ยสามารถผลิตน้ำมันดิบประมาณ 24,000 กิโลกรัมต่อเดือน เมื่อต้มแล้วขายให้โรงงาน กิโลกรัมละประมาณ 14-15 บาท สร้างรายได้ประมาณ 350,000-400,000 บาทต่อเดือน เมื่อหักต้นทุนแล้ว เหลือกำไรประมาณ 40,000-50,000 บาทต่อเดือน
กากที่เหลือจากการต้มจะมีโรงงานอาหารสัตว์เข้ามารับซื้อไปผลิตเป็นอาหารเลี้ยงสัตว์
เพ็ญทูล เล่าต่อว่า ขณะนี้ ผลิตน้ำมันดิบส่งให้แก่เจ้าประจำเพียงรายเดียว แม้จะมีเจ้าอื่นๆ ให้ความสนใจติดต่อขอซื้อจำนวนมาก แต่ยังไม่มีความพร้อม เพราะติดปัญหาหลัก คือ ขาดเงินทุนหมุนเวียน เพราะการเข้าไปประมูลซื้อไขมันแต่ละครั้งต้องซื้อด้วยเงินสด ครั้งละไม่ต่ำกว่า 40,000 บาท อย่างไรก็ตาม ได้รับการสนับสนุนสินเชื่อเพื่อรายย่อย 150,000 บาท จากธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (เอสเอ็มอีแบงก์) สาขาสกลนคร ช่วยให้ธุรกิจมีสภาพคล่องมากขึ้น
“ทุกวันนี้ ตลาดมีความต้องการน้ำมันดิบจากโคขุนสูงมาก ถึงขนาดมีเท่าไรก็พร้อมรับซื้อไว้ทั้งหมด แต่สาเหตุที่ทำให้อาชีพนี้ยังไม่มีคู่แข่งมากนัก เพราะการประมูลซื้อไขมันจากสหกรณ์ต้องจ่ายด้วยเงินสดเท่านั้น ผู้ผลิตรายย่อยๆ จึงยังไม่สามารถเข้ามาแข่งขันได้ อีกทั้ง โรงงานที่รับซื้อน้ำมันดิบ ส่วนใหญ่จะเจาะจงเลือกซื้อจากผู้ผลิตรายเดิม เพราะเชื่อมั่นคุณภาพมากกว่าจะไปซื้อจากผู้ผลิตหน้าใหม่” เพ็ญทูล ระบุ และกล่าวอีกว่า
ในอนาคตอยากต่อยอดความรู้ พัฒนาการทำน้ำมันดิบให้เป็นไบโอดีเซล สำหรับใช้ในชุมชน โดยเปิดเป็นปั๊มน้ำมันประจำหมู่บ้าน เพื่อลดภาระด้านพลังให้แก่ชุมชน โดยเฉพาะกลุ่มเกษตรที่ต้องใช้น้ำมันประกอบอาชีพเกษตรกรรม เช่น รถไถนา เป็นต้น ซึ่งจะช่วยสร้างชุมชนให้เข้มแข็งมากขึ้น
เพ็ญทูล บุตรโคษา ผู้ยึดอาชีพทำน้ำมันดิบจากไขมัน โคขุน เล่าว่า ไขมันโคขุนในท้องถิ่นมีจำนวนมาก เนื่องจากชาวบ้านมีอาชีพหลักเลี้ยงโคเนื้อโพนยางคำ ซึ่งเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ ในแต่ละวันจะมีโคเข้าโรงเชือดจำนวนมาก ซึ่งส่วนใหญ่ต้องการเฉพาะส่วนเนื้อเท่านั้น ที่เหลือ ไม่ว่าเป็นไขมัน หนัง และกระดูก ทางสหกรณ์ที่เป็นโรงเชือดจะขายออกไปหมด
ส่วนตัวที่มาทำอาชีพ เกิดจากเดิมวิ่งรถรับส่งนักเรียน มีรถประจำ 2 คัน ได้แก่ รถกระบะ กับรถตู้ ซึ่งช่วงปี พ.ศ. 2550 ราคาน้ำมันดีเซลขึ้นสูงอย่างมาก ทำให้เริ่มสนใจศึกษาการผลิตน้ำมัน ไบโอดีเซล
“ตอนนั้นเราไม่มีความรู้เลย อาศัยหาความรู้จากอินเตอร์เน็ต ปรึกษาจากคนที่เชี่ยวชาญบ้าง และลองผิดลองถูกด้วยตัวเอง โดยซื้อไขมันวัวมาต้ม แล้วผสมกับวัตถุดิบอื่นๆ ตามสัดส่วนที่ได้ศึกษามา เพื่อทำเป็นไบโอดีเซล หลังจากนั้น ทดลองนำไปผสมกับน้ำมันดีเซลในสัดส่วน 1 ต่อ 5 แล้วใช้กับรถของตนเอง ปรากฏว่าใช้ได้ดี ลดค่าน้ำมันได้เยอะมาก” เพ็ญทูล กล่าว
กระทะยักษ์ สำหรับต้มไขมันโค
นอกจากนี้ จากการศึกษาพบว่า น้ำมันที่ได้จากไขมันสัตว์ยังมีประโยชน์มากมายหลายอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมเครื่องสำอาง เครื่องบำรุงผิว เป็นต้น จึง มีแนวคิดผลิตน้ำมันดิบต้มจากไขมันโคขุน แล้วขายส่งให้แก่อุตสาหกรรมเหล่านี้ หลังจากนั้นได้ติดต่อกับผู้ส่งออกน้ำมันไขมันสัตว์ใน อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม รายหนึ่ง ซึ่งได้รับความสนใจ สั่งซื้อไปขายยังต่างประเทศ ทั้งอินเดีย ปากีสถาน และลิเบีย ซึ่งจะนำไปผลิตเป็นเครื่องสำอาง
เพ็ญทูล เล่าว่า เนื่องจากโคขุนโพนยางคำ เป็นโคที่ถูกเลี้ยงดูมาอย่างดี ไขมันที่ได้จึงมีความเข้มข้นและคุณภาพสูง เป็นที่ต้องการของตลาดอย่างมาก
ตักกากที่เหลือจากการต้ม
ทั้งนี้ ปัจจุบัน กำลังการผลิต มีกระทะต้มทั้งหมด 4 ใบ ใช้พลังงานจากถ่านฝืน แต่ละใบ ต้มไขมันได้กว่า 1 ตัน โดยเฉลี่ยสามารถผลิตน้ำมันดิบประมาณ 24,000 กิโลกรัมต่อเดือน เมื่อต้มแล้วขายให้โรงงาน กิโลกรัมละประมาณ 14-15 บาท สร้างรายได้ประมาณ 350,000-400,000 บาทต่อเดือน เมื่อหักต้นทุนแล้ว เหลือกำไรประมาณ 40,000-50,000 บาทต่อเดือน
เพ็ญทูล เล่าต่อว่า ขณะนี้ ผลิตน้ำมันดิบส่งให้แก่เจ้าประจำเพียงรายเดียว แม้จะมีเจ้าอื่นๆ ให้ความสนใจติดต่อขอซื้อจำนวนมาก แต่ยังไม่มีความพร้อม เพราะติดปัญหาหลัก คือ ขาดเงินทุนหมุนเวียน เพราะการเข้าไปประมูลซื้อไขมันแต่ละครั้งต้องซื้อด้วยเงินสด ครั้งละไม่ต่ำกว่า 40,000 บาท อย่างไรก็ตาม ได้รับการสนับสนุนสินเชื่อเพื่อรายย่อย 150,000 บาท จากธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (เอสเอ็มอีแบงก์) สาขาสกลนคร ช่วยให้ธุรกิจมีสภาพคล่องมากขึ้น
“ทุกวันนี้ ตลาดมีความต้องการน้ำมันดิบจากโคขุนสูงมาก ถึงขนาดมีเท่าไรก็พร้อมรับซื้อไว้ทั้งหมด แต่สาเหตุที่ทำให้อาชีพนี้ยังไม่มีคู่แข่งมากนัก เพราะการประมูลซื้อไขมันจากสหกรณ์ต้องจ่ายด้วยเงินสดเท่านั้น ผู้ผลิตรายย่อยๆ จึงยังไม่สามารถเข้ามาแข่งขันได้ อีกทั้ง โรงงานที่รับซื้อน้ำมันดิบ ส่วนใหญ่จะเจาะจงเลือกซื้อจากผู้ผลิตรายเดิม เพราะเชื่อมั่นคุณภาพมากกว่าจะไปซื้อจากผู้ผลิตหน้าใหม่” เพ็ญทูล ระบุ และกล่าวอีกว่า
น้ำมันดิบจากการต้มไขมันโคขุน
ในอนาคตอยากต่อยอดความรู้ พัฒนาการทำน้ำมันดิบให้เป็นไบโอดีเซล สำหรับใช้ในชุมชน โดยเปิดเป็นปั๊มน้ำมันประจำหมู่บ้าน เพื่อลดภาระด้านพลังให้แก่ชุมชน โดยเฉพาะกลุ่มเกษตรที่ต้องใช้น้ำมันประกอบอาชีพเกษตรกรรม เช่น รถไถนา เป็นต้น ซึ่งจะช่วยสร้างชุมชนให้เข้มแข็งมากขึ้น
ขายของได้ทุกที่ บนรถขายขายของเคลื่อนที่ ได้ทั้งของกินและเครื่องดื่ม
ตัวอย่างอาชีพค้าขายที่ไม่ง้อทำเล(รูป)ตอน 1-12
download ...http://bit.ly/2kYAKOt
ตัวอย่างอาชีพค้าขายที่ไม่ง้อทำเล(รูป)ตอน 1-12
download ...http://bit.ly/2kYAKOt
Adv